ตลาดสหรัฐฯปิดทำการ - ทองคำยังเผชิญแรงกดดัน
แม้ว่าตลาดสหรัฐฯจะปิดทำการเมื่อคืนนี้เนื่องในวันหยุด President Day ของสหรัฐฯ แต่ตลาดก็ยังมีแรงซื้อขายจากตลาดอิเล็กทรอนิกส์จนถึงเวลาประมาณตี 1 (ตามเวลาไทย)
- แนวโน้มของตลาดทองคำยังไม่เปลี่ยนแปลง
- ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทำ New Highs อีกครั้ง
- น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นต่อ
- ตลาดพันธบัตรเผชิญแรงกดดัน
· รายงานจาก Kitco ระบุว่า ทองคำยังอยู่ภายใต้แรงกดดันต่อ ต่างจากการเคลื่อนไหวของราคาซิลเวอร์ด้วย ขณะที่ราคาแพลทินัมยังคงปรับขึ้นจากความต้องการทั่วโลก โดยมีการซื้อขายเหนือระดับ 1,300 เหรียญได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 7 ปี
ทั้งนี้ แนวโน้มของราคาทองคำค่อนข้างชัดเจนว่ามีการเคลื่อนไหวในลักษณะขาลง และค่อนข้างอันตลาด ขณะที่แนวโน้มของราคาซิลเวอร์และแพลทินัมยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น
ระดับสำคัญทางเทคนิคที่ต้องจับตาเวลานี้คือ “1,800 เหรียญ” เพราะหากปิดต่ำลงมามีโอกาสกลับลงไปบริเวณ 1,750 เหรียญ และ 1,700 เหรียญ
สำหรับราคาซิลเวอร์หากยืนได้เหนือ 30 เหรียญอีกครั้ง ก็มีโอกาสขึ้นได้ต่อ
ด้านภาพรวมราคาแพลทินัมมีโอกาสขึ้นต่อไปแถว 1,400 เหรียญในช่วงประมาณเดือนเม.ย.
· Ratio ระหว่าง Gold/Silver ยังปรับลงต่อ ปัจจุบันอยู่แถวระดับ 65
· ปัจจัยที่กดดันตลาดทองคำและตลาดพันธบัตรเวลานี้คือ เฟดยังส่งสัญญาณว่าแรงกดดันเงินเฟ้อไม่ขยับเพิ่ม
· Morgan Stanley คาดทองคำมีโอกาสหลุด 1,800 เหรียญในช่วงสิ้นปีนี้
ความเชื่อมั่น “ขาลง” กลับเข้ามาในตลาดทองคำอีกครั้ง และขณะนี้ทองคำมีการเคลื่อนไหวในกรอบใหม่ที่กว้างประมาณ 50 เหรียญ
ดังนั้น Morgan Stanley จึงคาดว่า ภาวะความเชื่อมั่นขาลงที่เกิดขึ้นมีโอกาสกดดันให้ทองคำหลุดต่ำกว่า 1,800 เหรียญได้ในช่วงประมาณสิ้นปีนี้ โดยที่ทองคำจะมีกรอบการซื้อขายที่แนวต้านบริเวณ 1,850 เหรียญ และแนวรับ 1,800 เหรียญ
หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า รายงานต่างๆล่าสุด สะท้อนว่า แม้เงินเฟ้อจะขยับขึ้นได้ในปี 2021 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนราคาทองคำปีนี้มากนัก
· FXStreet คาดการณ์ราคาทองคำ “ขาลง” มีความผันผวนบริเวณ 1,810 เหรียญ
นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ราคาทองคำมีการปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงเริมต้นสัปดาห์นี้ แม้จะมีกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นว่าจะเห็นการเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางสหรัฐฯ โดยที่กราฟราย 4 ชม. ยังเห็นถึงโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงได้มากกว่าขึ้น
สัญญาณทาเทคนิคในเวลานี้ของทองคำก็เป็นขาลง หลังจากที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเส้น Simple Moving Average (SMA) ราย 50, 100 และ 200
แนวรับสำคัญของทองคำคือต่ำสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วบริเวณ 1,810 เหรียญ ซึ่งหากหลุดลงมามีโอกาสกลับทดสอบต่ำสุดเดือนนี้ที่ 1,785 เหรียญ ขณะที่แนวต้านด้านบนที่เป็นสูงสุดรายวันอยู่ที่ 1,820 เหรียญ และ 1,855 เหรียญตามลำดับ
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา
ภาพรวมยอดติดเชื้อทั่วโลกสะสมที่ 109.66 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตรวมสะสมอยู่ที่ระดับ 2.41 ล้านราย
สหรัฐฯมียอดติดเชื้อสะสม 28.31 ล้านราย โดยล่าสุดพบยอดติดเชื้อใหม่ 51,387 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสม 498,197ราย
สถานการณ์โคโรนาในไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่ม 143 ราย ยอดติดเชื้อสะสม 24,714 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตสะสม 82 ราย
ไทยเฝ้าระวังเข้ม 3 สายพันธุ์ไวรัสก่อ Covid-19 กลายพันธุ์ สธ.เตรียมเพิ่มวันกักตัวคนเข้าไทยตั้งต้นจากทวีปแอฟริกาใต้ เป็น 21 วัน ย้ำยังไม่กระทบแนวทางการรักษา แต่อาจส่งผลต่อวัคซีน
· WHO อนุมัติใช้วัคซีน Covid-19 ของบริษัท AstraZeneca -Oxford เป็นกรณีฉุกเฉิน
· เม็กซิโกประกาศเริ่มฉีดวัควีนในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว
· เกาหลีใต้บรรลุข้อตกลงการซื้อวัคซีน Covid-19 เพิ่มสำหรับประชาชน 23 ล้านคน
· ผู้อำนวยการด้านเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของอังกฤษ เผยว่า “สายพันธุ์ใหม่หลายตัวของไวรัสโคโรนา” อาจลดประสิทธิภาพวัคซีน
· “นายบอริส จอห์นสัน” นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังคงมีความระมัดระวังต่อสถานการณ์ และยังไม่ถอน Lockdown ในสัปดาห์นี้ แม้จะมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว 15 ล้านคน
· ว่าที่ผู้อำนวยการ WTO คนใหม่ กล่าวเตือนว่า “วัคซีนแบบชาตินิยม” อาจส่งผลให้ความคืบหน้าในการยุติการระบาดของ Covid-19 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้าในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศร่ำรวยหรือยากจน
ดังนั้น สมาชิกของ WTO ทุกฝ่ายจึงควรเพิ่มความพยายามในการถอนมาตรการจำกัดด้านการส่งออกอย่างช้าๆ จากความจำเป็นทางการแพทย์และอุปทานต่างๆ
· “นางเออซูลา วง เดอ เลอยง” ประธานคณะกรรมาธิการอียู เผยถึงโครงการใหม่ที่อียูจะเริ่มศึกษาการกลายพันธุ์ของ Covid-19 ในสัปดาห์นี้ ภายใต้ชื่อ “HERA incubator”
· AstraZeneca และสาธารณรัฐเช็ค หารือเรื่องวัคซีน แต่ก็ยังติดที่ข้อตกลงกับทางอียู หลังจากที่กลุ่มผู้ผลิตในอียูปรับลดการขนส่งของวัคซีนของ AstraZeneca
· บรรดาผู้นำ Eurogroup กล่าวจะให้การสนับสนุนเศรษฐกิจยูโรโซนออกไปตราบเท่าที่จำเป็น แต่จะมีการปรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจบวิกฤต Covid-19
บรรดารัฐมนตรีการคลังยูโรโซน มีการหารือกันเมื่อวานนี้เกี่ยวกับคาดการณ์กรอบเวลาและวิธีที่จะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว และถอน Lockdown จากการระบาดได้ ท่ามกลางผลกระทบจากการใช้เม็ดเงินของรัฐบาลต่างๆในเวลานี้เป็นจำนวนมหาศาลเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป
ในเบื้องต้นของการหารือสะท้อนว่า 19 ประเทศสมาชิกมีความเห็นในเรื่องของค่าเงินยูโรที่อาจรีบาวน์ได้น้อยกว่าที่คาดไว้ตอนแรก เนื่องจาก Second Wave ดูจะกดดันเศรษฐกิจให้เผชิญกับภาวะ Lockdown รอบใหม่
นอกจากนี้ ความท้าทายสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการถอนการสนับสนุนบริษัทต่างๆ เนื่องด้วยภาคบริษัทต่างๆประสบภาวะขาดทุนในภาคธุรกิจจากการระบาดของไวรัส
· ประธานสภายุโรปเห็นชอบกับการสนับสนุนแนวคิดของอังกฤษเกี่ยวกับ “สนธิสัญญาโรคระบาด”
ทั้งนี้ นายบอริส จอห์นสัน มีการระบุถึงการจัดทำสนธิสัญญาทั่วโลก เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก เสริมสร้างความแข็งแกร่ง รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูล หลังจากที่อังกฤษและสหรัฐฯได้รับข้อมูลจาก WHO ที่ทำการสืบค้นต้นตอในประเทศจีน
· สาธารณรัฐกินีจะดำเนินการติดตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้ออีโบลา เพื่อเอาชนะแพร่ระบาดครั้งใหม่
รัฐมนตรีสาธารณสุขกินี จะดำเนินการติดตามผู้ที่อาจติดต่อกับผู้ติดเชื้ออีโบลา และเร่งฉีดวัคซีนไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด หลังจากพบผู้เสียชีวิตจากโรคอย่างน้อยสามราย
· WHO เตือน ภูมิภาค เกี่ยวกับ กาแพร่รระบาดของโรคอีโบลาในคองโก และสาธารณรัฐกินี
เจ้าหน้าที่อาวุโสของ WHO เตือน การแพร่ระบาดของอีโบลาในคองโกและกีนี ก่อให้เกิดความเสี่ยงในภูมิภาคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
ทั้งนี้คองโกยืนยันพบผู้ติดเชื้ออีโบลาจำนวน 4 ราย นับตั้งแต่มีการประกาศพบเจอเชื้อไวรัสอีโบลาในวันที่ 7 ก.พ. ที่ บูเทมโบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการระบาดครั้งก่อนที่มีการประกาศเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา
· สหรัฐฯ เข้าร่วมประชุม NATO ท่ามกลางภัยคุกคามจากจีน-รัสเซียและสงครามในอัฟกานิสถานยังคงดำเนินต่อไป
นายลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเข้าพบกับสมาชิกพันธมิตรทางทหารหลายประเทศในวันพรุ่งนี้ เพื่อประชุมครั้งแรก หลังจากที่นายโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ทั้งนี้ การประชุมนาโต้ที่จะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้และวันพฤหัสบดี จะหารือถึงอุปสรรคและปัญหาที่กลุ่มสมาชิก 30 คน ต้องเผชิญ การประชุมในครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเป็นการเรียกร้องให้ยืน "เคียงบ่าเคียงไหล่" เป็นพันธมิตรไปกับสหรัฐฯ
· โรงกลั่นน้ำมันในรัฐเท็กซัสปิดทำการ จากพายุฤดูหนาวที่กำลังส่งผลกระทบต่อภาคพลังงานสหรัฐฯในเวลานี้
· ซาอุดิอาระเบียเผยจะไม่ดำเนินการใดๆร่วมกับบริษัทต่างประเทศที่ไม่มีสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
· อิหร่านกล่าวกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ว่าจะไม่ยอมให้หน่วยงานเฝ้าระวังของ U.N. มีอำนาจตรวจสอบการดำเนินการในประเทศภายใต้ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี 2015
· การโจมตีด้วยจรวดของอิหร่านส่งผลให้กลุ่มผู้รับเหมาของอิรักเสียชีวิต รวมทั้งสมาชิกผู้ให้บริการของสหรัฐฯบาดเจ็บ
การโจมตีด้วยจรวดบริเวณฐานทัพสหรัฐฯทางตอนเหนือของเมืองเคิร์ดในประเทศอิรัก ส่งผลให้มีผู้รับเหมาพลเรือนเสียชีวิต และพบประชาชนบาดเจ็บเป็นจำนวน 5 ราย ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกหน่วยงานบริการของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ การโจมตีดังกล่าว เป็นการโจมตีที่ร้ายแรงที่สุด ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯและพันธมิตรอิรักที่ต่อสู้กับอิหร่าน
· เมื่อวานนี้ดัชนีนิกเกอิปิดพุ่งเหนือ 30,000 จุดครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี หนุนหุ้นเอเชียปิดพุ่ง ขานรับข้อมูลจีดีพีญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4/2020 โตได้ 12.7% เมื่อเทียบรายปีและสูงกว่าคาดการณ์
· เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียยังเปิดขึ้นได้ต่อ แม้ว่าตลาดจีนจะยังปิดทำการเนื่องในวันหยุดเทศกาลตรุษจีน
· นักบริหารการเงินคาด ‘เงินบาท’วันนี้เปิดตลาด ‘ทรงตัว’ที่ 29.89 บาท/ดอลลาร์ แต่ประเด็นการเมืองยังกดดันเพิ่มขึ้นทำให้เงินบาททรงตัวแม้จะมีเงินทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยในระยะถัดไป
· อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ
OR ราคาหุ้นพุ่งแรงทะลุ 100% แตะ 36.50 บาท จากราคาไอพีโอ “โนมูระ พัฒนสิน” แจงนักลงทุนเก็งกำไรกองทุนเตรียมเข้าซื้อกว่า 5 พันล้านบาท จากเข้าดัชนี “เอ็มเอสซีไอ -เซ็ท50- เซ็ท100 ”ด้วยเกณฑ์ฟาสต์แทร็ก
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR วานนี้ (15ก.พ.)ปรับตัวขึ้นตั้งแต่เปิดตลาดซื้อขายโดยทำจุดสูงสุดที่ 36.50 บาท เพิ่มขึ้น 7.25 บาท หรือ 24.78% แต่หากเทียบกับราคาไอพีโอ ที่ 18 บาท เพิ่มขึ้น 18.50 บาท หรือ 102.77 %ก่อนที่จะย่อตัวกลับมาปิดตลาดที่ 34 บาท เพิ่มขึ้น 4.75 บาทหรือ 16.24% ซึ่งหากเทียบกับราคาไอพีโอ เพิ่มขึ้น 16 บาท หรือ 88.88% จากนักลงทุนเก็งกำไรจากOR เตรียมเข้าคำนวณดัชนีSET 50 ,SET100 และ MSCI ทำให้จะมีแรงซื้อจากกองทุนลงทุนตามน้ำหนักดัชนีดังกล่าว
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน- กลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ CNS กล่าวว่า ราคาหุ้น OR ปรับตัวขึ้นแรงวานนี้ จากตอบรับข่าวการเข้าคำนวณในดัชนีSET 50 และ SET100 ด้วยเกณฑ์ Fast-trackในวันที่ 17 ก.พ. 2564 ทำให้คาดว่าจะมีแรงซื้อจากกองทุน Passive Fund เข้าซื้อเพื่อปรับน้ำหนัก ประมาณ 1,535 ล้านบาท
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ครม.เคาะมาตรการแจกเงินช่วยผู้ประกันตนผ่าน "ม.33 เรารักกัน" วันนี้
- พรรคเล็กปัดเรียกรับผลประโยชน์ ขอรอฟังซักฟอก-ชี้แจงก่อนลงมติ
- ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง พล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง เป็นเลขาฯ ปปง.
- ครม.เห็นชอบแต่งตั้งโฆษกกระทรวงพลังงาน-กระทรวงทรัพย์
- ผบ.ตร.พร้อมรับมือม็อบ 20 ก.พ.ยันยึดหลักกม.เตือนอย่าใช้ความรุนแรง
- ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ทั้งปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2563
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่สาม (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2563 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2563 ร้อยละ 1.3 (QoQ_SA) รวมทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2562
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 3.3 ของ GDP 3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564
เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 - 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย
(1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก
(2) แรงขับเคลื่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐ
(3) การกลับมาขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ
(4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 5.8 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.7 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP