· ดอลลาร์อ่อนค่าจากคาการณ์ประธานเฟดจะยัง "ผ่อนคลายทางการเงิน" ขณะค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว จากไอเอ็มเอฟที่ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก
ประธานเฟดมีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงหลังจบประชมช่วง 2 วันในคืนนี้เวลาประมาณตี 2.30น. ตามเวลาประเทศไทย
ขณะที่ช่วงต้นเดือน ประธานเฟดกล่าว ณ ที่ประชุมออนไลน์มหาวิทยาลัย Princeton โดยระบุถึง เศรษฐกิจสหรัฐฯยังไม่บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อและแรงงาน ดังนั้น จึงเร็วเกินไปที่จะพูดถึงทางเลือกการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน
ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นเล็กน้อยบริเวณ 0.1% ที่ 90.253 จุด ในตลาดเอเชีย หลังจากที่อ่อนค่าไปราว 0.2% เมื่อคืนนี้
ค่าเงินปอนด์แข็งค่าทำสูงสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2018 บริเวณ 1.3753 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนจะอ่อนค่ากลับลงมาบริเวณ 1.3724 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินยูโรทรงตัวแตะ 1.2153 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่แข็งค่าไปได้ 0.1% เมื่อวานนี้
· ปอนด์อ่อนค่าจากแข็งค่ามากสุดรอบ 32 เดือน ท่ามกลาง S&P500 Futures ร่วง
FXStreet มองค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง ท่ามกลางดัชนีอนุพันธ์สหรัฐฯที่ปรับลงตามความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่อ่อนตัวลง
ค่าเงินปอนด์เคลื่อนไหวทรงตัวแถว 1.3730 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังทำแข็งค่ามากสุดช่วงต้นตลาดเช้านี้ที่ 1.3752 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นแข็งค่ามากสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2018
เงินปอนด์อ่อนค่าจากแข็งค่ามากสุดรอบ 32 เดือน ขณะที่ S&P500 Futures ช่วงต้นตลาปรับตัวลงไป 0.30%
ในทางเทคนิคค่าเงินปอนด์ยังมีสัญญาณขาขึ้น และมีการทำ Higher Lows และ Higher Highs ในภาพรายวัน แต่หากเงินปอนด์หลุดระดับ 1.3609 ดอลลาร์/ปอนด์ ก็มีโอกาสกลับลงมาแถวเส้นคาเฉลี่ย SMA ราย 50 วันที่ 1.3483 ดอลลาร์/ปอนด์
บทสรุปการะชุมช่วง 2 วันของเฟดจะเกิดขึ้นในคืนนี้ประมาณตี 2.00-2.30น. ตามเวลาไทย และคาดเฟดจะยังกล่าวย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ไวรัสโคโรนาระบาด
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าเฟดจะเปลี่ยนแนวโน้มการดำเนินโยบายหลักใดๆในการประชุมครั้งนี้ โดยคาดว่า เฟดน่าจะยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนาที่สร้างความระส่ำระสายทั่วโลก และอัตราการเสียชีวิตในประเทศเวลานี้ทะลุ 420,000 ราย
แต่ตลาดน่าจะให้ความสำคัญกับถ้อยแถลงของ "นายเจอโรม โพเวลล์" ประธานเฟดมากว่า ว่าจะมีความเห็นในทิศทางบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเหมือนเดิมหรือไม่
นักเศรษฐศาสตร์จาก Grant Thornton กล่าวว่า มุมมองของเฟดน่าจะให้น้ำหนักไปยัง
- สถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่กระทบเศรษฐกิจ
- จำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ตามสถานพยาบาล
- จำนวนยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากที่ประชุมนัดล่าสุดในเดือนที่แล้ว
นอกจากนี้ การมาของนางเจเน็ต เยลเลน ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ก็ดูจะดำเนินงานร่วมกับเฟดได้เป็นอย่างดีเพื่อ "จำกัดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไป" แต่ไม่อาจจินตนาการได้ถึงการร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างประธานเฟดกับนางเยลเลน
· Covid-19 ระบาดหนัก ยอดติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 100 ล้านราย ขณะที่หลายๆประเทศประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีน ท่ามกลางสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังกระจายตัวมากขึ้น
· ประธานาธิบดีเม็กซิโกเสี่ยงติด Covid-19 กำลังเข้าทดสอบหาเชื้อ หลังจากรู้สึกไม่ดีก่อนเดินทางด้วยสายการบินเพื่อไปดำเนินงานสำคัญ
· ผู้นำเสียงข้างมากสหรัฐฯ เตรียมโหวตร่างกระตุ้นเศรษฐกิจสัปดาห์หน้าเพื่อปูทางการช่วยเหลือสำหรับแพ็คเกจ Covid-19 ให้เกิดขึ้นได้
· วุฒิสภาสหรัฐฯ ยืนยัน ให้นายแอนโทนี บลินเคน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ จากการเสนอชื่อโดย นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันอังคารที่ผ่านมา
· ทีมบริหารจัดการด้านธุรกิจขนาดเล็ก (SBA) ระบุว่ามีการอนุมัติวงเงินกู้กว่า 3.5 หมื่นล้านเหรียญ ให้แก่ 400,000 บริษัท เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาการจัดการในกลุ่มธุรกิจที่เผชิญวิกฤต Covid-19
SBA ปล่อยโครงการ PPP รอบ 3 ในเดือนนี้ แต่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงกฎเงื่อนไข และกระบวนการอื่นๆ รวมถึงแพลทฟอร์มเทคโนโลยี ในกลุ่มบริษัทที่ประสบปัญหาการอนุมัติล่าช้า
· ILO เผย ภาวะการฟื้นตัวที่เปราะบางส่งผลกระทบต่อ "ตลาดแรงงานทั่วโลก" อย่างหนักในปี 2020 โดยกว่า 8.8% ของชั่วโมงทำงานทั่วโลกลดลงไปอย่างมากในการระบาดของ Covid-19 หรือเกินกว่า 4 เท่าของจำนวนการสูญเสียงานไปในปี 2009 ที่เกิดวิกฤตทางการเงิน ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นเพียงแค่ "ชั่วคราว" เท่านั้น
· ไบเดน-ปูติน พูดคุยกันครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ "ไบเดน" รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่ามกลางความวิตกกังลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของชาวรัสเซีย ที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มผู้ประท้วง
· เชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนีดิ่งลงต่อเนื่อง 4 เดือนก่อนเข้าสู่ ก.พ. อันเนื่องจาก Lockdown ขณะที่ตลาดรอการตัดสินใจของเฟดคืนนี้
สถาบัน Gfk รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีเดือนม.ค.ออกมา -15.6 จุด จากที่ปรับทบทวนขึ้นมาที่ -7.5 จุด ดังนั้น ข้อมูลล่าสุดถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดตั้งแต่มิ.ย. ปีที่แล้ว
· ถ้อยแถลง "สี จิ้นผิง" สะท้อนว่า ไบเดนจะเผชิญความต่างกับจีนอย่างมาก
ณ ที่ประชุมม World Economic Forum นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แสดงความมั่นใจในการเรียกร้องให้บรรดาผู้นำทั่วโลกเสริมสร้างความร่วมมือกับจีน ซึ่งเป็นการกล่าวถ้อยแถลงภายในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่นายโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
แม้ว่านายสี จะกล่าวถึง การเลือกดำเนินการโดยลำพังที่อาจสร้างความล้มเหลว แต่ก็ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นสหรัฐฯ หรือประเทศใดเป็นพิเศษ และดูเหมือนจะเรียกร้องเพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศมากกว่า
ทั้งนี้ ถ้อยแถลงของเขา ไม่อาจเปลี่ยนจุดยืนของสหรัฐฯต่อจีนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้าหรือเทคโนโลยี
ขณะที่หลายฝ่ายทั่วโลกเฝ้าติดตามความสัมพันธ์บทใหม่ระหว่างสหรัฐฯและจีน ภายใต้การบริหารของไบเดน ว่าจะเดินตามรอยนายทรัมป์หรือไม่ สำหรับภาพรวมการบริหารงานของนายไบเดนจะตรงข้ามกับนายทรัมป์โดยสิ้นเชิง โดยจะเริ่มนโยบายกับจีนด้วย "ความอดทน" และเลือกหาแนวร่วมกับประเทศพันธมิตร
· ผลประกอบการบริษัทภาคอุตสาหกรรมจีนขยายตัวได้ในเดือนธ.ค. โดยโตขึ้นต่อเนื่อง 8 เดือน ท่ามกลางการฟื้นตัวของภาคโรงงาน บ่งชี้เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวมั่นคงจากภาคการฟลิตที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว หลัง Covid-19 ลดอัตราระบาดลง
สำนักงานสถิติ NBS ระบุว่า ผลประกอบการภาคบริษัทด้านอุตสาหกรรมปรับขึ้นได้กว่า 20.1% เมื่อเทียบรายปีในเดือนธ.ค. ที่ระดับ 7.0711 แสนล้านหยวน (1.094 แสนล้านเหรียญ) หลังจากที่ปรับขึ้นได้ 15.5% ในเดือนพ.ย.
อย่างไรก็ดี จีนเป็นเพียงประเทศเศรษฐกิจหลักเพียงแห่งเดียวที่สามารถหลีกเลี่ยงสภาวะหดตัวในปี 2020 ได้ โดยพบการผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2.3% ตลอดทั้งปี ขณะที่หลายๆประเทศเผชิญภาวะหดตัวจากการระบาด
ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters ก็คาดการณ์ว่า จีดีพีจีนน่าจะโตได้ 8.4% ในปี 2021 เรียกว่าเร็วที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย "กล่าวเตือน" ว่าการฟื้นตัวในกลุ่มอุปโภคบริโภคอาจชะลอตัวลง และมีโอกาสเห็นการเติบโตทางสินเชื่อชะลอตัว ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเป็นมหาอำนาจของจีน ขณะที่ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจีนปรับลงในเดือนที่แล้ว ถือว่าเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ก.พ. แต่โดยองค์รวมก็ยังเห็นผลกำไรในภาคบริษัทต่างๆฟื้นตัว
· อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นของจีนพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 21 เดือน ขณะที่เหล่านักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางจีนอาจจะเริ่มหันไปใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อยับยั้งการพุ่งขึ้นของราคาหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งทางธนาคารกลางจีนไม่ได้อัดฉีดสภาพคล่องสุทธิเข้าสู่ระบบธนาคารเพื่อรองรับความต้องการเงินสดในช่วงก่อนวันหยุดเทศกาลตรุษจีน โดยได้ระบายสภาพคล่องออกจากระบบ จึงสร้างความเซอร์ไพร์สให้กับเหล่าเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก
โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร พุ่งขึ้นแตะระดับ 2.976% ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2014% จากช่วงเช้า และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 2019
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยประเภท 7 วัน พุ่งขึ้นแตะระดับ 6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. 2018 ที่ผ่านมา
· จีน-อินเดีย มีแนวโน้มจะจัดโครงการฉีดวัคซีนจนถึงสินปี 2022 เพื่อให้ครอบคลุมประชากรภายในประเทศ และประเทศยากจนอีกกว่า 85 แห่ง
· การขนส่งวัคซีนของญี่ปุ่น เผชิญปัญหาการจัดการด้านการขนส่งก่อนกีฬาโอลิปิก
· เจ้าหน้าที่หลายรายในคณะรัฐบาลญี่ปุ่นมองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงโตเกียวและอีกหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
โดยภาวะฉุกเฉินจะส่งผลให้ประชาชนละเว้นจากการออกไปข้างนอกโดยไม่จำเป็นและขอให้ร้านอาหารและบาร์ลดเวลาเปิดทำการ
ทั้งนี้ มาตรการฉุกเฉินจะหมดอายุลงในวันที่ 7 ก.พ.นี้ ซึ่งรัฐบาลอาจจะขยายเวลาการใช้มาตรการฉุกเฉินไปจนถึงสิ้นเดือนก.พ.
· ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน จะจัดลำดับการส่งชิปให้ผู้ผลิตรถยนต์ตามความสำคัญ
นางหวัง เหม่ย ฮวา รัฐมนตรีการกระทรวงเศรษฐศาสตร์ของไต้หวัน เผยว่า ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ 4 รายของไต้หวัน จะจัดลำดับแจกจ่ายชิปให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ตามความสำคัญ ท่ามกลางทั่วโลกที่ขาดแคลนชิปสำหรับผลิตในอุตสาหกรรมอยู่ขณะนี้
อย่างไรก็ตาม นางหวัง เหม่ย ฮวา ได้ระบุเพิ่มเติม การขาดชิปนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
· รัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เรียกร้อง การเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้า เนื่องด้วย "ชาตินิยม" ไม่ใช่ทางที่ควรก้าวผ่าน
· น้ำมันดิบปรับขึ้นจากสต็อกน้ำมันดิบร่วง - ยอดติดเชื้อจีนลดลง
น้ำมันดิบปรับขึ้นในวันนี้หลังจากที่ API เผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงเกินคาดแตะ 5.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่จีนที่เป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่มีรายงานการพบยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายวันลดน้อยลงมากสุด จึงหนุนความหวังเห็นตลาดปรับขึ้นจากอุปสงค์น้ำมัน
น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 19 เซนต์ หรือ +0.3% ที่ระดับ 56.10 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 20 เซนต์ หรือ +0.4% ที่ระดับ 52.81 เหรียญ/บาร์เรล
นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดน้ำมันจาก Vanda Insights กล่าวว่า WTI ปรับตัวขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนหลักจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯของภาคเอกชนที่ออกมาลดลงกว่าที่คาด จึงมาช่วยชดเชยการเพิ่มขึ้นของแก๊สโซลีนและสต็อกน้ำมันดีเซล
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก API เผยให้เห็นว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่รวมน้ำมันดีเซล และน้ำมันปิโตรเลียมปรับขึ้นกว่า 1.4 ล้านบาร์เรล จากที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 361,000 บาร์เรล ขณะที่ปริมาณการกลั่นน้ำมันปรับตัวลดลง 76,000 บาร์เรล/วัน
· คำสั่งด้านภูมิอากาศของนายไบเดน อาจรวมไปถึงการระงับสัญญาเช่าซื้อน้ำมันและก๊าซของรัฐบาลสหรัฐฯ