· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสิ่งกีดขวางที่อาจเกิดขึ้นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญของฝ่ายบริหารไบเดนที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์
ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่ลดลงช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ขณะที่ราคาน้ำมันขยับลง
ดัชนี EUROSTOXX 50 futures ลดลง 0.1% ด้านดัชนี FTSE futures เพิ่มขึ้น 0.3%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 1.5% ที่ระดับ 737.3 จุด แต่เคลื่อนไหวไม่ไกลจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้ สำหรับภาพรวมรายปีเพิ่มขึ้น 8%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแจกจ่ายวัคซีน การกระตุ้นมาตรการเศรษฐกิจที่ล่าช้า รวมทั้งความกระวนกระวายใจก่อนฤดูกาลการประกาศผลประกอบการจึงส่งผลให้เกิดแรงเทขายออกมา
โดยสหรัฐฯพยายามดิ้นรนเพื่อเพิ่มการฉีดวัคซีน ประเทศในยุโรปกำลังเผชิญกับความล่าช้าจากซัพพลายเออร์และญี่ปุ่นยังไม่ได้เริ่มการฉีดวัคซีนซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
นอกจากนี้ Merck & Co Inc ได้ยุติการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาแล้ว ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขาดแคลนอุปทาน
ดัชนี Nikkei ปิด -0.96% ที่ระดับ 28,546.18 จุด ด้านหุ้นวัฏจักรของผู้บริโภค หุ้นผู้ผลิตพลังงานและวัสดุก็ปรับตัวลง ขณะที่ดัชนี Topix -0.75% ที่ระดับ 1,848.00 จุด
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
สำหรับสัปดาห์นี้มีรายงานผลประกอบการในสหรัฐฯและญี่ปุ่น รวมทั้งการประชุมเฟดทำให้นักลงทุนทำการเทขายทำกำไร
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง โดยภาพรวมรายวันปรับลดลงนับตั้งแต่เดือนก.ย. หลังจากปรับตัวสูงขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีในช่วงก่อนหน้านี้
ท่ามกลางสภาพคล่องที่ตึงตัวและความตึงเครียดระหว่างจีน - สหรัฐฯ
ดัชนี Shanghai Composit ปิด -1.51% ที่ระดับ 3,569.43 จุด ซึ่งเป็นระดับรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ดัชนี blue-chip CSI300 -2.01% ซึ่งเป็นระดับรายวันมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ก.ย.
ขณะที่บริษัทการเงินถูกกดดันจากสภาพคล่องที่ตึงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในวันนี้พุ่งขึ้นสู่ระดับเดียวกับในช่วงก่อนการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา ท่ามกลางเหล่านักลงทุนบางส่วนที่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น
ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังคงกดดันความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน โดยจีนจะจัดการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจีนไม่พอใจที่สหรัฐฯส่งกองเรือเข้ามาในทะเลจีนใต้ที่เป็นพื้นที่พิพาทด้านดินแดน
· หุ้น Tencent ลดลงมากกว่า 5% ซึ่งปรับลงหลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ผลักดันให้มีการประเมินมูลค่าหุ้นเกือบ 1 ล้านล้านเหรียญเป็นครั้งแรก โดยเพิ่มขึ้น 11% นับว่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 ซึ่ส่งผลให้มูลค่าบริษัทในตลาดแตะ 949 พันล้านเหรียญ
· "ฮ่องกง" เปิดตัวแรงค่อนข้างแข็งแกร่งในปี 2021
รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยระดับมหภาคในเอเชีย และหัวหน้านักกลยุทธ์ในตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประจำ Goldman Sachs กล่าวว่า นักลงทุนชาวจีนแผ่นดินใหญ่ค่นอข้างมีความสนใจในการลงทุนหุ้นในฮ่องกง และทำให้หุ้นฮ่องกงนั้นเริ่มต้นปีอย่างแข็งแกร่งมาก
เมื่อเทียบราคาปิดในวันจันทร์ที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าปีนี้
ดัชนี Hang Seng (HSI) ปรับขึ้นได้มากกว่า 10%
ดัชนี Shanghai Composite ปีนี้กลับเพิ่มขึ้นเพียง 4.35%
ดัชนี Shenzhen Component ปรับขึ้นได้ประมาณ 8.57%
และภาพรวมของเม็ดเงินลงทุนในฮ่องกงเองก็ยังอยู่ระดับสูงสุดประวัติการณ์
หุ้น 5 ตัวในฮ่องกงที่เคลื่อนไหวมากสุด และได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักลงทุนในเดือนม.ค. ได้แก่
- Tencent
- Meituan
- SMIC
- China Mobile
- Xiaomi
อย่างไรก็ดี สหรัฐฯมีการขึ้นบัญชีดำบริษัทจีน 5 ราย ได้แก่ China Mobile, SMIC และ Xiaomi จากข้อหาเกี่ยวกันและให้การสนับสนุนทางการทหาร
· ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกันในวันนี้ โดยเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยัง
กับนักลงทุนที่มุ่งเน้นไปยังความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปและบริษัทยา AstraZeneca โดยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังบริษัท AstraZeneca ยอมรับว่าเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต ทำให้จำนวนวัคซีนชุดแรกที่จะส่งให้สหภาพยุโรปต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิตาลี
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว ด้านหุ้นกลุ่มเคมีพุ่งขึ้น 1.1% ด้านหุ้นภาคการื่องเที่ยวและการพักผ่อนลดลง 0.9%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ล่าสุด ณ วันที่ 24 ม.ค.64 มีผู้ใช้สิทธิตามโครงการ "คนละครึ่ง" แล้ว 13,655,380 คน มียอดใช้จ่ายสะสม
71,323 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 36,488 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 34,835 ล้านบาท โดย 5 จังหวัดแรกที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี สงขลา เชียงใหม่ และสมุทรปราการ ส่วนร้านที่เข้าร่วมโครงการมีแล้วกว่า 1.1 ล้านร้านค้า โดยร้านค้ายังสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง
- ชง ครม. ออกแพ็กเกจ "มาตรการภาษี" เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ"โควิด-19" เพิ่มเติม ลดภาษีที่ดิน 90% ต่ออายุ ลดค่าโอน-จดจำนองบ้านต่ำกว่า 3 ล้าน เหลืออย่างละ 0.01% พร้อมยืดเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลอีก 3 เดือน บรรเทาภาระให้ประชาชนด้านคลังเตือนรับสิทธิ "คนละครึ่ง" แล้ว รีบใช้จ่ายภายใน 14 วัน ห้ามเกิน 7 ก.พ. ส่วนยอดใช้จ่ายรวมทะลุกว่า 7.1 หมื่นล้าน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ
- ศบค. ผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ (26 ม.ค.) พุ่งกระฉูด 959 ราย ทั่วโลกป่วยทะลุ 100 ล้านคน
วันที่ 26 มกราคม 2564 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 959 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 937 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 22 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสม 14,646 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยังคงเสียชีวิตสะสมเท่าเดิมคือ 75 คน ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 100 ล้านรายไปแล้ว โดยมียอดผู้ติดเชื้อรวม 100,280,252 ราย เสียชีวิต 2,149,387 ราย และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 123 ของโลก
ขณะที่เมื่อแยกเป็นการสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ (ระลอกใหม่) มีผู้ป่วยรายใหม่ 959 รายผู้ป่วยยืนยันสะสม 10,409 ราย หายป่วยแล้ว 6,952 ราย และเสียชีวิตสะสม 15 ราย