• WGC - สรุปข้อมูลตลาดทองคำจีนปี 2020

    28 มกราคม 2564 | Gold News

ปี 2020: เส้นทางที่ไม่สดใสของเศรษฐกิจจี

เศรษฐกิจจีนปี 2020 ได้รับผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรกจากการระบาดอขงไวรัสโคโรนา และทำให้จีดีพีไตรมาสดังกล่าวร่วงลงหนักมากสุดเมื่อเทียบรายปีในรอบ 29 ปี แต่การใช้มาตรการที่เข้มงวดในการสกัดกั้นการระบาดของจีนก็ดูจะส่งผลให้จำนวนการระบาดภายในประเทศนั้นปรับตัวลดลง และทำให้เห็นเศรษฐกิจจีนสามารถพลิกกับมาฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 2

ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว เมื่อเทียบรายปี จีนมีทิศทางเศรษฐกิจที่โตได้ 6.5% สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า และส่งผล่ให้การอุปโภคบริโภคทองคำภายในประเทศฟื้นตัว

เศรษฐกิจจีนถูกคาดว่าจะยังโตได้อย่างมีเสถียรภาพปี 2021 และในการประชุมประจำปี Central Economic Work Conference เมื่อช่วงปลายเดือนธ.ค. ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมาขับเคลื่อนทิศทางตลาดต่อในปีนี้ จึงมีโอกาสหนุนให้เกิดความต้องการทองคำในกลุ่มค้าปลีกจีนเพิ่มขึ้น


ราคาทองคำท้องถิ่นจีนปี 2020 ปรับขึ้น ขณะที่ราคาซื้อขายในตลาดอ่อนตัวลง

ราคาทองคำในหน่วยของค่าเงินหยวนดีที่สุดในปี 2020

ราคาทองคำตลาดโลกแม้จะเห็นการรีบาวน์ได้ในเดือนธ.ค. แม้จะอ่อนตัวในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึงยอดติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ประกอบกับข่าวการพบสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดทั่วโลกและทำให้นักลงทุนทั่วโลก “ลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง” จึงยิ่งสนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการที่สหรัฐฯอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายล้านล้านเหรียญ และการที่เฟดยังมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินต่อจึงช่วยหนุนทิศทางราคาให้ดีขึ้น

เดือนธ.ค. ราคาทองคำในหน่วยค่าเงินหยวน (RMB) ปรับขึ้นได้ 6.2%
ราคาทองคำในตลาด LBMA (USD) ปรับขึ้นได้ประมาณ 6.7%

นอกจากนี้ ทองคำในรูปค่าเงินหยวนปีที่แล้วยังปรบขึ้นได้มากถึง 14.6% ขณะที่ราคาทองคำในหน่วยดอลลาร์ปรับขึ้น 24.2%


การเติบโตที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ “ตลาดหุ้นทั่วโลกแข็งแกร่ง” ขณะที่ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง” ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น


ภาพรวมการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในหน่วยเงินหยวนและดอลลาร์มีการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กัน

ความต้องการทองคำปรับตัวขึ้นได้ก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่คาดว่าราคาทองคำในจีนน่าจะถูกลงและเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆตั้งแต่เดือนธ.ค. ของปีที่แล้ว


อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำในรูปเงินหยวนและอุปสงค์ทองคำถิ่น และเงื่อนไขของอุปทาน ยังเป็นไปในทิศทางเชิงบวก


ความต้องการทองคำในกลุ่มค้าปลีกของจีนฟื้นตัว

ขณะที่ปริมาณการถอนทองคำออกจากตลาด SGE จะเห็นได้ว่า ทองคำ AU9999 มีปริมาณการซื้อขายในตลาดช่วงเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้นจาก 27% มาเป็น 30% เมื่อเทียบรายเดือน และจะเห็นถึงความต้องการทองคำที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงตรุษจีน ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนก.พ. ปี 2021 นี้

ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตทองคำในจีนก็เตรียมพร้อมที่จะปรับขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการทองคำแท่งจากกลุ่มค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา


ถึงแม้จะมีการรีบาวน์ของปริมาณการซื้อขายในตลาดทองคำสำหรับทอง AU9999 และมีการถือนทองคำออกจาก SGE ข้อมูลก็ยังสะท้อนว่า ความต้องการของค้าปลีกโดยรวมในปี 2020 ยังน้อยกว่าของปี 2019 ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอเพราะได้รับผลกระทบจาก Coivd-19 และการที่ราคาทองคำมีการปรับขึ้นอย่างมากในปี 2020 สูงกว่าปี 2019 ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยจำกัดความต้องการทองคำเช่นกัน


เสิ่นเจิ้น ถือเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับทองคำจีน ก็จะเห็นได้ถึงกลุ่มผู้ผลิตต่างๆที่แสดงความหวังว่าจะเห็นทิศทางของทองคำอยู่ในเชิงบวกมากขึ้นสำหรับปี 2021 จากปัจจัยสำคัญหลักคือการเติบโตที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ

ค่าเฉลี่ยปริมาณการซื้อขายทองคำรายเดือนในตลาดทองคำจีนจะเห็นได้ว่าในปี 2020 มีการปรับขึ้นได้มากที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเก็บข้อมูลในปี 2004 โดยภาพรวมทองคำถูกต้องการในฐานะ Safe-Haven


ความต้องการทองคำในตลาด ETF จีนยังเพิ่มขึ้น

กองทุนทองคำ ETFs ของจีนมีการเทขายออกไปประมาณ 3.5 ตันในเดือนธ.ค.


ท่ามกลางความแข็งแกร่งของตลาดหุ้น ประกอบกับการแข็งค่าของค่าเงินหยวน ที่หนุนให้นักลงทุนจีนเลือกถือครองสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่าในเดือนธ.ค. จึงกดดันให้เกิดแรงเทขายทองคำออกจาก ETFs

แต่โดยรวมกองทุน ETF ของจีนมีการถือครองทองคำในช่วงสิ้นปี 2020 อยู่ที่ 60.9 ตัน ซึ่งเป็นระดับการถือครองที่สูงขึ้น 16.1 ตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือปรับขึ้นกว่า 38% เมื่อเทียบกับปี 2019


อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเงิน ได้ส่งผลให้เกิดการสำรองทองคำเพิ่ม รวมไปถึงสาเหตุจากปัญหาการระบาดของวิกฤตไวรัสโคโรนา ที่ทำให้ทิศทงทองคำยังคงแข งแก่รง และทำให้โดยรวมของปี 2020 มีเม็ดเงินไหลสู่กองทุนทองคำ ETFs ของจีนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2020

ที่มา: WGC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com