ตลอดช่วงไม่กี่วันมานี้จะเห็นได้ถึงราคาซิลเวอร์ที่พุ่งขึ้นแรงจากการแห่เข้าซื้อของกลุ่มนักลงทุนรายย่อย ขณะที่สภาวะในตลาดทองก็ค่อนข้างเงียบเหงา แม้ว่าจะยังคงมีความน่าสนใจต่อในปี 2021 นี้
ยังมีอีกหลายกรณีที่จะเห็นราคาทองคำปรับขึ้นได้ แม้ที่ไม่สามารถขึ้นต่อหลังฟื้นตัวแข็งแกร่งในปี 2020 ที่ขึ้นไปทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,072.49 เหรียญ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. และ นับตั้งแต่วันนั้นถึง ณ ปัจจุบัน (3 ก.พ.) จะเห็นได้ว่าทองคำลงมาแล้วประมาณ 11.5% ที่ระดับ 1,833.55 เหรียญ
ทั้งนี้ ในปี 2020 ทองคำสามารถปรับขึ้นได้ประมาณ 25% และมีแนวโน้มเชิงบวก ขณะที่หลายๆฝ่ายยังเชื่อว่าทองคำน่าจะขึ้นได้ต่อไปบริเวณระดับสำคัญทางจิตวิทยา 2,000 เหรียญ
นับตั้งแต่ที่ราคาทองคำมีการทำ All-Time High ก็เห็นได้ถึง “การค่อยๆปรับตัวลดลง” โดยเฉพาะจากการที่นายทรัมป์ไม่สามารถคว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯได้
ปัจจัยบวกต่อทองคำ
หลายๆนักวิเคราะห์ให้ความสนใจไปในเรื่องของ
- อัตราดอกเบี้ย
- คาดการณ์การใช้นโยบายการเงิน
- แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์
รายงานจาก WGC สะท้อนว่า ผลจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะกดดันให้ความต้องการทองคำในปีที่แล้ว ทั้งในหมวดจิลเวลรีก็ร่วงลงไป 34% แตะ 1,411.6 ตัน จากเดิมที่ระดับ 2,122.7 ตันในปี 2019
ขณะที่ความต้องการทองคำในด้านเทคโนโลยี ปรับตัวลง 7% แตะ 301.9 ตัน แต่ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3% ที่ระดับ 896.1 ตัน
ปัจจัยลบต่อทองคำ คือ “การลดความต้องการถือครองของธนาคารกลาง” ควบคู่กับความต้องการเข้าซื้อ และการลงทุนในสินค้าประเภททอง่คำที่โดยรวมแล้วลดลงไป 59% ในปี 2020 ที่บริเวณ 272.9 ตัน จาก 688.5 ตันในปี 2019
แต่ “ความท้าทายต่างๆ” ส่งผลให้เกิดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจะมีความต้องการทองคำในปี 2021 เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจาก “จีน” และ “อินเดีย”
สำหรับปี 2020
ความต้องการทองคำในรูปจิลเวลรี
“จีน” ลดลงไป 35% แตะ 415.6 ตัน ในปี 2020
“อินเดีย” ลดลง 42% ที่ 315.9 ตัน
ทั้งนี้ การปรับตัวลงที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจนัก เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้เกิดการตัดสินใจ “LOCKDOWN” และทำให้เกิดผลเสียต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็จะเริ่มเห็นได้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวและการระบาดที่ค่อยๆบรรเทาลงไป
ความต้องการทองคำจิลเวลรีใน Q4/2020
“จีน” มีความต้องการที่ 145.1 ตัน ซึ่งเป็นระดับความต้องการที่เพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วง Q4/2019 และยังเพิ่มขึ้นได้มากถึง 22.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
“อินเดีย” มีความต้องการที่ 137.3 ตัน ซึ่งเป็นระดับความต้องการที่เพิ่มมากสุดเช่นกัน นับตั้งแต่ช่วง Q4/2019 และโดยรวมเพิ่มขึ้นมากถึง 125.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
กรณีที่จะเห็นแนวโน้มความต้องการทองปี 2021 เป็น “ขาขึ้น” มีดังนี้
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
- ความต้องการของกองทุน ETF
- การเข้าซื้อทองคำเพิ่มของธนาคารกลาง
ที่มา: Reuters