ดอลลาร์อ่อนค่าลงท่ามกลางปริมาณการซื้อขายปานกลาง โดยดัชนีดอลลาร์กลับลงมาแนว 90.26 จุด หลังจากที่นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวว่า
- ไม่รีบเร่งขึ้นดอกเบี้ย
- ปฏิเสธเกี่ยวกับการที่เฟดจะเริ่มลดการเข้าซื้อพันธบัตร (QE) ในเร็วๆนี้
- การเติบโตทางเศรษฐกิจยังอยู่ต่ำกว่าที่เฟดกำหนดเป้าหมายไว้
- ไม่เห็นเหตุผลอะไรที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้
- ประธานเฟดมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนกว่า “แรงงานจะเติบโตได้และเป็นไปอย่างแท้จริง”
การเข้าซื้อ QE ของเฟด ถือเป็นโครงการที่ช่วยสนับสนุนตลาดการเงินในช่วงวิกฤตไวรัสระบาดได้เป็นอย่างดี และเป็นปัจจัยที่ “กดดันค่าเงินดอลลาร์” เพิ่มอุปทานในดอลลาร์และลดมูลค่าดอลลาร์ด้วย
ขณะที่นักลงทุนส่วนหนึ่งก็รอคอยการประกาศแผนเศรษฐกิจของนายไบเดน
นักวิเคราะห์จาก Action Economics กล่าวว่า ถ้อยแถลงของประธานเฟดเป็นไปอย่างหนักแน่น และสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามต้องการให้เงินเฟ้อเป็นไปตามกรอบนโยบายเงินเฟ้อฉบับใหม่
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ยังอยู่ในระดับสูง จากการที่ตลาดคาดว่าอาจเห็นแผนเศรษฐกิจของนายไบเดนสูงกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญ ที่อาจเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจให้ยิ่งเติบโตสู้วกิฤต Covid-19 และเริ่มตั้งแต่ต้นปีมานี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับขึ้นมาได้แล้วกว่า 0.2%
ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.1% ที่ 1.2151 ดอลลาร์/ยูโร หลังมีรายงานจีดีพีเยอรมนีหดตัวลง -5% ในปีที่แล้ว น้อยกว่าที่คาดเพียงเล็กน้อย ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกในเวลานี้ที่ทำให้รัฐบาลต้องเดินหน้าเยียวยาด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจาก Covid-19
ขณะที่ตลาดคาดว่าอีซีบีจะจับตาอัตราค่าเงินยูโรอย่างใกล้ชิด โดยตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรแข็งค่าแล้วกว่า 6.3%
นายฟรองซัวร์ วิลเลอร์ครอย เดอ กาลโฮล สมาชิกอีซีบี กล่าวว่า อีซีบกำลังจับตาใกล้ชิดต่อความคืบหน้าของค่าเงินยูโร และผลกระทบเชิงลบต่อเงินเฟ้อ
เงินเยนแข็งค่า 0.1% ที่ 103.80 เยน/ดอลลาร์
Bitcoin ปรับตัวขึ้นเกือบ 12,000 เหรียญ ขณะที่สัปดาห์ที่แล้วทำสูงสุด 42,000 เหรียญ ภาพรวมปรับขึ้นราว 5.7% ที่ระดับ 39,515 เหรียญเมื่อวานนี้ และทำสูงสุดของวันที่ 40,000 เหรียญ
ความน่าสนใจใน Cryptocurrency ยังเพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่เข้าซื้ออย่างหนักเพราะได้รับอานิสงส์จาก
** การใช้เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
** การที่จะกลายมเป็นค่าเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น