สภาทองคำโลก (WGC) เผยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มกลายมาเป็นผู้ขายทองคำออกในเดือนพ.ย. มากกว่าที่จะทำการซื้อเข้า โดยในเดือนดังกล่าวภาพรวมธนาคารกลางทั่วโลกมีการสำรองทองคำลดลง 6.5 เมตริกตัน เหมือนในเดือนส.ค. และ ก.ย. ที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่มีสถานะขายสุทธิ
ดังนั้น เดือนพ.ย. จึงไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี 2020 ที่ธนาคารกลางมีการขายทองคำออกมา และเมื่อพิจารณารายละเอียดในเดือนพ.ย. จะเห็นถึงการเข้าซื้อทองคำราว 16 ตันในเดือนพ.ย. นำโดยการสำรองทองคำที่เพิ่มขึ้นของ
- ธนาคารกลางอุซเบกิสถาน 8.4 ตัน
- ธนาคารกลางการ์ตา 3.1 ตัน
- ธนาคารกลางอินเดีย 2.8 ตัน
- ธนาคารกลางคาซัคสถาน 1.7 ตัน
ขณะที่ภาพรวมธนาคารกลางอื่นๆ นำโดยตุรกี มีการขายทองคำออกมา 23.3 ตัน
ทองคำเข้าสู่สภาวะสะสมพลังตั้งแต่ในเดือนพ.ย. หลังจากที่เดือนส.ค. ทำสูงสุด โดยเรียกได้ว่าทุกๆสิ้นเดือนจะเริ่มเห็นราคาทองคำเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,800 เหรียญ
อุปสงค์ทองคำของธนาคารกลางกลายมาเป็น "การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น" จึงตอกย้ำถึงความไม่แน่นอนต่างๆ ประกอบกับแรงกดดันทางการเงิน และการระบาดของไวรัสโคโรนา
นอกจากนี้ อาจยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าแนวโน้มของธนาคารกลางจะมีการซื้อทองคำเพิ่มหรือสิ้นสุดรอบใหม่จากข้อมูลของเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว และช่วงต้นเดือนนี้ ที่อาจเห็นความผันผวนและเป็นตัวช่วยที่ดีของภาพใหญ่ได้
ภาพโดยองค์รวม WGC ไม่เชื่อว่าธนาคารกลางต่างๆมีการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ "ความจำเป็นในการถือครองทองคำ" และทองคำก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่ดีโดยปีที่แล้วปรับขึ้นไปกว่า 25% จากการเพิ่มทองคำในพอร์ตการลงทุนที่จำเป็นมากขึ้น
ผลสำรวจธนาคารกลางของ WGC ในปีที่แล้วพบว่า "ทองคำ" ยังเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงที่มีมูลค่าการถือครองในระดับสูงอยู่ แม้ว่าความไม่แน่นอนบางอย่างจะผ่อนคลายลงไปในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา อาทิ การเลือกตั้งสหรัฐฯ และ Brexit แต่เศรษฐกิจก็ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังสร้างความเสี่ยงและจำเป็นต้องหาทางจัดการ