• WGC - Gold Outlook 2021 “ทิศทางเศรษฐกิจ” และ “อัตราดอกเบี้ยต่ำ ตัวกำหนดทิศทางที่สำคัญของทองคำ

    18 มกราคม 2564 | Gold News

WGC - Gold Outlook 2021

“ทิศทางเศรษฐกิจ” และ “อัตราดอกเบี้ยต่ำ” เป็นตัวกำหนดทิศทางที่สำคัญ

 

อ้างอิงจากรายงานของสภาทองคำโลก (WGC) สรุปแนวโน้มทองคำปี 2021 ได้ว่า
สถานการณ์ความไม่แน่นอนของ
 Covid-19 ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นตัวที่ก่อให้เกิด “ความเสี่ยง” และ “ผลประทบใหม่ๆ”  

ขณะที่ช่วงสิ้นปีที่แล้ว นักลงทุนดูจะมีมุมมองเชิงบวกว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายนั้นกำลังจะจบลง และทาง WGC เชื่อว่า นักลงทุนให้ความสนใจกับปัจจัยสำคัญ ได้แก่

- การใช้อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ

- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช่วยหนุนความหวัง “สินทรัพย์เสี่ยง”

 

โดยองค์รวม เชื่อว่ากลุ่มนักลงทุนมีแนวโน้มจะปรับพอร์ตการลงุทนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยพิจารณาจาก

- การเพิ่มขึ้นอย่างมากของยอดขาดดุล

- แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

- การปรับฐานของตลาด ท่ามกลางมูลค่าในตลาดหุ้นที่อยู่ในระดับสูง

 

ทองคำปรับขึ้นได้จากความเสี่ยง, อัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์ ณ ขณะนั้น

หนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนทองคำได้เป็นอย่างดีตลอดปี 2020 นั่นก็คือ
- ความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง
- การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ
- มุมมองเชิงบวกของราคา โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วจนถึงฤดูร้อน

เรียกได้ว่า “ทองคำ” เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Lowest Drawdowns) ในปีดังกล่าว จึงช่วยให้นักลงทุนจำกัดภาวะขาดทุน และสามารถจัดการความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของตนเองได้

ขณะที่ราคาทองคำของ LBMA Gold Price PM ในช่วงต้นเดือนส.ค. ทำสูงสุดครั้งประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,067.15 เหรียญ ก่อนที่ราคาทองคำจะเกิดการสะสมพลังและเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับสูงสุดของปี  โดยที่ส่วนใหญ่ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีที่แล้วทรงตัวแนว 1,850 เหรียญ ก่อนจะปิดปีที่ 1,887.60 เหรียญ

ความน่าสนใจของราคาทองคำในช่วงปีหลังของปี 2020 ดูจะมีความสัมพันธ์กับการลงทุนในทองคำ ไม่ว่าจะมาจาก ทองคำแท่ง” และ “เหรียญทองคำ” ของกองทุน ETFs ที่ดูจะมีมากขึ้นกว่าการเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น

การเปิดสถานะ Long ในตลาด Comex ที่ทำ All-Time High สูงสุดที่ 1,209 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 1/2020 แต่ปิดปีเกือบ 30ต่ำกว่าระดับดังกล่าว แต่ภาพรวมจะเห็นได้ว่านักลงทุนมีความ “ชื่นชอบ” ในทองคำแท่ง และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทองคำในปีที่แล้ว จากหลักฐานที่เห็นได้ทั่วไปในทุกเวลา และบ่อยครั้ง “ทองคำ” ก็ถูกนำมาใช้ปรับกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ของนักลงทุน


 

การลงทุนในทองคำกับการตอบรับเรื่อง “ดอกเบี้ย” และ “เงินเฟ้อ”

ตลาดหุ้นทั่วโลกดูจะสดใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างเดือนพ.ย. และ เดือน ธ.ค.  นำโดย ดัชนี MSCI ที่ปรับขึ้นได้ประมาณเกือบ 20%

ขณะที่ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับยอดติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นและทำให้เกิดท่าทีระมัดระวัง แต่ในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์แรกของปี 2021 แม้จะมีความไม่แน่นอนในทางการเมืองสหรัฐฯ แต่ก็ดูเหมือนนักลงทุนจะพึงพอใจกับการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น

ดัชนี S&P500 มีการปรับตัวสูงขึ้น และนักวิเคราะห์จาก Crescat Capital บ่งชี้ถึง 15 ปัจจัยที่ยังทำให้ดัชนี S&P500 ยังมีมูลค่าที่ยังคงใกล้ปรับขึ้นไปแถวสูงสุดประวัติการณ์  อันเนื่องจาก “การใช้อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำมากในทั่วทุกมุมโลก” ที่จะยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นและมูลค่าหุ้นยังอยู่ในระดับสูง 

แต่หากว่า โครงการฉีดวัคซีนหรือการกระจายวัคซีน “ใช้เวลานาน” หรือวัคซีนเห็นผลน้อยกว่าที่คาด หรือมีความยากในการขนส่ง หรือจำนวนการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากสายพันธุ์ใหม่ ทั้งหมดนี้ก็จะกลายเป็น “ปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น”

 


นอกจากนี้ นักลงทุนหลายคนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะกเดความเสี่ยงจาก “ยอดขาดดุลที่เพิ่มสูงขึ้น” ควบคู่กับการใช้ดอกเบี้ยระดับต่ำ และการอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่ม ที่อาจนำไปสู่แรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า เฟด และอีซีบี ก็ยังคงส่งสัญญาณที่จะปล่อยให้เงินเฟ้อปรับขึ้นเหนือระดับเป้าหมายที่วางไว้

ทองคำทั่วโลกเคลื่อนไหวได้ดีครั้งประวัติศาสตร์ ท่ามกลางตลาดหุ้นที่เผชิญแรงเทขายจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น  โดยในช่วงหลายๆปี เมื่อเงินเฟ้อยืนได้เหนือ 3จะเห็นว่าทองคำมีค่าเฉลี่ยที่ปรับขึ้นราว 15%

ข้อมูลจาก Oxford Economics แสดงให้เห็นว่า ทองยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ควบคู่ความต้องการทองคำเมื่อดอกเบี้ยระดับต่ำและความผันผวนในตลาดการเงินที่อยู่ในระดับสูง

ทองคำดูจะยังได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินทั่วโลกได้ดีในช่วงกว่า 10 ปี มานี้ มากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ


 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่จะเอื้อประโยชน์ต่อความต้องการกลุ่มผู้บริโภค

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของตลาดส่วนใหญ่ ต่างคาดว่า ในปี 2021 จะมีการเติบโตในลักษณะที่ดีขึ้นกว่าปี 2020 แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะยังคงเกี่ยวเนื่องกัน ขณะที่ “ทองคำ” ดูจะมีเสถียรภาพมากขึ้นนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนส.ค. ที่อาจได้รับแรงซื้อเพิ่มจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นกำลังสำคัญ

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อาทิ ประเทศจีน ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2020 ก่อนที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าทางฝั่งประเทศตะวันตก จึงทำให้เกิดความเชื่อโยงกันระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการของจีน ที่จะทำให้ “การอุปโภคบริโภคในทองคำของภูมิภาค” ฟื้นตัวได้ตาม

ทางด้าน “อินเดีย” ก็ดูเหมือนความต้องการทองคำอาจจะอ่อนตัวลง โดยข้อมูลขั้นต้นของช่วงเทศกาล ธันธีระ”  (Dhanteras) ที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนพ.ย. ก็สะท้อนว่า ความต้องการทองคำจิวเวลรียังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าที่เคยเห็นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2019

ภาวการณ์จัดการทางด้านเศรษฐกิจโลกโดยองค์รวมก็ยังมีความเป็นไปได้ต่ำ ในขณะที่ราคาทองคำอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางอุปสงค์จากกลุ่มผู้บริโภคที่อาจเป็นชะลอความต้องการทองคำในภูมิภาคได้

 

ความต้องการทองคำของธนาคารกลางยังไม่หมดไป

หลังจากที่ความต้องการทองคำในช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้วเป็นไปในทิศทางเชิงบวก แต่แล้วในช่วงครึ่งหลังของปีกลับพบว่ามีความผันผวนมากยิ่งขึ้น ทั้งจากการเข้าซื้อและขายออกรายเดือน แต่การเข้าซื้อในหลายๆปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่มาจากการตัดสินใจของธนาคารกลางรัสเซีย กลับพบว่ามีการหยุดการเข้าซื้อทองคำตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมาจนถึงสิ้นปี 2020 ด้วยการเข้าซื้อสุทธิที่ต่ำกว่าระดับการซื้อประวัติการณ์ในปี 2018 และ 2019 ทำให้ WGC คาดว่าในป 2021 นั้นอาจไม่แตกต่างกันมากนัก ขณะที่การฟื้นตัวในกลุ่มเหมืองทองคำมีแนวโน้มจะเติบโตได้ในปีนี้หลังจากที่ดิ่งลงแรงในปี 2020

หนึ่งเหตุผลสำคัญที่ “ทองคำ” ยังเป็นสิ่งดึงดูดใจของธนาคารกลาง และการสำรองของบรรดาต่างชาติ ก็มาจาก “อัตราดอกเบี้ยต่ำ” ที่ยังเป็นปัจจัยแรงสำหรับทองคำ


เมื่อนำปัจจัยหลักมาประกอบเข้าด้วยกัน 
จะเห็นได้ว่ามี 4 ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวสร้างความหลากหลายทางด้านอุปสงค์และอุปทานของทองคำ ได้แก่

อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ: ช่วยให้นักลงทุนยังมีความต้องการทองคำอยู่
ความผันผวนอย่างหนักในตลาดหุ้น
ที่ดูจะมีความเสี่ยงในการปรับตัวขึ้นเร็วตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อราคาทองคำได้

 

พฤติกรรมทองคำได้รับแรงขับเคลื่อนจาก

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อทองคำจิวเวลรี, เทคโนโลยี และการออมในระยะยาว

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
ความเสี่ยงขาลงของตลาดมักช่วยหนุนความต้องการทองคำ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

โอกาสที่เพิ่มขึ้น
อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจและแนวโน้มการลงทุนในทองคำ

สถานการณ์ปัจจุบัน
เม็ดเงิน, การถือครองสถานะ และแนวโน้มราคา ที่อาจช่วย “สนับสนุน” และ “กดดัน” ราคาทองคำได้

 

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาเดียวกัน  WGC ประเมินว่า จะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในบางประเทศของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ อาทิ จีน และอินเดีย ที่จะมาช่วย “จำกัด” ความผันผวนในตลาดทองคำได้ ไม่เหมือนในปี 2020 ที่จะเห็นได้ถึงผลกระทบจากการอุปโภคบริโภคทองคำที่อ่อนแอ

5 ความแตกต่างที่จะส่งผลแบบมีนัยยะสำคัญต่อทองคำ

1) การฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2) การฟื้นตัวที่ล่าช้า
3) วิกฤตทางการเงินเชิงลึก
4) การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ
5) ภาวะ
 Second Wave ทั่วโลก

ผลการวิเคราะห์จาก 5 ข้อมูลสำคัญ โดยทั่วไปเป็นบวกต่อราคาทองคำ แม้ว่าจะมีบางช่วงที่อาจเกดดันทองคำเพิ่มขึ้นในปีนี้ และทั้งหมดนี้ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการหนุนการฟื้นตัวของความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกันกับปี 2020 ท่ามกลางเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

ขณะที่ทิศทางทองคำอาจได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจาก “การใช้อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ” แต่หาก “มีการถอนการใช้นโยบายดอกเบี้ยระดับต่ำ” ก็อาจมีผลให้ความต้องการลงทุนในทองคำนั้นลดลงตามไปด้วย

ทางเลือกในการลงทุนทองคำ สะท้อนถึง ภาวะทางเศรษฐกิจโลกควบคู่กับ Covid-19 หรือความเสี่ยงอื่นๆที่เหนือความคาดหมาย ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่อ่อนแอลงไป และอาจสร้างความผันผวนให้แก่ราคาทองคำได้

อย่างไรก็ดี รายงานของ Oxford Economics สะท้อนถึง “วิกฤตทางการเงินเชิงลึก” หรือ “Second Wave ทั่วโลก” ก็อาจยิ่งทำให้ ความต้องการลงทุนในทองคำแข็งแกร่งได้

 

ที่มา: World Gold Council Report 


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com