การรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยช่วงที่นายทรัมป์รับตำแหน่งและระหว่างการส่งต่อให้แก่นายไบเดนนั้น จะเห็นได้ว่า
- ตลาดหุ้นทำ All-Time Highs อยู่ตลอด
- ยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น
- การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์
- ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
- เฟดใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายเพื่อต่อสู้กับวิกฤตต่อไป
1. ตลาดภายใต้การบริหารงานของ “ทรัมป์”
ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นได้ประมาณ 68% นับตั้งแต่ที่นายทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง
ปรับขึ้นได้ราว 73% นับตั้งแต่ช่วงมี.ค. ปีที่แล้ว จากการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู้ Covid-19 คู่กับการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟด
การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ระดับต่ำ ก็เป็นผลมาจากการที่เฟดลดดอกเบี้ยมาใกล้ระดับศูนย์ และทำให้ตลาดหุ้นเพิ่มสูงขึ้น
2. การบริหารงานช่วง 100 วันแรก
จากหน้าประวัติศาสตร์ ตลาดหุ้นอาจต้อนรับนายไบเดน อย่างอบอุ่น โดยดัชนี S&P500 มักมีการปรับขึ้นได้ในช่วง 100 วันแรก ประมาณ 8 ใน 10 ครั้งจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมาล่าสุด
ในช่วง 100 วันแรกของนายไบเดนอาจต้องมีการเร่งผลักดันให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ความเห็นที่ต่างกันภายในพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรสเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญให้แล้ว ก็น่าจะยังสร้างความไม่แน่นอน
3. ดอลลาร์จะนิ่งแล้วหรือยัง?
นายไบเดน ได้รับมรดกชิ้นต่อมาจากนายทรัมป์ คือ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงแล้วกว่า 12% จากระดับสูงสุดในปีที่แล้ว ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์เป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับผู้ส่งออกที่จะมาสนับสนุนทางด้านการแข่งขันสำหรับสินค้าของสหรัฐฯกับต่างประเทศ หรือทำให้ลูกค้าต่างชาติสามารถซื้อสินค้าสหรัฐฯได้มากขึ้น
การฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรล่าสุดได้ช่วยหนุนดอลลาร์ที่อ่อนค่าให้กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งเมื่อเทียบกับอัตราผลแทนพันธบัตรส่วนใหญ่
และการมาของทีมบริหารของนายไบเดน ส่งสัญญาณว่าไม่มีแนวโน้มจะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าไปมากกว่านี้ ไม่เหมือนนายทรัมป์ที่ต้องการเห็นดอลลาร์อ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า
4. ระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้น
ระดับหนี้สินของประเทศที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเกือบ 40% ภายใต้การบริหารงานของนายทรัมป์มีมากถึง 28 ล้านล้านเหรียญ จากการผ่านร่างกฎหมายปรับลดภาษีฉบับปี 2017 และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อบรรเทาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
นักลงทุนบางส่วนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางทางการเงินของสหรัฐฯที่ไม่สดใสและเพิ่มระดับหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯให้สูงมากยิ่งขึ้นในระยะยาว ซึ่งทั้งหมดจะเป็น “ปัจจัยกดดันดอลลาร์” และทำให้ค่าเงินสกุลอื่นๆมีความน่าสนใจมากกว่า
ในเดือนก.ค. ที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับ Fitch Ratings มีการปรับทบทวนแนวโมเศรษฐกิจสหรัฐฯ สู่ระดับ AAA- จากระดับมีเสถียรภาพ แต่ก็ยังตอกย้ำถึงความน่าเชื่อถือของประเทศที่แข็งแกร่ง
ระดับหนี้สหรัฐฯที่มีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นภายใต้ทีมบริหารนายไบเดน ประกอบกับ การที่นางเจเน็ต เยลเลน ว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ หนุนการใช้ยาแรงสำหรับแพ็คเกจสหรัฐฯด้วยการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก ก็ยิ่งดูจะเป็นการก่อระดับหนี้ให้ทวีขึ้น
5. ยอดงบดุลของเฟดจำนวนมหาศาล (BALANCE SHEET)
นายไบเดน ยังต้องเผชิญกับจำนวนยอดงบดุลบัญชีของเฟดที่เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นช่วงวิกฤต Covid-19
ความน่าวิตกกังวลอย่างหนึ่ง คือ เรื่องดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ และการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มากถึง 1.2 แสนล้านเหรียญ และเราอาจเห็นเฟดเพิ่มวงเงินมากขึ้น หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเข้าขั้นเลวร้ายและก่อวิกฤตครั้งใหม่ ที่จะนำมาซึ่งการเพิ่มนโยบายทางการเงิน.
6. ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน
การระบาดของไวรัสโคโรนา เรียกได้ว่า เป็นความน่ากังวลทางเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วที่ยังอยู่ในยุคของนายทรัมป์ ขณะที่ช่วงต้นปีนี้นายไบเดนก็จะมารับหน้าที่ และมีแนวโน้มที่ปัญหาข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนจะน้อยลงบ้างเล็กน้อยและทั้งหมดนี้มีผลให้ราคาสินทรัพย์อาจปรับขึ้นได้
นอกจากความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายแล้ว ยังมีปัจจัยข่าวต่างๆที่จะมาสร้างความไม่แน่นอนให้แก่ตลาดที่เรียกได้ว่าอาจมากกว่าครั้งที่เกิด 9/11 หรือยุควิกฤตการเงินครั้งใหญ่ด้วยซ้ำ