• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 25 มกราคม 2564

    25 มกราคม 2564 | Economic News
  


· ดอลลาร์ชะลอการอ่อนตัว จากกังวลไวรัสครั้งใหม่

ค่าเงินดอลลาร์มีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากที่อ่อนค่าลงเมื่อไม่นานนี้ โดยได้รับแรงหนุนจาก

- ความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา

- ความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากการระบาดในเวลานี้

- นักลงทุนต้องการถือดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven

แต่นักวิเคราะห์บางส่วน มองว่า ดอลลาร์อาจกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหากว่าเฟดยัง "ยืนยัน" ว่าจะใช้แนวทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปในการประชุมสัปดาห์นี้


นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ถูกคาดว่าจะส่งสัญญาณถึงการ "ไม่มีแผน" จะลดหรือถอนแนวทางการกรตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆนี้ ซึ่งคงต้องรอบทสรุปการประชุมในคืนวันพุธนี้อีกครั้ง

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 90.172 จุด โดยรีบาวน์กลับมาได้ตั้งแต่วันศุกร์

กิจกรรมทางเศรษฐกิจในฝั่งยูโรโซนค่อนข้างหดตัวในเดือนม.ค. บ่งชี้ว่า "การ Lockdown" สร้างผลกระทบต่อภาคอุตสหากรรมและการบริการให้เป็นไปอย่างยากลำบาก

ข้อมูลจากอังกฤษแสดงให้เห็นว่า *ความล่าช้าในการกระจายวัคซีน* กดดันความเชื่อมั่นนักลงทุน

นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี เผยว่า *อังกฤษพบหลักฐานของการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอาจมีความเกี่ยวข้องกับไวรัส Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว*


ข่าวไวรัสโคโรนาบดบังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดีขึ้นเกินคาด ทั้งข้อมูลการผลิตและยอดขายบ้านมือสอง

ยูโรทรงตัวบริเวณ 1.2174 ดอลลาร์/ยูโร หลังสัปดาห์ที่แล้วแข็งค่าโดยรวม +0.8%

นักวิเคราะห์บางราย มองว่า สถานการณ์การประท้วงในอิตาลีดูจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง


หัวหน้านักกลยุทธืฝ่ายค่าเงินจาก SMBC Nikko Securities กล่าวว่า ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้ในช่วงไวรัสระบาด ทั้งนี้ เป็นผลจากแนวทางการขยายการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจัดการหนี้สินของธนาคารกลางต่างๆ แต่สภาวะทางการเมืองที่ไม่แน่นอนอาจทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าออกไปได้ "โดยในปี 2021 จะมีเหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกับปีที่แล้ว”


นักลงทุนคาดหวังว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ จะเกิดขึ้นได้ในเร็วๆนี้ ขณะเดียวกันตลาดก็รอคอยการไต่สวนอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯอย่าง "นายโดนัลด์ ทรัมป์" ที่ถูกฟ้องถึง 2 ครั้ง


ปอนด์ทรงตัวบริเวณ 1.3684 ดอลลาร์/ปอนด์ และอยู่ไม่ห่างจากแข็งค่ามากสุดรอบ 2 ปีครึ่งที่ทำไว้บริเวณ 1.3745 ดอลลาร์/ปอนด์ จากส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินงานด้านวัคซีน Covid-19 ของผู้นำอังกฤษ

ค่าเงินเยนทรงตัว 103.76 เยน/ดอลลาร์


· ดอลลาร์แข็งค่ามากสุด - ออสเตรเลียดอลลาร์ยังอ่อนค่า เทรดเดอร์อเมริกาเหนือมุ่งหน้าสู่ตลาดในวันนี้

Forex Live เผย ข้อมูลดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯปรับตัวลงในช่วงต้นตลาด เป็นสภาวะแบบ Risk-Off ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางที่แข็งค่า และค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์เรียกได้ว่าอ่อนค่ามากสุด ตามมาด้วยนิวซีแลนด์ดอลลาร์ก็ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า หลังมีรายงานว่า


ฮ่องกงมีแผนจะทำการ Lockdown เพิ่มเติมจากสถานการณ์การระบาดที่เลวร้ายมากขึ้น กดดันการเคลื่อนไหวของค่าเงิน

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯค่อนข้างทรงตัว และทองคำปรับอ่อนตัวลงจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น






· FXStreet วิเคราะห์ค่าเงินยูโร - จีดีพีสหรัฐฯไตรมาสที่ 4 และเฟด จะหนุนความต้องการดอลลาร์ได้หรือไม่?

แม้ดอลลาร์จะรีบาวน์กลับมา และส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงจากแรง Short Covering แต่ก็ยังเคลื่อนไหวใกล้แข็งค่ามากสุดรอบ 2 ปี ที่ 1.2349 ดอลลาร์/ยูโร

สิ่งที่ต้องจับตาสำหรับค่าเงินยูโร:


นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่

- คาดว่า นายไบเดน ไม่อาจเปลี่ยนแปลง "ความสัมพันธ์" ระหว่างประเทศสหรัฐฯและจีนได้

- Trade War ระหว่างสหรัฐฯ-จีน จะยังมีอยู่ ภายใต้การระบาดของ Covid-19

- ภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน อาจดีขึ้นกว่ายุคของนายทรัมป์


อีซีบีและข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาน่าผิดหวัง

- การปรชุมอีซีบีสัปดาห์ที่แล้ว ยังคงนโยบายการเงินต่อไป

- ยังไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางและมุมมองของสถานการณ์จนกว่าจะถึงมี.ค. ปี 2022

- นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี ย้ำถึงการจะคงแนวทาง "การผ่อนคลายทางการเงิน" และไม่รีบขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

- ข้อมูลเงินเฟ้อยูโรโซนยังอยู่แดนลบในเดือนธ.ค. -0.3%

- CPI รายปีของเยอรมนีออกมา -0.7%

- ZEW เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนีดีขึ้นเพียง 58.3 จุดในเดือนม.ค. จากเดิม 61.8 จุด

- สถานการณ์การเติบโตยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

- ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ 900,000 ราย ในสัปดาห์ก่อน

- ข้อมูลภาคที่อยู่อาศัยมีสัญญาณฟื้นตัวได้ดีขึ้น

- Markit เผยประมาณการณ์ PMI ของยูโรโซนล่าสุดเดือนธ.ค. ไม่สดใสนักแม้ภาพรวมจะดีกว่าคาด โดยภาคการผลิตฟื้นตัวแตะ 59.1 จุด ขณะที่ภาคบริการได้รับผลกระทบจาก Lockdown ล่าสุดอยู่ที่ 57.5 จุด


เฟดและการอัพเดตข้อมูลต่างๆ

- เฟดจะประชุมระหว่าง 26-27 ม.ค. นี้

- คาดว่าเฟดจะยังคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม

- คืนวันพุธนี้จับตา Durable Goods Orders ของสหรัฐฯ ที่คาดจะโตได้ปานกลางแตะ 0.9%

- คืนวันพฤหัสบดีนี้

จับตา GDP ไตรมาสที่ 4/2020 ที่ถูกคาดว่าจะโตได้ 2.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.7%

- ข้อมูลผลสำรวจภาคธุรกิจเยอรมนีโดยสถาบัน IFO วันนี้

- ข้อมูลชี้วัดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซน ในวันพฤหัสบดี

- ข้อมูลจีดีพีเยอรมนีไตรมาสที่ 4 ที่จะประกาศช่วงปลายสัปดาห์


· การจัดอันดับ Lipper ชี้ กองทุนพันธบัตรทั่วโลกมีปริมาณเม็ดเงินช่วง 7 วัน ไหลเข้าสู่กองทุนเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่สิ้นสุด 20 ม.ค. อันเนื่องจากความหวังแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ ภายใต้ทีมบริหารชุดใหม่ ที่ทำให้เกิดกระแสถกเถียงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

นักลงทุนมีการเข้าซื้อกองทุนพันธบัตรเพิ่ม 2.69 หมื่นล้านเหรียญ ทำสูงสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2020


ภาพประกอบ Fund Flows ที่ไหลสู่ตลาดหุ้น,พันธบัตร และตลาดการเงินทั่วโลก:


ภาพรววมกองทุนหุ้นมีความน่าดึงดูดจากเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นแตะ 1.44 หมื่นล้านเหรียญ

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มองว่า ภาคเทคโนโลยีเป็นตัวดึงดูดด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 3.6 พันล้านเหรียญ ตามมาด้วยเม็ดเงินที่ไหลสู่ตลาดการเงินอื่นๆ 2.2 พันล้านเหรียญ

ขณะเดียวกันกองทุนต่างๆในตลาดการเงินก็เผชิญกับเม็ดเงินไหลออกไปกว่า 6.8 พันล้านเหรียญในช่วงสัปดาห์เดียวกัน หลังจากที่มีเม็ดเงินไหลเข้ามาต่อนเื่อง 5 สัปดาห์ติด


ภาพประกอบกองทุนทั่วโลกที่มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น



· แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ "ไบเดน" 1.9 ล้านล้านเหรียญอาจมากเกินไป ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่สมาชิกรีพับลิกันส่วนใหญ่ไม่ต้องการและมองว่าเศรษฐกิจไม่ได้มีความจำเป็นกับวงเงินจำนวนมากขนาดนั้น

ทั้งนี้ แผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย

- การจ่ายเช็คโดยตรงแก่ประชาชนสหรัฐฯนับล้านราย

- สนับสนุนสวัสดิการคนว่างงาน

- การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

- การช่วยเหลือรัฐและหน่วยงานท้องถิ่น

- การใช้เงินสำหรับวัคซีน Covid-19 และการตรวจหาเชื้อ

- มาตรการอื่นๆ

ทั้งนี้ สมาชิกรีพับลิกันส่วนใหญ่ยังค้านแผนการดังกล่าว โดยเฉพาะวงเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญ ที่มองว่าเป็นเงินช่วยเหลือสำหรับภาครัฐบาลท้องถิ่นนั้นยังจัดการได้ไม่ดี แต่อันที่จริงแล้ว ภาพรวมดูเหมือนปัญหาจะเป็นไปในเชิงลึกกว่านั้น


· ตึงเครียดทะเลจีนแดงปะทุอีกครั้ง หลัง "ไบเดน" เข้ารับตำแหน่ง


เครื่องบินบรรทุกอาวุธสหรัฐฯ นำโดย USS Theodore Roosevelt บินเหนือน่านน้ำทะเลจีนใต้ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุน "เสรีภาพทางทะเล" ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่สหรัฐฯค่อนข้างเป็นห่วงเรื่อง "ตึงเครียด จีน-ไต้หวัน" และการที่จีนยืนยันการจัดวาะรเดินเรือมหาสมุทร


· "กอร์ดอน บราวน์" อดีตนายกฯอังกฤษ ชี้ อังกฤษอาจเป็นประเทศที่ "ล้มเหลว" โดยปราศจากการปฏิรูป ท่ามกลางประชาชนที่เสียศรัทธาต่อแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล ขณะที่สก็อตแลนด์เองก็มีความไม่พึงพอใจอยู่ลึกๆที่อาจคุกคามการสิ้นสุดของสหราชอาณาจักรได้

ทั้งนี้เศรษฐกิจของอังกฤษถดถอยตั้งแต่วิกฤต Brexit เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้พันธบัตรของอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ มีมูลค่าลดลง 3 ล้านล้านดอลลาร์ลดลง


· สมาชิกสภาฝ่ายผู้ว่าการของอีซีบี เรียก การคุม Yield Curve เป็นเรื่องไร้สาระสำหรับยูโรโซนในเวลานี้


· ออสเตรเลีย อนุมัติใช้วัคซีน Pfizer พร้อมเตือนถึงภาวะอุปทานวัคซีนทั่วโลกที่จำกัดจากบริษัทยา AstraZeneca จากกระบวนการผลิตระหว่างประเทศที่ประสบปัญหา สะท้อนว่าอาจทำให้การกระจายวัคซีนนั้นล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ได้


· ชาวแคลิฟอร์เนียที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา เสียชีวิตในไม่กี่ชั่วโมงต่อมาและเจ้าหน้าที่กำลังพยายามหาสาเหตุ

โดยสำนักงานตำรวจเพลเซอร์โพสต์เฟซบุ๊กว่าเมื่อไม่นานนี้ หน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานชันสูตรศพได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตรายหนึ่ง ซึ่งมีผลตรวจไวรัสโคโรนาเป็นบวกในช่วงปลายเดือนธันวาคมปีก่อน


· ญี่ปุ่นเตรียมซ้อมขั้นตอนการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาให้แก่ประชาชนในวันพุธนี้ที่เมืองคาวาซากิ ใกล้กับกรุงโตเกียว

นายทาโร โคโนะ รัฐมนตรีผู้ดูแลเรื่องโครงการฉีดวัคซีน ได้เปิดเผยแผนซ้อมดังกล่าว ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเริ่มฉีดวัคซีนจริงในปลายเดือนก.พ. หลังตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว


· ญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะบรรลุการได้รับวัคซีนคุ้มกัน Covid-19 ในช่วงต.ค. หลังจากจบกีฬาโอลิปิก


· นายกฯญี่ปุ่นเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติมจากกรณีการรับมือกับการระบาดของ Covid-19

นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นจากการรับมือวิกฤต Covid-19 ของเขา ทำให้ผลสำรวจส่วนใหญ่ครั้งใหม่ สะท้อนว่า หลายๆคนเชื่อว่ารัฐบาลมีการจัดการและรับมือกับวิกฤตการระบาดครั้งนี้ล่าช้ามากเกินไป


· นิวซีแลนด์ ยัน พบผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายแรกในรอบหลายเดือน ส่งผลให้เกิดการระงับการเดินทางจากออสเตรเลีย


· ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงทางการแพทย์ ระบุว่า ผรั่งเศสอาจต้องกลับไปใช้มาตรการ Lockdown เป็นครั้งที่สามในช่วงเดือนก.พ. ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน เนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้


· สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาทั่วโลก



· สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในประเทศไทย




· ออสเตรเลียต้องการกระชับความสัมพันธ์กับจีน

เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง เผยว่า ออสเตรเลียยังคงสนับสนุนกิจการของประเทศต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องการให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับจีนดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและออสเตรเลียถือมีความสำคัญมาก เนื่องจากแหล่งทรัพยากรของออสเตรเลียส่วนใหญ่เอื้อประโยชน์ให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้น และในทางเดียวกัน จีนถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ และยังเป็นแหล่งรายได้และการสร้างงานที่สำคัญของออสเตรเลีย


· โรงงานผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ตั้งเป้าผลประกอบการรายไตรมาส 4/2020 ที่ย่ำแย่ที่สุดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่จะกลายมาเป็นตัวกดดันราคาน้ำมัน

ท่ามกลางอุปสงค์น้ำมันที่อ่อนแอจากการกลับมาใช้มาตรการจำกัดการเดินทางครั้งใหม่เพื่อสกัด Covid-19 และค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนที่สูงขึ้นจากการผสมเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนของพวกเขา*

IBES เผย ข้อมูลจาก Refinitiv บริษัทผลิตน้ำมันเอกชน 7 แห่งในสหรัฐฯ คาด ผลประกอบการต่อหุ้นเฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วจะออกมาแย่ลงแตะ 1.51 เหรียญ จาก 1.06 เหรีญญในไตรมมาสที่ 3/2020

ขณะที่ Credit Suisse และ Tudor Pickering Holt ปรับลดประมาณการณ์ราคาน้ำมันทุกๆครั้งที่โรงกลั่น/ผลิตน้ำมันเอกชนสหรัฐฯเผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4/2020


· ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น แต่ Lockdown ยังจำกัดการฟื้นตัวของราคา

ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นเพราะได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ที่มาชดเชยกับความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันโลกจากมาตรการ Lockdown รอบใหม่เพื่อจำกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา

สัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนมี.ค. ปรับขึ้น 32 เซนต์ หรือ +0.6% ที่ระดับ 55.73 เหรียญ/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ปรับขึ้น 35 เซนต์ หรือ +0.7% ที่ 52.62 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัทน้ำมัน Waha ของลิเบีย กลับมาทำการผลิตเพิ่ม หลังจากมีการซ่อมท่อส่งก๊าซ ขณะที่ผลผลิตจากบริษัท Tengiz ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของคาซัคสถานมีการปรับตัวลงอันเนื่องจากเหตุไฟฟ้าขัดข้องเมื่อ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา

จีนรายงานถึงยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ ที่อาจกดดันอุปสงค์น้ำมันจากประเทศที่มีการนำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกได้


· คลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราชนะ” วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาตามแผนงานโครงการของรัฐบาล ซึ่งพันธบัตรออมทรัพย์เป็นตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่ตลาดการเงินมีความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ และเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐเพื่อการดูแลประชาชนทุกกลุ่ม

1) รุ่นเราชนะบนวอลเล็ต สบม. วงเงินจำหน่าย 5,000 ล้านบาท รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step-up) เฉลี่ยร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยเริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 100 บาท จนถึง 5 ล้านบาท

2) รุ่นเราชนะ วงเงินจำหน่าย 55,000 ล้านบาท โดยเป็นการจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไรผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ แบบไม่จำกัดวงเงินซื้อ

(1) วันที่ 5-15 กุมภาพันธ์ 2564 จำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step Up) โดยรุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 2.00 ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 2.50 ต่อปี

(2) วันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2564 จำหน่ายให้แก่นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด รุ่นอายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1.80 ต่อปี


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com