· ตลาดฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดสัปดาห์ด้วยการปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
โดยดัชนี Dow Jones futures ลดลง 39 จุด ดัชนี S&P 500 futures และดัชนี Nasdaq 100 futures ปรับตัวลงประมาณ 0.19% และ 0.14% ตามลำดับ
· ตลาดหุ้นเอเชียทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาอย่างผสมผสานทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนหลังจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกผลักดันให้ธุรกิจจำนวนมากพุ่งสูงขึ้น
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.05% หลังจากปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่หุ้นออสเตรเลียลดลง 0.63% หุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.2% โดยปรับลงจากระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี
ดัชนี S&P 500 Futures ลดลง 0.12% และดัชนี DAX futures ลดลง 0.14% รวมทั้งดัชนี FTSE futures ลดลง 0.13% ด้านดัชนี Euro Stoxx 50 futures เพิ่มขึ้น 0.03%
ทั้งนี้ ตลาดในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะปิดทำการเนื่องจากวันตรุษจีน ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมถึงตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ของจีนปิดทำการจนถึงวันที่ 17 ก.พ.นี้
· นักวิเเคราะห์จาก DailyFX ระบุว่า ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงในช่วงการซื้อขายตลาดเอเชียเนื่องจากปริมาณการซื้อขายที่เบาบางในวันหยุดตรุษจีนทำให้ดัชนี ASX 200 ของออสเตรเลียลดลง 0.63% ขณะที่รัฐวิกตอเรียซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศสหรัฐฯเข้าสู่การ Lockdown ในวันที่ 5 เนื่องจากการระบาดของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ด้านดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นลดลง 0.28%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวสยามรัฐ
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์ถัดไป (15-19 ก.พ.)ที่ 29.80-30.20 บาท/ดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/63 และปัจจัยทางการเมืองของไทย สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก และประเด็นเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามบันทึกการประชุมเฟด (เมื่อ 26-27 ม.ค.) จีดีพีไตรมาส 4/63 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนก.พ.ของสหรัฐฯ ยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน
สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับทิศทางของหลายสกุลเงินในเอเชียและแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงโดยมีแรงหนุนจากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องของประธานเฟด ขณะที่การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และข้อมูลที่สะท้อนว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯด้วยเช่นกัน โดยในวันพฤหัสบดี (11 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.87 บาท/ดอลลาร์ฯ
· อ้างอิงจากสำนักข่าว thestandard
- เงินฝากพุ่งสูง ฉุดแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
วิกฤตโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในระบบการเงินการธนาคาร มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญหนึ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการบริโภคในประเทศและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- 'อินทัช' เปิดแผนลงทุน 5ปี หนุน 'สตาร์ทอัพไทย' ให้ถึงฝัน
การลงทุนในสตาร์ทอัพไทยยังเป็นโอกาสที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดมือ และสตาร์ทอัพไทยยังคงความเซ็กส์ซี่อยู่
แม้ใครหลายคนปรามาสว่า “สตาร์ทอัพ (ไทย) ” ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน แต่ในสายตาของ อินเว้นท์ ภายใต้การบริหารของกลุ่มอินทัช โฮลดิ้งส์ กลับยังมองว่า การลงทุนในสตาร์ทอัพไทยยังเป็นโอกาสที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดมือ และสตาร์ทอัพไทยยังคงความเซ็กส์ซี่อยู่
เห็นได้จากวิสัยทัศน์ที่ประกาศออกมาล่าสุดในปีนี้ ที่พร้อมจะดันธุรกิจให้เติบโตในด้านดิจิทัล 5จี ธุรกิจเกิดใหม่ และการลงทุนของอินทัชจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน และสร้างการเติบโตให้กับระบบนิเวศ การพัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี 5จีมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของบริษัทในกลุ่มอินทัช
- วิเคราะห์สถานการณ์ของไทยโดย "หมอธีระ" ลั่นไทยยังไม่ปลอดภัยยังยืนยันว่าการระบาดยังมีอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตรลดละเลี่ยงการกินดื่มในร้าน ซื้อกลับจะดีที่สุดลดละเลี่ยงการตะลอนท่องเที่ยว เดินทาง พบปะสังสรรค์กันเป็นกลุ่มและคอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบายคล้ายหวัด ควรรีบไปตรวจรักษา เพราะอาจเป็นโควิดได้