ทองคำทำต่ำสุดรอบเกือบ 1 สัปดาห์ – SPDR ขายทองอีก 3.21 ตัน
· ราคาทองคำปรับตัวลดลงทำต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ โดยตลาดได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการแข็งค่าของดอลลาร์หลังเฟดยังเลือก “คงดอกเบี้ย”
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.36% ที่ระดับ 1,844.61 เหรียญ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดทำต่ำสุดตั้งแต่ 18 ม.ค.
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ปิดปรับตัวลง 0.6% ที่ระดับ 1,844.90 เหรียญ ขณะที่สัญญาส่งมอบเดือนเม.ย. ปิดร่วง 5.9 เหรียญ ที่ระดับ 1,848.9 เหรียญ
อย่างไรก็ดี สัญญาทองคำส่งมอบเดือนก.พ. ของตลาด Comex จะหมดอายุลงในวันที่ 28 ม.ค. ขณะที่สัญญาถัดไปจะเป็นของเดือนเม.ย.
· SPDR เมื่อวานนี้ทำการขายทองคำออก 3.21 ตัน โดยปัจจุบันถือครองที่ระดับ 1,169.17 ตัน
· ภาพรวมตลาดมองว่า แนวโน้มของมาตรกากระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และไม่คิดว่านายไบเดนจะผลักดันให้ผ่านไปได้โดยง่าย จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมทองคำจึงไม่สามารถกลับเหนือ 1,900 เหรียญได้
· นักวิเคราะห์จาก CMC Markets มองว่า แม้จะมีปัจจัยขาขึ้นจากการที่เฟดเลือกคงท่าทีผ่อนคลายทางการเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯกลับมาอยู่ต่ำกว่า 1% แต่ทองคำก็ยังเคลื่อนไหวในกรอบ
· ราคาซิลเวอร์ปิด -0.4% ที่ 25.35 เหรียญ
· ราคาแพลทินัมปิด -2.3% ที่ 1,072.57 เหรียญ หลังทำต่ำสุดตั้งแต่ 12 ม.ค. ที่ 1,056.70 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปิด -0.9% ที่ 2,304.39 เหรียญ หลังจากที่ทำต่ำสุดตั้งแต่ 21 ธ.ค. บริเวณ 2,292.90 เหรียญ
· เฟดคงดอกเบี้ย-การเข้าซื้อสินทรัพย์ แต่เล็งเห็นเศรษฐกิจชะลอตัว
เฟดยังมีการตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในกรอบ 0-0.25% ตามคาด รวมถึงการคงการเข้าซื้อสินทรัพย์อย่างน้อย 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน ท่ามกลางการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นปานกลางในเดือนที่แล้ว ในขณะที่ภาคส่วนอื่นๆโดยส่วนใหญ่ยังเผชิญผลกระทบจากการระบาดของไวรัส
· นายเจอโรม โพเวลล์ ย้ำว่า “ไม่มีอะไรสำคัญมากไปกว่าเศรษฐกิจและการฉีดวัคซีน”
· ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯออกมาแข็งแกร่ง จากการสนับสนุนของภาคการลงทุน โดยทำให้ภาพรวมมียอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่เติบโตขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ในเดือนธ.ค.
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ไม่รวมภาคการคมนาคมปรับขึ้นเกินคาด 0.7% ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อคงทนโดยรวมเดือนที่แล้วออกมาลดลงแตะ 0.2% จากเดิม 1.0% ในเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาคธุรกิจต่อเครื่องมือต่างๆที่โตขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งอาจมีแนวโน้มช่วยหนุนทิศทางเศรษฐกิจของไตรมาสสุดท้ายในปีที่แล้วได้
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:
ภาพรวมยอดติดเชื้อทั่วโลกสะสมล่าสุดทะลุ 100 ล้านราย แตะ 101.40 ล้านราย โดยยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 578,773 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตรวมสะสมอยู่ที่ระดับ 2.18 ล้านราย
สหรัฐฯมียอดติดเชื้อสะสม 26.16 ล้านราย โดยล่าสุดพบยอดติดเชื้อใหม่ 148,522 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสม 439,449 ราย
สำหรับประเทศบราซิลพบยอดติดเชื้อสะสมใกล้แตะ 9 ล้านราย ทางด้านรัสเซียพุ่งแตะ 3.77 ล้านราย ตามมาด้วยอังกฤษที่มียอดติดเชื้อสะสมรวม 3.71 ล้านราย และล่าสุดฝรั่งเศสยอดติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ 3.10 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย
ทางด้านโปรตุเกสก็วิกฤตโดยยอดติดสะสมใกล้ทะลุ 700,000 รายและทางยอรมนีมีการส่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อไปช่วยเหลือสถานการณ์ในโรงพยาบาลของโปรตุเกสเวลานี้
สถานการณ์ในฝั่งเอเชีย
- ญี่ปุ่นติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ 371,680 ราย และมียอดเสียชีวิตรวม 3,537 ราย
- จีนกลับมาพบยอดติดเชื้อรายวันลดลงจากหลักร้อย ล่าสุดที่ 75 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมที่ 89,272 ราย ขณะที่เกาหลีใต้ติดเชื้อสะสมทะลุ 76,429 รายเป็นที่เรียบร้อย
ภาพรวมประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 819 ราย ยอดป่วยยืนยันสะสม 15,465 ราย รักษาหายอีก 162 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย รวมเสียชีวิต 76 ราย ล่าสุดติดเชื้อแล้วรวม 72 จังหวัด
· รัฐนิวยอร์กเริ่มผ่อนปรนมาตรการเข้มงวด ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯกำลังทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนกับสายพันธุ์ใหม่
· ผลสำรวจชี้ประชาชนสหรัฐฯ กว่า 51% ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่คาดว่าอาจเห็นการได้รับวัคซีนในกลุ่มดังกล่าวเร็วๆนี้
ผลสำรวจจากสำมะโนประชากรสหรัฐฯ พบว่ามีจำนวน 51% หรือประมาณ 226 ล้านคน ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด และแน่นอนว่าจะได้รับวัคซีนโดสแรกเร็วๆ นี้ ขณะที่มีเพียง 26% ที่อาจจะได้รับวัคซีนแล้วในขณะนี้
โดยผลสำรวจล่าสุดได้จัดทำขึ้นในช่วง 6 ม.ค.-18 ม.ค. และได้ผลตอบรับประมาณ 68,348 คน หรือ ประมาณ 8% ของผู้ใหญ่ ระบุว่า ได้รับวัคซีนแล้ว และจากผลสำรวจ พบว่า 9.5% ของผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยระบุเพิ่มเติมว่า ไม่แน่ใจที่จะรับการฉีดวัคซีน และกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงในวัคซีนว่าจะปลอดภัยหรือไม่
· “บอริส จอห์นสัน” นายกฯอังกฤษ มีแผนขยาย Lockdown ต่อจนถึงเดือนมี.ค. และคาดว่าน่าจะเปิดทำการสถานศึกษาและภาครัฐบาลได้ใน 8 มี.ค.นี้
· อียูเรียกร้องให้ AstraZeneca เร่งปลดล็อกการส่งมอบอุปทานด้านวัคซีนให้อียู
· AstraZeneca ค้านการขนส่งไปอียูล่าช้า แต่เป็นผลมาจากมีคำสั่งซื้อหลังประเทศอังกฤษประมาณ 3 เดือน ขณะที่ CEO ของบริษัทพร้อมเปิดกว้างและเจรจากับบอร์ดบริหารด้านวัคซีนของอียู
· “ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซียเตือน ในที่ประชุม WEF ระบุว่า การที่ทุกฝ่ายต่อต้านกันทั้งหมด จะยิ่งสร้างภาวะตึงเครียดให้แก่ทั่วโลกมากกว่าเป็นการแก้ไขปัญหา
พร้อมกล่าวน้ำว่า “ไวรัสโคโรนา” คือ ความท้าทายหลักในเวลานี้ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างรวดเร็ว รวมถึงดเงื่อนไขขั้นต้นต่างๆ
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐฯ ย้ำจุดยืนกลับมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐฯกับนานาประเทศทั่วโลก และมีท่าทีจะร่วมมือกับจีน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและประเด็นต่างๆ แม้จะมีปัญหาทางด้านอุยกูร์ก็ตาม
· สหรัฐฯเผชิญความเสี่ยงจากความรุนแรงภายในประเทศมากขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์จลาจลในอาคารรัฐสภาเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.
· อังกฤษ-ออสเตรเลีย กำหนดเจรจาการค้ารอบใหม่ในเดือนก.พ.
· ยอดผลิตรถยนต์อังกฤษปี 2020 ดิ่งลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 1984 จากวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยผลผลิตรถตกลงไปกว่า 29% เมื่อเทียบปี 2019
· ไอเอ็มเอฟ แนะนำการเพิ่มมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน และการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินแก่เกาหลีใต้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
· ‘เงินบาท ’วันนี้เปิดตลาด ‘อ่อนค่า’ที่ 30.01 บาท/ดอลลาร์
นักบริหารเงินประเมินกรอบเงินบาทระหว่างวัน 29.90-30.10 บาท/ดอลลาร์
ภาพตลาดการเงินคืนที่ผ่านมาอยู่ในโหมดปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) โดยนักลงทุนขายทำกำไรหุ้นทั่วโลกหลังผลประกอบการของบริษัทใหญ่ในสหรัฐไม่สดใสอย่างที่คาดไว้ กดดันดัชนี S&P 500 ให้ปรับตัวลง 2.57% ขณะที่ฝั่งยุโรปก็ยังเผชิญกับความกังวลเรื่องการล็อคดาวน์ที่ยาวนาน กดดันดัชนี STOXX 600 ให้ปรับตัวลง 1.16%
ฝั่งเงินบาทและสกุลเงินเอเชีย แม้ช่วงนี้จะมีแรงกดดันจากตลาดทุนที่ปิดรับความเสี่ยงแต่กลับไม่อ่อนค่ามากอย่างที่เคยกังวล เชื่อว่ามาจากธุรกรรมการค้าที่เบาบางทำให้ตลาดไม่มีทิศทางชัดเจน ขณะที่นักลงทุนส่วนมากก็มีความหวังว่าวัคซีนจะสามารถฟื้นเศรษฐกิจโลกในปีนี้ได้ จึงเลือกที่จะไม่ขายลดสินทรัพย์เสี่ยงลงมากในช่วงนี้