ทองคำปรับตัวสูงขึ้นขานรับถ้อยแถลงประธานเฟดส่งสัญญาณ “DOVISH”
· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ที่ยังคงตอกย้ำและหวังจะใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป ประกอบกับตลาดยังคงรอคอยการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐฯที่จะมายิ่งหนุนให้ทองคำเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ขณะที่ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาแย่ขึ้นอย่างมาก
· ราคาทองคำตลาดโลกปรับขึ้น 0.8% หลังจากที่ช่วงนายโพเวลล์ กล่าวถ้อยแถลงราคาปรับขึ้นไป 0.3% ไปที่ 1,848.22 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิด -0.2% ที่ระดับ 1,851.40 เหรียญ/บาร์เรล
· กองทุนทองคำ SPDR ขายทองออก 10.21 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,161 ตัน ซึ่งเป็นการทองคำต่อเนื่อง 2 วันทำการที่ขายออกสูงถึง 20.26 ตัน
· ถ้อยแถลงนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด (00.30น.)
- การขึ้นดอกเบี้ยจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้
- จะไม่ทำการขึ้นดอกเบี้ยตราบเท่าที่ “เงินเฟ้อ” ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราว่างงานจะปรับลงต่ำก็ตาม
- จับตาการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน ในการกำหนดกรอบนโยบาย และคาดการณ์เงินเฟ้อควบคู่กันด้วย
- ปฏิเสธการบ่งชี้ว่าเฟดจะเริ่มต้นลดการเข้าซื้อพันธบัตรในระยะสั้น
อย่างไรก็ดี ตลาดคาดถ้อยแถลงของเขามีสัญญาณที่เป็นนัยสำคัญที่อาจเห็นการเริ่มต้นปรับลดการเข้าซื้อพันธบัตรได้
ถ้อยแถลงของประธานเฟดสอดคล้องกับรายงานประชุมเฟดเดือนธ.ค. ที่แสดงให้เห็นว่า สมาชิกเฟดส่วนใหญ่ยังจะคงแนวทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป จนกว่าจะเห็นความคืบหน้าอย่างมีเสถียรภาพของเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเรื่องของ “จ้างงาน” และ “เงินเฟ้อ” เป็นสำคัญ
· นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสจาก OANDA มองว่า ถ้อยแถลงของประธานเฟดค่อนข้างชัดเจนที่ว่า “เฟดจะยังใช้แนวทางผ่อนคลายทางการเงิน” ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเฟดจะยังผ่อนคลายทางการเงินฉบับพิเศษต่อไป นี่จึงเป็นเหตุผลที่เห็นทองคำปรับตัวสูงขึ้น
นอกจาก สัญญาณตลาดแรงงานที่ยังไม่แข็งแกร่ง และคนว่างงานยังเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งการันตีว่า “เฟดจะยังผ่อนคลายทางการเงินต่อไป” ประกอบกับความกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาก็ยิ่งทำให้ทองคำยังมีแรงหนุนเชิงบวก
· ราคาซิลเวอร์ปิด +1.7% ที่ระดับ 25.57 เหรียญ
· ราคาแพลทินัมปิด +1.5% ที่ระดับ 1,109.98 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปิด +0.3% ที่ระดับ 2,391.08 เหรียญ
· “ไบเดน” กับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านเหรียญ
นายโจ ไบเดน เปิดเผยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนรายละเอียดของแพ็คเกจเยียวยา Covid-19 วงเงินรวมกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญ เพื่อสนับสนุนภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ตลอดจนการระบาด ซึ่งข้อเสนอแพ็คเกจนี้ เรียกว่า American Rescue Plan
ประกอบด้วยมาตรการช่วยเหลือหลายๆครอบครัว และหวังที่จะเพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อให้ภาคครัวเรือนและบริษัทต่างๆมีเสถียรภาพจนกว่าวัคซีน Covid-19 จะกระจายได้เป็นวงกว้างมากขึ้น
· “แนนซี-ชูเมอร์ส” ให้คำมั่นหนุนแผนเศรษฐกิจไบเดน
· งบประมาณประจำปีของรัฐนิวยอร์กจนถึงปี 2022 พบช่องว่างทางการเงินขยายตัวขึ้น 5.25 พันล้านเหรียญ สู่ระดับ 9.23 หมื่นล้านเหรียญ สำหรับงบที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ก.ค. อันเป็นผลจากวิกฤต Covid-19
· การฟ้องร้องครั้งที่ 2 ของนายทรัมป์ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี ทางทำเนียบขาวก็เผยให้เห็นถึงการที่บริษัทขนส่งเริ่มมีการขนของของทีมบริหารชุดเก่าออกจากทำเนียบขาวแล้ว
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯปรับขึ้นอย่างมากแตะ 965,000 ราย จากวิกฤตไวรัสระบาดหนัก
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นแตะ 965,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ส.ค. ปีที่แล้ว และส่งสัญญาณว่าการระบาดอย่างหนักของไวรัสได้ส่งผลกระทบให้เกิดการว่างงานเพิ่มจำนวนสูงขึ้น
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนจะพบว่ามีการว่างงานเพิ่มขึ้น 181,000 ราย จากระดับ 784,000 ราย อันเนื่องจากที่หลายๆรัฐเผชิญกับภาวะ Shutdown ในภาคธุรกิจบางส่วน โดยเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก และหลายๆรัฐ รวมทั้งมีการใช้มาตรการคุมเข้มมากขึ้น จึงทำให้หลายฝ่ายเริ่มคาดว่าเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการระบาด
นักเศรษฐศาสตร์บางส่วน คาดหวังว่า หากวัคซีน Covid-19 สามารถกระจายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นก็น่าจะทำให้ช่วงครึ่งปีหลังเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้บ้าง ประกอบกับการที่ทีมบริหารไบเดนพร้อมที่จะผลักดันการกระตุ้นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ที่จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เศรษฐกิจฟื้น
แต่ก็มีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วน “กังวล” ว่า จำนวนคนว่างงานที่ยังอยู่ในระดับล้านล้านราย โดยเฉพาะในหลายๆพื้นที่บริษัทรายใหญ่ 1 ใน 6 กำลังก้าวออกจากการดำเนินธุรกิจ ทำให้มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบเชิงลบ ที่อาจไม่ก่อให้เกิดการฟื้นตัวใดๆในเวลานี้
· CNBC เผยข้อมูลการศึกษาในกลุ่มธุรกิจ พบว่า Trade War สหรัฐฯ-จีน ก็เป็นตัวกดดันทำให้ว่างงานสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 245,000 ราย
· สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา
ทั่วโลกพบยอดติดเชื้อสะสมทะลุ 93 ล้านราย และเสียชีวิตแตะ 2 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย
โดยยอดติดเชื้อรายวันทั่วโลกรวมเพิ่มขึ้น 737,897 ราย ทำให้ยอดสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 93.49 ล้านราย
ยอดติดเชื้อในสหรัฐฯรายวันยังเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมอยู่ที่ 23.84 ล้านราย
นอกจากนี้ ยอดเสียชีวิตรายวันในสหรัฐฯยังสูงกว่า 3,000 ราย ทำให้ยอดเสียชีวิตรวมสะสมล่าสุดอยู่ที่ 397,821 ราย
ด้านยอดติดเชื้อในเยอรมนีล่าสุดสะสมทะลุ 2 ล้านราย
ทางฝั่งเอเชียพบว่ายังคงระบาดหนักและล่าสุดยอดสะสมญี่ปุ่นทะลุ 300,000 ราย สู่ระดับ 302,623 ราย ด้วยอัตราการติดเชื้อรายวันกว่า 5,000 ราย
จีนเองก็พบยอดติดเชื้อสะสมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดพบติดเชื้อเพิ่ม 138 ราย รวมสะสม 87,844 ราย และมีการพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน 1 ราย เป็นหญิงสาวที่ไม่แสดงอาการ ทำให้ยอดรวมเสียชีวิตอยู่ที่ 4,635 ราย
ไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 271 ราย เป็นติดเชื้อภายในประเทศ 259 คน ยอดผู้ป่วยสะสม 11,262 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมรวม 69 ราย ภาพรวมกระจายอยู่ใน 60 จังหวัด และมี 17 จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ
โฆษก ศบค.กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ติดเชื้อภายในประเทศระหว่างวันที่ 15 ธ.ค.-14 ม.ค. มียอดรวม 7,025 ราย เมื่อแยกย่อยเป็นรายสัปดาห์ จะเห็นว่าสัปดาห์แรกของปี 64 กราฟยังพุ่งสูงขึ้น มีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 2,674 ราย แต่สัปดาห์นี้กราฟลดลงมาขณะนี้เหลืออีก 2 วัน แต่ผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,209 ราย ถือว่าวางใจได้ระดับหนึ่ง
รายงานจากไทยรัฐ ระบุว่า ลุ้น 28 จังหวัดแดงลดระดับ มาตรการเข้ม ยอดกราฟดีขึ้น แม้จะตายเพิ่ม 2 คน
· บริษัทยา Moderna วางแผนที่จะทดลองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดในหนึ่งปี หลังจากการฉีดวัคซีนในครั้งแรกถึงสองเข็ม เนื่องจากการภูมิคุ้มกันของวัคซีนตัวใหม่ยังไม่ชัดเจน
· องค์กร WHO เข้าตรวจสอบหาต้นตอ Covid-19 ในจีน แต่ประสบปัญหาจีนขวาง ไม่ให้สมาชิกสองคนขององค์กร WHO เข้าสู่ประเทศจีน จากจำนวนสมาชิก WHO 10 ราย
ทั้งนี้ มีรายงานพบว่านักวิทยาศาสตร์จำนวนอีกสองคนของ WHO ยังคงอยู่ในสิงคโปร์ หลังจากผลตรวจโควิดออกมาเป็นบวก
· ตลาดบางส่วนจับตาวิกฤตทางการเมืองในอิตาลีครั้งใหม่ รวมทั้งสถานการณ์การระบาดของไวรัสภายในประเทศ ที่ทั้งหมดอาจยิ่งกระทบให้เศรษฐกิจเผชิญกับระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัญหาทางการเมืองในอิตาลีถูกเรียกว่าเป็น “การขาดภาวการณ์รับผิดชอบ” ของกลุ่มนักการเมืองและสาเหตุจากผลประโยชน์ส่วนตน ทำให้นักวิเคราะห์กังวลและกล่าวเตือนผู้นำในเวลานี้ ขณะที่อดีตนายกฯอิตาลี ตัดสินใจถอนการสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน
· เกาหลีเหนือแสดงแสนยานุภาพ “ขีปนาวุธเรือดำน้ำใหม่” หลังจบประชุมสภาคองเกรสเกาหลีเหนือ
· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
‘เงินบาท’วันนี้เปิดตลาด’ทรงตัว’ ที่ 30 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ 30.00 บาท/ดอลลาร์ ไม่เปลี่ยน แปลงจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน ประเมินกรอบเงินบาทระหว่างวัน 29.90-30.10 บาท/ดอลลาร์
ตลาดการเงินสหรัฐพักฐาน ขณะที่ทิศทางเงินบาทยังขึ้นอยู่กับแนวโน้มฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติซึ่งก็ขึ้นกับสถานการณ์ Covid-19ในประเทศ ถ้าบอนด์ยีลด์ไทยปรับตัวขึ้นตามฝั่งสหรัฐ ก็จะไม่ส่งผลให้เงินบาทอ่อนหรือแข็งค่ามาก
ภาพรวมเงินบาท ระยะสั้นแกว่งตัวในกรอบแคบ จุดที่น่าสนใจคือการที่บอนด์ยีลด์ไทยอายุสิบปี ขยับตัวขึ้นตามยีลด์สหรัฐมาที่ระดับ 1.27% สูงที่สุดในรอบกว่าสองเดือน คาดว่า เกิดจากนักลงทุนที่เริ่มลดปริมาณการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นยีลด์ทั้งไทยและสหรัฐปรับตัวขึ้นต่อ เราจึงคงเป้าหมายยีลด์ระยะยาว (สิบปี) ในไทยและสหรัฐสิ้นปี 2021 ที่ 1.50% ละ 1.75% ตามลำดับ นอกจากนี้ก็เชื่อว่าถ้ายีลด์ทั้งสองประเทศปรับตัวขึ้นพร้อมกัน ก็จะไม่ส่งผลให้เงินบาทอ่อนหรือแข็งค่ามาก
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า การส่งออกไทยปี 64 พลิกกลับมาโต 3.6% จากปี 63 ที่หดตัว -7% โดยปัจจัยบวกสำคัญ คือ 1.เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ GDP โลกโต 5.2%
ขณะที่ธนาคารคารโลก (World Bank) คาดการณ์ GDP โลกโต 4% และ 2.การฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิดให้ กับประชากรโลกอย่างน้อย 40% สำหรับแนวโน้มเงินบาทปีนี้ มองว่าทิศทางยังแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายปี 63 โดยคาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 31.00 บาท/ดอลลาร์ (กรอบ 30.00-32.00) แข็งค่าจากทั้งปี 63 ที่ระดับ 31.29 บาท/ดอลลาร์ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทุก 1% จะมี ผลให้มูลค่าการส่งออกลดลง 0.11%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
- “เอเซียพลัส” ประเมินความกังวลประสิทธิภาพวัคซีนต่ำ มีโอกาสเป็นปัจจัยหน่วงการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทยได้ เหตุกดดันกระจายวัคซีนช้าลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจใช้เวลานานขึ้นกว่าจะกลับมาฟื้นตัว หลัง Sinovac มีประสิทธิภาพต่ำ ล่าสุด “มาเลเซีย-สิงคโปร์” ชะลอนำเข้า
· อ้างอิงจากสำนักข่าวสยามธุรกิจ
- ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยพ้นจากภาวะถดถอยในปี 2564 โดยจะขยายตัว 2.5% แต่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คาดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 จำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศตลอดไตรมาสแรกโดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวเป็นเหตุให้รัฐต้องมีมาตรการเยียวยาโควิดรอบสอง
ส่วนภาคการส่งออกกระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ขณะเดียวกัน แนะธุรกิจเตรียมเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เป็น Megatrend ของโลก