• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564

    4 กุมภาพันธ์ 2564 | Gold News


ทองคำและซิลเวอร์ปิดแดนบวก รีบาวน์กลับหลังปรับตัวลง

สัญญาทองคำและสัญญาซิลเวอร์ปิดปรับขึ้นในแดนบวกหลังจากที่อ่อนตัวลงในช่วงต้นตลาด ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังเป็นปัจจัย “จำกัด” การปรับขึ้นของราคาสินทรัพย์โลหะมีค่า

สัญญาทองคำส่งมอบเดือนเม.ย. ปิด +1.70 เหรียญ หรือราวๆ 0.1ที่ระดับ 1,835.10 เหรียญ

สัญญาซิลเวอร์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +49 เซนต์ หรือ +1.8% ที่ 26.889 เหรียญ

·         นักวิเคราะห์จาก FXTM กล่าวว่า ตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำอ่อนตัวลงจากระดับ 1,850 เหรียญ ขณะที่ข้อมูลจ้างงานเอกชนสหรัฐฯที่ออกมาดีขึ้นเกิดขึ้นควบคู่กับความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จึงคาดว่าราคาทองคำจะยังเคลื่อนไหวในกรอบโดยมีแนวรับแรก 1,820 เหรียญ และแนวต้านสำคัญ 1,875 เหรียญ

 

·         กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,157.5 ตัน

 

·         MarketWatch ชี้ ทองคำเกิดสภาวะ ‘Death Cross’

กลุ่มนักวิเคราะห์ทางเทคนิคหลายราย มองว่า การเคลื่อนไหวของสัญญาทองคำดูจะเกิดภาวะ Death Cross ในกราฟราคาจึงอาจตอกย้ำสภาวะ “ขาลง” ในตลาดทองคำได้



โดยภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 50 วัน ที่ใช้วัดแนวโน้มระยะสั้นตัดตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วัน ที่ใช้วัดแนวโน้มระยะยาว จึงคาดว่าระยะสั้นๆทองคำอาจเผชิญแรงเทขายที่อาจฉุดให้ภาพระยะยาวกลับมาเป็นขาลงได้

บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 50 วันของทองคำจะอยู่ที่ระดับ 1,857.08 เหรียญ ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 200 วันอยู่บริเวณ 1,853.27 เหรียญ (ตามกราฟประกอบ)

ความเป็นไปได้ของการเกิดสภาวะ Death Cross คือการสะท้อนถึงภาวะการปรับตัวลงในระดับการซื้อขายของทองคำ



สำหรับภาพขาขึ้นของทองคำยังจับตาไปยังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดน วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ สำหรับแพ็คเกจไวรัสโคโรนาที่มีความเป็นไปได้ของการสนับสนุนทองคำ ยกเว้นว่าผู้นำพรรคเดโมแครตจะประนีประนอมลดวงเงินตามข้อเสนอของทางรีพับลิกัน

อย่างไรก็ดี หากมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล ควบคู่กับการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟด ทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาช่วยสนับสนุนราคาทองคำในตลาด


·         บรรดาผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำ ระบุว่า ความพยายามผลักดันการฉีดวัคซีนในเวลานี้ ดูจะช่วยหนุนทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแนวโน้มความต้องการทองคำได้

 

·         นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกจาก The Economic Intelligence Unit กล่าวว่า ทองคำอาจปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3/2021 โดยน่าจะมีค่าเฉลี่ยที่ 1,775 เหรียญ โดยได้รับแรงกดดันจากการรีบาวน์ของจีดีพี และไตรมาสที่ 4/2021 น่าจะปิดปีเฉลี่ยราวๆ 1,750 เหรียญ

 

·         เดโมแครตเดินหน้าผลักดันมาตรการ Covid-19 ด้าน “ไบเดน” ยืดหยุ่นสำหรับกรณีผู้ได้รับเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ นายไบเดน มีการกล่าวกับสมาชิกพรรคเดโมแครตว่า เขาอาจพิจารณาจำกัดวงเงินของผู้ได้รับเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ 1,400 เหรียญให้เป็นไปอย่างเหมาะสม แต่เขาก็อาจไม่ประนีประนอมต่อวงเงินการจ่ายเงินช่วยเหลือ แต่สัญญาณดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นช่องว่างลดลงระหว่างแพ็คเกจนายไบเดนกับข้อเสนอ 6 แสนล้านเหรียญของพรรครีพับลิกัน

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯมีการอนุมัติแผนงบประมาณของนายไบเดนไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ที่จะเป็นการอนุญาตให้สามารถผ่านแพ็คเกจร่างกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบรีพับลิกัน ขณะที่ทางวุฒิสภายังไม่ได้โหวตร่างดังกล่าว

 

·         นายชัคส์ ชูมเมอร์ส ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาสหรัฐฯ กล่าวหลังเข้าพบกับนายไบเดน โดยระบุว่า พรรคเดโมแครตไม่อาจปรับลดวงเงินแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่รีพับลิกันเสนอได้

 

·         นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้เกิด “การกระตุ้นเศรษฐกิจในเวลานี้ ด้วยวเงินจำนวนมาก”  โดยเธอกล่าวให้การสนับสนุนการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ ที่ประกอบด้วยการช่วยเหลือมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น 3.5 แสนล้านเหรียญ

เนื่องจากหากมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นประสบกับความล้มเหลวในการเตรียมการด้านต่างๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในยุควิกฤตเศรษฐกิจถดถอยครั้งที่แล้ว ผลที่ตามมาจะทำให้เกิดการปรับลดด้านโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา ยิ่งจะส่งผลให้ตลาดแรงงานอ่อนแอ และเศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้  “สิ่งที่ดีที่สุดในเวลานี้คือเร่งดำเนินการ และต้องเป็นการดำเนินการขนานใหญ่ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในระยะยาว”

 

·         นายเจฟฟรี ประธานผู้นำพรรคการเดโมแครต เผย “ไบเดน” เรียกร้องให้เร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกล่าวย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องจ่ายเงินโดยตรงผ่านเช็ค 1,400 เหรียญ ให้แก่ชาวอเมริกาให้ได้ในทุกๆวัน หลังจากที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 600 เหรียญในช่วงก่อนหน้า

 

·         “เบอร์นสเตน” ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของไบเดน กล่าวปกป้องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดนวงเงิน 1.9  ล้านล้านเหรียญ ที่ฝั่งรีพับลิกันไม่เห็นชอบ  พร้อมให้การสนับสนุนให้เกิดการผลักดันร่างงบประมาณโดยไม่ต้องผ่านมติเห็นชอบจากทางพรรครีพับลิกัน

 

·         “นายชาร์ล อีวานส์” ประธานเฟดสาขาชิคาโก หนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเพิ่มวงเงินดูจะเป็นกีดกว่าการใช้วงเงินขนาดเล็กที่อาจทำให้เศรษฐกิจโตได้ช้าลง

นอกจากนี้ เขายังเล็งเห็น “เงินเฟ้อมีโอกาสฟื้นตัวแต่นโยบายการเงินของเฟดก็จะยังเดินหน้าต่อไปเช่นกัน”

 

·         “นางลอเรตต้า เมสเตอร์” ประธานเฟดสาขาเคียฟแลนด์ กล่าวว่า การเพิ่มมาตรการช่วยเหลือทางการเงินอาจมีความจำเป็นในระยะสั้นเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ฝ่าวิกฤต Covid-19 ขณะที่การใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินจะเป็นตัวสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

 

·         “นายเจมส์ บุลลาร์ด” ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯโตได้แข็งแกร่ง ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดที่จะคลี่คลายในปี 2021  ซึ่งจะเห็นวิกฤตทางด้านสุขภาพเริ่มอ่อนตัวลงไปตั้งแต่เดือนหน้านี้

 

อย่างไรก็ดี สำหรับประเด็นเรื่องการปั่นหุ้น GameStop เขาคิดว่าไม่น่ามีความเสี่ยงต่อตลาดซื้อขาย

 

 

·         ผลสำรวจส่วนใหญ่ชี้ ประชาชนสหรัฐฯกว่า 2 ใน 3 พึงพอใจต่อแผนของนายไบเดนในการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ

 

·         ผลสำรวจของเฟด ชี้ว่า ธุรกิจที่ถือหุ้นส่วนน้อยประสบปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา.

 

·         UBS เผย มาตรการกระตุ้นเศรษบกิจสหรัฐฯในการเพิ่มงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจด้านการผลิตของเม็กซิโกในระยะสั้นได้

 

·         การจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯภาคเอกชนประจำเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่ง

หนึ่งเดือนหลังจากรายงานการปรับตัวลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ภาพการจ้างงานกลับมาฟื้นตัวขึ้นในเดือนม.ค.เนื่องจาก บริษัทต่างๆเพิ่มงานใหม่ 174,000 ตำแหน่ง

 

โดยปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 50,000 ตำแหน่ง

ด้านรองประธานและหัวหน้าร่วมของสถาบันวิจัย ADP กล่าวว่า ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าท่ามกลางแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

 

·         ภาพรวมทั่วโลกมียอดติดเชื้อสะสมที่ 104.86 ล้านราย ล่าสุดพบยอดติดเชื้อทั่วโลกรายวันวานนี้เพิ่มขึ้นกว่า 468,126 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตรวมสะสมอยู่ที่ระดับ 2.27 ล้านราย

 



สหรัฐฯครองแชมป์ติดเชื้อสูงสุดล่าสุดสะสมที่ 27.14 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตทะลุ 461,504 ราย

 

·         สถานการณ์ในฝั่งเอเชีย

- ญี่ปุ่นติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ 393,836 ราย และมียอดเสียชีวิตรวม 5,912 ราย

- จีนมียอดติดเชื้อรวมสะสมที่ 89,619 ราย ขณะที่เกาหลีใต้ติดเชื้อสะสม 79,311 รายเป็นที่เรียบร้อย

-พม่ามียอดติดเชื้อรวมสะสมที่ 140,927 ราย โดยยอดติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 263 ราย หลังจากที่ไม่มีมาหลายวัน


ภาพรวมประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่รายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดของวานนี้ยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้น 795 ราย ทั้งนี้มียอดติดเชื้อสะสมที่ 21,249 ราย  แต่ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่มคงที่ 79 ราย




 

·         สถานการณ์การฉีดวัคซีนทั่วโลกในเวลานี้เพิ่มขึ้นแตะ 108 ล้านโดสใน 67 ประเทศทั่วดลก

อ้างอิงข้อมูลจาก Bloomberg เผยให้เห็นว่าภาพรวมทั่วโลกสามารถฉีดวัคซีนเฉลี่ยรายวันได้มากถึง 4.25 ล้านโดส และอาจใช้เวลากว่า 7.4 ปีในเพื่อให้ครอบคลุม 75ของประชากรทั่วโลกในการได้รับวัคซีนโดสที่ 2



ในประเทศสหรัฐฯ ณ ขณะนี้ พบว่ามีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อยคนละ 1 โดสมีจำนวนมากกว่าการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศนับตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้นฉีดวัคซีน โดยล่าสุดสหรัฐฯมียอดรวมการฉีดวัคซีนที่ 35 ล้านโดส เฉลี่ยฉีดวัคซีนได้วันละ 1.34 ล้านคน

การฉีดวัคซีนทั่วสหรัฐฯ พบว่า อลาสก้าเป็นรัฐที่มีจำนวนการฉีดวัคซีนนำหน้ารัฐอื่นๆ คิดเป็น 17.8 โดสต่อ 100 คน


การแข่งขันยุติการระบาดของไวรัส พบว่า อิสราเอลเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนได้นำหน้าประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยคิดเป็น 57.0 โดส ต่อ 100 คน


 

·         วัคซีน AstraZeneca สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ดี จึงควรชะลอเวลาในการฉีดเข็มที่สอง

อังกฤษตัดสินใจชะลอการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หลังจากพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ตามรายงานผลการวิจัยครั้งใหม่ โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford พบว่าวัคซีนป้องกันโควิดมีประสิทธิภาพถึง 76% ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดในระยะเวลาสามเดือนหลังจากฉีดไปแล้วหนึ่งเข็ม และอัตราการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้นระหว่างการให้ยาครั้งแรกและครั้งที่สอง

 

·         อดีตนายกรัฐมนตรี ยินดีอย่างยิ่ง ที่ ดรากี้” ตอบรับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลชุดใหม่

นายมัตเตโอ เรนซี่ อดีตนายกรัฐมนตรีของอิตาลี เชื่อว่า ประเทศจะอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากนายดรากี อดีตประธานอีซีบี ยอมรับเป็นผู้นำรัฐบาลชุดใหม่

โดยหลังจากการประชุมกับนายแซร์จิโอ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ในวันพุธที่ผ่านมา นายดรากี้ ตกลงที่จะพยายามจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติและแก้ปัญหาทางการเมืองที่สร้างความเดือดร้อนให้กับอิตาลีมาประมาณหนึ่งเดือน

 

·         นายมาริโอ ดรากี้ อดีตประธานอีซีบี ยอมรับข้อเสนอจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในอิตาลี

ทั้งนี้นายดรากี้ เป็นผู้มีชื่อเสียง ในการกอบกู้วิกฤตทางการเงินและหนี้สาธารณะของอิตาลีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นายดรากี้ ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาลคนใหม่ของอิตาลี เพื่อหวังกอบกู้วิกฤตทางเศรษฐกิจของอิตาลีท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด

โดยนายดรากี ได้เข้าพบกับนาย แซร์จิโอ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี ในวันพุธที่ผ่านมา โดยในขณะหารือ  นาย แซร์จิโอ มัตตาเรลลา เรียกร้องให้ นายดรากี จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่และแก้ไขวิกฤตทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ที่กรุงโรมในช่วงเดือนที่ผ่านมา


·         รายงานล่าสุดจาก Reuters พบว่า อังกฤษและอียูจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาทไอร์แลนด์

 

·         สหรัฐฯมีการขยายข้อตกลงการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์กับรัสเซีย



·         นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 29.90-30.10 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดโลก ส่วนมติ กนง.เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้บาทแข็งค่า มาที่ 30.02 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะอ่อนค่าไปตามภูมิภาค

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในเดือนก.พ. 64 คงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 64 ไว้ตามเดิมโดยมองว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% และคาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 3.0-5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าอยู่ในกรอบ 0.8-1.0%

- ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) มองการบริโภคเอกชนปี 64 โตแบบประคองตัว ด้วยมีปัจจัยแรงฉุดจากการบริการและท่องเที่ยว แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ระดับความรุนแรงน้อยกว่าปี 63 แต่ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว และมีแนวโน้มกลับสู่โหมดชะลอตัวอีกครั้งในปี 64 โดยเฉพาะเริ่มเห็นเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในเดือนธันวาคมที่โตแผ่วลง

- รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยพร้อมจะเยียวยาจ่ายเงินในรูปแบบเดียวกับโครงการ "เราชนะ" ซึ่งจะอยู่ภายใต้ชื่อโครงการ "ม.33 เรารักกัน"


·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ

- กนง. จับตา 4 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจระยะถัดไปขึ้นกับ การกระจายวัคซีน-นักท่องเที่ยวต่างชาติ-แรงสนับสนุนจากภาครัฐที่พอเพียงและต่อเนื่อง-ผลกระทบการจ้างงาน

โดยระยะถัดไปขึ้นกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะกลับมาน้อยกว่าที่คาดไว้เดิม ยังมีเรื่องประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 แรงสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอและต่อเนื่อง และตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากขึ้น จะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

1. ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่เปราะบางมากขึ้นในบางจุด จากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจเอสเอ็มอี

2. สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564

3. สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูง และต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวของสภาพคล่องยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง

4. ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลของภูมิภาค โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าควรติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com