นักวิเคราะห์จาก FXStreet วิเคราะห์แนวโน้มทองคำปรับตัวลงปานกลางในช่วงต้นตลาดยุโรปวันนี้ และล่าสุดทรงตัวใกล้กับระดับต่ำสุดรายวันบริเวณ 1,850 เหรียญ
ทั้งนี้ ทองคำมีการรีบาวน์กลับจากระดับ 1,837 เหรียญ ก่อนที่จะเผชิญแรงเทขายต้อนรับสัปดาห์ใหม่ และทำให้ราคามีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 3 วันทำการกดดันความเชื่อมั่น "ขาขึ้น" ของทองคำ ขณะที่ความต้องการดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ยังมีอยู่
แม้ว่าความกังวลในตลาดจะเพิ่มขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวไม่ไหวจากจำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ตลาดก็ยังมีความหวังว่า "มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ" ที่จะมาช่วยเหลือรอบใหม่จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำจากแผนของนายไบเดนวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ
อย่างไรก็ดี แนวโน้มการเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการเงินในปีนี้ ก็ดูจะเป็นอีกตัวที่ทำให้เกิดภาวะ Risk-On ของเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรทำให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นและกดดันความต้องการทองคำส่วนหนึ่ง แต่แนวโน้มการอ่อนค่าของดอลลาร์ก็จะกลายมาเป็นปัจจัยที่ช่วยจำกัดการปรับตัวลงของทองคำในเวลานี้ได้
ตลาดทองคำสัปดาห์นี้รอคอยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญใหม่ๆ และรอดูแรงเทขายก่อนที่จะดีดกลับขึ้นจากแนว 1,800 เหรียญ ที่หากหลุดลงมาอาจทำให้ทองคำหลุดจากระดับดังกล่าวได้
· Trading View | ทิศทางทองคำสัปดาห์นี้ 25-29 ม.ค.
นักวิเคราะห์จาก Trading View กล่าวว่า ราคาทองคำดีดกลับจากบริเวณแนวรับและเคลื่อนไหวในกรอบ โดยปัจจัยแรกที่หนุนให้ดีดกลับได้มาจากการที่ดอลลาร์อ่อนค่า, ประกอบกับตลาดไม่แน่นอนจากสภาวะการเสียชีวิตอันเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ขณะที่การส่งมอบอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐฯค่อนข้างราบรื่น
การระบาดของไวรัสโคโรนา ณ ปัจจุบัน อาจไม่ได้สะท้อนถึงความกังวลในตลาดการเงินมากนัก แต่ข้อเท็จจริงของการระบาดยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่การเสียชีวิตจากสายพันธ์ุใหม่ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันว่าครอบคลุม เพียงพอหรือไม่
อย่างไรก็ดี ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ดีที่สุดในเวลานี้ และปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตา ได้แก่
- รายงานผลประกอบการ
- การประชุมเฟด
- การประชุม World Economic Forum
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ
ในเชิงเทคนิคราคาทองคำมีการทำระดับสูงได้อีกครั้งจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า ประกอบกับความไม่แน่นอนต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น แต่ราคาก็ยัง "ล้มเหลวในการฝ่าไปให้ได้" จึงทำให้ดูเหมือนทิศทางทองคำมีสัญญาณลบ และภาพรวมวิเคราะห์ได้ 2 ทางดังนี้
1) ทองคำปิดเหนือแนวรับ จนกว่าจะฝ่า 1,857 เหรียญ ซึ่งหากผ่านไปได้มีโอกาสขึ้นต่อไปที่ 1,875 เหรียญ และหากยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ มีโอกาสเห็นทองคำขึ้นไปที่ 1,886 เหรียญ
2) ทิศทางขาลงของทองคำ หลังไม่สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ภาพรวมหากต้องการลงทุนให้เป็นไปในลักษณะ Scalping Trades
มุมมองขาขึ้น มุมมองขาขึ้นของตลาดลดน้อยลง แม้ว่าดอลลาร์จะกลับมาอ่อนค่าขึ้น และมีความไม่แน่นอนมากขึ้น แต่ทองคำก็ยังล้มเหลวในการฝ่าระดับสำคัญ ภาพรวมทองคำยังมีสัญญาณลบ
หนึ่งสิ่งที่เป็นสัญญาณบวกต่อทองคำคือการที่แพทเทิร์นราคามีการเคลื่อนไหวแบบ Inverse Head and Shoulders ที่ยังสนับสุนนภาวะขาขึ้นในทองคำได้ แต่อาจไม่สามารถขึ้นได้ระยะยาวๆในเวลานี้
มุมมองขาลง ยังคงเคลื่อนไหวขาลงต่อในระยะสั้นๆ
มุมองระยะยาว ทองคำระยะยาวยังเป็นขาขึ้น และมีแนวโน้มจะขึ้นต่อได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ดี ทองคำมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง แต่แนวโน้มหลักจะอยู่ในทิศทางขาขึ้น แนะรอเข้าซื้อเหนือ 1,858 เหรียญ และมีเป้าหมายที่ 1,875 เหรียญ และ 1,886 เหรียญตามลำดับ พร้อมมี Stop Loss หากต่ำกว่า 1,848 เหรียญ แต่ระยะยาวเป้าหมายทองคำจะอยู่ที่ 1,901 เหรียญ
แนะหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว หรือ Break ระดับล่างลงมา ซึ่งเหมาะแก่การเปิด Long และรอปิดทำกำไรตามแนวต้าน
ผู้ที่ถือ Short ใช้กลยุทธ์ Scalping Trades ตามที่บอกไว้ในข้างต้น
· สิ่งที่จะกระทบราคาทองคำมากที่สุด น่าจะเป็นผลโดยตรงจาก "อัตราผลตอบแทนพันธบัตร"
นักวิเคราะห์จาก FXEmpire มองว่า การร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สมาชิกวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกันกว่าครึ่งยังไม่เห็นด้วยต่อแผนของนายไบเดน และสมาชิกเดโมแครตบางส่วนเองก็ดูจะค้านมาตรการจ่ายเช็คแก่ชาวอเมริกาในครั้งนี้ด้วย
หากนโยบายไบเดนได้รับการสนับสนุนแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านเหรียญ ก็จะส่งผลให้
- เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
- "หากเงินเฟ้อขึ้น" อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯก็จะปรับขึ้นตาม
- "อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขึ้น" จะหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่า
และเมื่อ "ดอลลาร์แข็งค่า" ก็จะกดดันทองคำ
หากนายไบเดนถูกชะลอแผนดังกล่าวจากทางคองเกรส และผ่านมติในวงเงินที่น้อยกว่า
- หุ้นสหรัฐฯจะเผชิญแรงขายทำกำไร
- ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดน้อยลง
- ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างดอลลาร์เพิ่มขึ้น
และเมื่อ "ความต้องการดอลลาร์เพิ่มขึ้น" ก็จะกดดันราคาทองคำ เช่นเดียวกัน