· เยนแข็งค่า - ยูโรอ่อนค่า จากความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางค่าเงินเยนที่ปรับแข็งค่าขึ้นโดยยังตอบรับกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังอ่อนแอ และจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนมีท่าทีระมัดระวัง ขณะที่การ Lockdown ประเทศ และความวุ่นวายทางการเมืองยังคงสร้างแรงกดดันให้แก่ค่าเงินยูโร
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงทำต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์บริเวณ 1.2066 ดอลลาร์/ยูโร ในตลาดเอเชีย และดิ่งลงทำต่ำสุดรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน
ขณะที่ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นประมาณ 0.2% ที่ระดับ 103.70 เยน/ดอลลาร์ เช่นเดียวกับค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงกว่าอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ออกมาดีขึ้นเกินคาดในวันนี้ก็ช่วยลดแรงเทขาย แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของค่าเงินหลักๆได้
ค่าเงินดอลลาร์ยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เพราะได้รับแรสนับสนุนจากการที่พรรคเดโมแครตได้รับชัยชนะและสามารถครองเสียงในสภาคองเกรสได้ ควบคู่กับการที่ข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐฯที่ออกมาแย่กว่าคาดในเดือนธ.ค. ที่จุดประกายความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นโดยทั่วกันว่า "การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจเผชิญปัญหาจากสถานการณ์ที่เลวร้ายจาก Covid-19 ที่อาจยังมาไม่ถึง"
ยุโรปก็เผชิญกับจำนวนยอดติดเชื้อที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างหนัก ขณะที่รัฐบาลอิตาลีต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการลงมติของทางรัฐสภาในวันนี้และวันพุร่งนี้เพื่อยึดอำนาจทางด้านการปกครอง
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าทำสูงสุดในรอบ 1 เดือน และล่าสุดมีการซื้อขายอยู่ที่ระดับ 90.827 จุด ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทรงตัวใกล้กับระดับต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.3567 ดอลลาร์/ปอนด์
อย่างไรก็ดี กลุ่มนักลงทุนหลายรายดูจะยังยึดติดกับการทำสถานะ Short ในดอลลาร์ ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ที่ปรับขึ้นทำสูงสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่าจะเห็นการรีบาวน์กลับของดัชนีดอลลาร์ได้ราว 1.9% และยูโรอ่อนค่าลงประมาณ 2% ทำต่ำสุดช่วง 2 สัปดาห์
นักวิเคราะห์ค่าเงินจาก Bank of Singapore มองว่า กลยุทธ์ดอลลาร์เวลานี้เป็นไปในลักษณะ Wait&See โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอาจสนับสนุนหรือสร้างแรงกดดันให้แก่ดอลลาร์ได้ ขณะที่สมดุลทางด้านความเสี่ยงและเงินเฟ้อยังคงเป็ฯไปอย่างคู่กัน จึงอาจเห็นความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงยังเป็นบวก และดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าต่อ
ค่าเงินแคนาดาอ่อนค่าลงราว 0.2% หลังมีรายงานว่า นายไบเดนมีแผนจะยกเลิกการอนุมัติท่อส่งน้ำมัน Keystone XL ในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกับบริเวณ ทะเลทราบ Alberta ถึงโรงกลั่นน้ำมันในรัฐเม็กซิโก
สำหรับช่วงปลายสัปดาห์นี้ นายโจ ไบเดน จะมีการเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและจับตาหลังการประกาศยืนยันชัยชนะก็เผชิญกับความตึงเครียดและความรุนแรงของกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
นางเจเน็ต เยลเลน ว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่ได้รับเลือกจากนายไบเดน ได้กล่าวถ้อยแถลงที่อาคารรัฐสภาเมื่อวานนี้เกี่ยวกับไม่มีแนวโน้มจะหาวิธีให้ดอลลาร์อ่อนค่า
· ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนประจำเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าที่คาดไว้ที่ 7.3% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ซึ่งขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 เนื่องจากภาคการผลิตจำนวนมากซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากการส่งออกที่แข็งแกร่งยังคงฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
โพลล์สำรวจจาก Reuters คาดว่า การเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำปีจะลดลงเหลือ 6.9% ในเดือนธ.ค.จากเดิมที่ 7.0% ในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
ทางด้านยอดค้าปลีกของจีนเพิ่มขึ้น 4.6% ในเดือนที่แล้วจากปีก่อนหน้า
ขณะที่ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (FAI) ปี 2020 เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น 3.2% และการเติบโต 2.5% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี
· จีนคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สำหรับ พฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ต่อไต้หวัน
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน ตัดสินใจใช้มาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ถึงพฤติกรรมที่น่ารังเกียจต่อไต้หวัน ซึ่งจีนอ้างว่าไต้หวันเป็นดินแดนหนึ่งของตน
อย่างไรก็ดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้กล่าวต่อ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่าจะทำการยกเลิกข้อ จำกัด ในการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและทางฝ่ายคู่สัญญาไต้หวันภายในเดือนนี้
· Capital Economics คาด อัตราว่างงานญี่ปุ่นจะลดลงแตะ 2.7% ในปีนี้ โดยเป็นผลมาจากผลของมาตรการไวรัสโคโรนาที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจ
· ยอดส่งออกของสิงคโปร์ประจำเดือนธ.ค. โตได้เกินคาดแตะ 6.8%
ข้อมูลส่งออกที่ไม่รวมกลุ่มน้ำมันของประเทศสิงคโปร์ ที่เรียกว่า NODX ขยายตัวสูงขึ้น 6.8% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เดือนพ.ย. โตได้ 5.0%
ขณะที่ข้อมูลดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบรายเดือน พบว่า เติบโตได้ 6.6% ในเดือนธ.ค. สูงกว่าคาดการณ์ และเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 3.7%
· ประชากรอังกฤษได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉลี่ย 140 รายต่อนาที
อังกฤษถือเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งในขณะนี้ได้ออกมาแข่งขันเพื่อเป็นประเทศกลุ่มแรกที่ฉีดวัคซีนประชากร และถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคระบาดโควิดด้วย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
โดยจากตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าอังกฤษได้ฉีดวัคซีนประชากรแล้วด้วยเข็มแรก 3,857,266 ราย และจำนวนประชากร 449,736 ราย ในเข็มที่สองตามมา
· จีนรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่มากกว่า 100 รายติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้เกิดความกังวลอีกระลอกหนึ่งเมื่อหลายร้อยล้านรายเดินทางมาในช่วงวันหยุดตรุษจีน
โดยการควบคุมใหม่ที่ยากลำบากในเมืองกงจือหลิงในมณฑลจี๋หลินซึ่งมีประชากรราว 1 ล้านราย ส่งผลให้จำนวนผู้คนทั้งหมดที่ถูก Lockdown มีมากกว่า 29 ล้านราย
ตามที่หนังสือพิมพ์ Global Times ระบุว่าอย่างน้อย 11 ภูมิภาคใน 3 จังหวัดของ Hebei ตอนนี้ Heilongjiang และ Jilin ได้กำหนดให้มีการ Lockdown
ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) แถลงวันนี้ว่า ณ วันอาทิตย์ที่ 17 ม.ค. จีนพบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 109 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อในประเทศ 93 ราย ส่วนอีก 16 รายเป็นผู้ติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศ ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศรายใหม่นั้น มี 54 รายอยู่ในมณฑลเหอเป่ย อีก 30 รายอยู่ในมณฑลจี๋หลิน
· นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะใช้มาตรการป้องกันทุกวิถีทางเพื่อปกป้องระบบทางการแพทย์จากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เผยในวันนี้ ว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการทั้งหมดเพื่อปกป้องระบบทางการแพทย์ ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักของเชื้อไวรัสโควิดในโรงพยาบาล ซึ่งในขณะนี้ นายซูงะ ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับโตเกียวและสามจังหวัดโดยรอบเพื่อยุติการติดเชื้ออีกครั้ง และยังขยายเพิ่มไปยังอีกเจ็ดจังหวัดรวมถึงโอซาก้าและเกียวโตทางตะวันตกของญี่ปุ่นด้วย
· หัวหน้าแผนกสาธารณสุข กล่าวว่า ออสเตรเลียอาจไม่เปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้งในปีนี้ แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาแล้วก็ตาม
โดยออสเตรเลียกำลังพิจารณาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีนไฟเซอร์หลังจากที่นอร์เวย์รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนเล็กน้อยในผู้สูงอายุที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่มีกำหนดจะเริ่มโครงการสร้างภูมิคุ้มกันในเดือนหน้า
· บราซิลประกาศใช้วัคซีน “Sinovac” และ “AstraZeneca”
หน่วยงานด้านสุขภาพประเทศบราซิลทำการอนุมัติใช้วัคซีน Covid-19 เป็นการฉุกเฉินทั้งจากบริษัท Sinovac Biontech และ AstraZeneca เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในสภาวะที่ยอดติดเชื้อและผู้เสียชีวิตใน Second Wave มีจำนวนสูง
ทั้งนี้ประเทศบราซิลประกาศอนุมัติหลังจากที่พยาบาลสาวในเมืองเซาท์ เปาโล อายุ 54 ปี ได้รับการฉีดวัคซีน CoronaVac ของจีนเป็นรายแรก
· โครงการฉีดวัคซีนขนานใหญ่ของอินเดีย ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดด้านแอพลิเคชัน
· ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 369 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 357 ราย
ศบค. แถลงยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" วันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 369 ราย เป็นติดเชื้อภายในประเทศ 357 คน ยอดผู้ป่วยสะสม 12,423 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 64 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 369 ราย ติดเชื้อในประเทศ 257 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 82 ราย การค้นหาเชิงรุกในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 275 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 12 ราย อยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้
รวมยอดผู้ป่วยสะสม 12,423 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 70 คน ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 9,206 ราย และผู้ป่วยที่รักษาอยู่ 3,147 ราย
· ไบเดน อาจยกเลิก “โครงการ Keystone XL pipeline” ในวันแรกของการได้รับตำแหน่ง
โดยว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโจ ไบเดน วางแผนที่จะยกเลิกใบอนุญาตโครงการ Keystone XL pipeline ที่มีมูลค่า 9 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบขนาดยักษ์ข้ามพรมแดนจากแคนาดาสู่โรงกลั่นในสหรัฐฯ ซึ่งนายไบเดนวางแผนที่จะทำเป็นสิ่งแรกเมื่อเข้าทำงาน
ทั้งนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงในการสร้างท่อส่งน้ำมันนี้ไว้เมื่อในอดีต ซึ่งขัดต่อนโยบายของนายไบเดน ที่ได้ให้คำมั่นเรื่องการจัดการต่อสภาพภูมิอากาศ
· อุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้นเนื่องจากกรณียอดติดไวรัสที่เพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงต่อจากระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยสิ้นสุดการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจากการหาข้อตกลงการลดกำลังการผลิตและอุปสงค์ของจีนที่แข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดยังคงติดตามการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 30 เซนต์ หรือ 0.5% ที่ระดับ 54.79 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ลดลงไป 2.3% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 21 เซนต์ หรือ 0.4% ที่ระดับ 52.15 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 2.3% จากช่วงก่อนหน้านี้