ดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าต่อในวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจาก
- ความหวังวัคซีนในอังกฤษหนุนเงินปอนด์แข็งค่าในรอบเกือบ 3 ปี
- ราคาน้ำมัน-สินค้าโภคภัณฑ์ขยับขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจโลกสดใส
- แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก หนุนค่าเงินกลุ่มการค้า
- ตลาดซื้อขายยังเบาบางเนื่องจากจีนยังคงหยุดต่อเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
- ทิศทางเชิงบวกกดดันความต้องการสินทรัพย์ Safe-Haven อย่างเงินเยน ที่ไปทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 สัปดาห์
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 90.351 จุด และยังอยู่ใกล้กับระดับอ่อนค่ามากสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ทำไว้ในวันพฤหัสบดีที่แล้ว
ค่าเงินหยวนแข็งค่าต่อหลุด 6.4 หยวน/ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2018 และล่าสุดทรงตัวบริเวณ 6.4033 หยวน/ดอลลาร์
ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 1 เดือน ที่ 0.7785
Bitcoin ทรงตัวใกล้ 50,000 เหรียญ แม้จะมีแรงเทขายทำกำไรในค่าเงินกลุ่ม Cryptocurrency บ้าง และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันขึ้นมาได้ 60%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ทรงตัวแถว 1.2501%
ค่าเงินปอนด์ทะลุ 1.39 ดอลลาร์/ปอนด์เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ที่ 1.3912 ดอลลาร์/ปอนด์ และทรงตัวที่ 87.15 เพนซ์/ยูโร ที่เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2020
ภาพรวมปอนด์แข็งค่ามากถึง 2.5% จากข่าวโครงการฉีดวัคซีนของอังกฤษที่หนุนกระแสคาดการณ์จะเห็นเศรษฐกิจสามารถกลับมาฟื้นตัวได้มากกว่าฝั่งยุโรป
ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.2132 ดอลลาร์/ยูโร
เยนอ่อนค่าแตะ 105.36 เยน/ดอลลาร์ ทำอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 และเงินเยนดูจะเป็นค่าเงินที่ดูมีแนวโน้มจะแย่ที่สุดที่ในปีนี้
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
- ข้อมูลประมาณการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน
- ผลสำรวจความเชื่อมั่นเยอรมนี
- ข้อมูลการผลิตสหรัฐฯ
- การฟื้นตัวจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
· Bank of America กำหนดการสำรองค่าเงินตลาดเกิดใหม่เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ จากการเพิ่มขึ้นของอัตราการขนส่ง, พลังงาน และราคาอาหาร ที่อาจทำให้ระยะสั้นๆมีโอกาสหนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น ขณะที่ระยะยาวมีแนวโน้มจะมีเสถียรภาพ
หลักฐานที่เห็นได้ชัดคือการที่กลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่ชื่นชอบและพึงพอใจต่อการเข้าลงทุนในตลาดเกิดใหม่ และมุมมองที่ว่าจะช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้
· ผลสำรวจ ชี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะเลือกสหรัฐฯแทนจีน หากถูกบังคับให้เลือกข้าง
ผลสำรวจจากสถาบัน ISEAS ของสิงคโปร์ ขณะที่ภาพรวมดูเหมือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากทีมบริหารของนายไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้ผลสำรวจกว่า 61.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หากเกิดกรณีต้องเลือกข้างน่าจะอยู่ข้างเดียวกับสหรํฐฯมากกว่า และเมื่อเทียบกับผลสำรวจในปีที่แล้วจะพบว่ามุมมองที่เลือกข้างฝั่งสหรัฐฯในปีนั้นมีเพียง 53.6%
· BHP Group เผยผลกำไรครึ่งปีแรกดีที่สุดรอบ 7 ปี ท่ามกลางอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากจีน
· ผู้ว่าการบีโอเจ ชี้ ราคาหุ้นสดใสจากมุมมองเศรษฐกิจโลกในเชิงบวก จึงช่วยลดมุมมองการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินฉบับพิเศษ แต่จะเป็นตัวเร่งภาวะฟองสบู่แทน
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ดูจะส่งผลให้สมาชิกบีโอเจค่อนข้างเป็นกังวลต่อการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่มากขึ้นว่าจะก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ แต่ในการหารือเรื่องการ "ถอนนโยบายจากผ่อนคลายทางการเงินฉบับพิเศษ" ที่ประกอบไปด้วย กาเข้าซื้อสินทรัพย์เป็นจำนวนมาก และการถือครองกองทุน ETF ท่ามกลางการระบาดต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาที่เป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี การจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อในเวลานี้ของบีโอเจน่าจะยังไม่เกิดขึ้น จึงทำให้บีโอเจยังไม่คิดที่จะถอนการซื้อกองทุน ETF
นอกจากนี้ ผู้ว่าการบีโอเจ ยังเผยว่า มีแผนจะเปิดเผยการปรับทบทวนนโยบายการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ประกอบไปด้วย โครงการเข้าซื้อ ETF ในเดือนมี.ค. ที่อาจเห็นเสถียรภาพมากขึ้นจากการต่อสู้กับการระบาดที่ยังมีการใช้นโยบายการเงินมาอย่างยาวนาน ขณะที่แผนการดำเนินการต่างๆของบีโอเจจะขึ้นอยู่กับความกังวลของสมาชิกบีโอเจเกี่ยวกับเงินเฟ้อและการขยายมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วน มีการวิพากษ์วิจารณ์บีโเจที่ยังมีการซื้อพันธบัตรในกองทุน ETF มากเกินไป ที่ทำให้หุ้นญี่ปุ่นมีการทำระดับสูงสุดใหม่
นายคุโรดะ ยังกล่าวถึงความยากที่จะคาดเดาว่า "ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แล้วหรือยัง"
· ประธานจาก Ocado ขี้ กลุ่มค้าปลีกอังกฤษต้องกลับมาเปิดทำการในทันทีหากมีการสิ้นสุดการ Lockdown รอบ 3
· ญี่ปุ่นประสบปัญหาขาดแคลนเข็มฉีดยา ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19
ญี่ปุ่นเกิดความกังวลเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวกับการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดในวันพุธ เนื่องจากวัคซีน Pfizer ปริมาณหลายล้านโดสอาจต้องสูญเปล่าเนื่องจากขาดแคลนเข็มฉีดยาพิเศษในการใช้สำหรับบรรจุแต่ละโดส
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งคำขอเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ผลิตพยายามเพิ่มกำลังการผลิตให้เร็วพอ
· วันนี้ออสเตรเลีย อนุมัติใช้วัคซีน Covid-19 ของบริษัท AstraZeneca เป็นการชั่วคราวและสนับสนุนให้มีการฉีดวัคซีน ที่มีแผนจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า
· ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ย้ำถึงภาวะแข็งแกร่งตลาดแรงงานที่จะช่วยหนุนให้เงินเฟ้อปรับขึ้นได้โดยง่าย แม้ว่าอาจใช้เวลาหลายปีในการบรรลุเป้าหมาย
รายงานประชุมของ RBA ประจำเดือนก.พ. เผยว่า สมาชิกธนาคารกลางยังคงตระหนักถึงการเติบโตของของค่าแรงที่ดูจะลดลงไปอย่างมาก ก่อนที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา
ขณะที่ภาคบริษัทต่างๆยังคงตอบรับกับความผันผวนไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก จึงทำให้เกิดการเลื่อนการปรับขึ้นค่าแรง หรือชะลอการปรับค่าแรง และ RBA มองว่าอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะยุติการคงค่าแรง
รัฐบาลยังคงต้องรับมือกับภาคเอกชนที่จำกัดการจ่ายเงินกู้และมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานจึงจะสามารถเพิ่มวงเงินกู้ได้ ขณะที่เงินเฟ้อยังไม่มีแววจะถึงเป้าหมาย 2% จนถึงกลางปี 2023 โดยเหตุผลหลักคือยังไม่มีคาดการณ์จะเห็นการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยใดๆจนกว่าจะถึง 2024
ทั้งนี้ RBA มีการใช้ดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.1% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้นโยบายทางการเงิน และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่กังวลไว้
· กองกำลังความมั่นคงพม่ายกระดับปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม
จากผู้เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า รถบรรทุกไม่น้อยกว่า 10 คันที่เต็มไปด้วยทหารและตำรวจที่เดินทางมาถึงก็มีการมีรายงานว่ากองกำลังดังกล่าวมีการใช้ปืนยิงหนังสติ๊กไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านการทำรัฐประหาร รวมไปถึงมีการใช้ไม้กระบองเข้าตีสลายการชุมนุมครั้งใหญ่ โดยกลุ่มผู้ประท้วงนับพันรายยังปักหลักชุมนุมกันบริเวณ Myanmar Economic Bank ที่กรุงมันดาเลย์ เรียกร้องให้คืนอำนาจให้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
· สิงคโปร์ ไม่สนับสนุน คว่ำบาตรรัฐประหารพม่า
รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์กล่าวต่อรัฐสภาว่า ไม่สนับสนุนการคว่ำบาตรรัฐประหารพม่าเนื่องจากเกรงว่ากองกำลังทหารอาจทำร้ายประชาชนทั่วไปได้
· รัฐมนตรีกระทรวงคลังของเนเธอร์แลนด์ คาด เศรษฐกิจในประเทศยุโรปอาจมีการเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วงมิ.ย.-ส.ค. อันเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถฟื้นตัวจากการการใช้วัคซีนได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในการต่อสู้กับ Covid-19 ที่กดดันให้ปีที่แล้วเศรษฐกิจยุโรปหดตัวไปเกือบ -7% ขณะที่มาตรการคุมเข้มด้านสังคมอาจยังกดดันแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้ได้
อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการอียู มองจีดีพียูโรโซนเชิงลบ โดยคาดปีนี้น่าจะโตได้ราว 3.8% จากที่เคยคาดการณ์ในช่วงเดือนพ.ย. ที่ 4.2% มีเพียงแค่รัฐมนตรีคลังฯของเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่เชื่อว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะโตได้ในช่วงฤดูร้อนนี้
· สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ S&P คาดว่า เศรษฐกิจอินเดียอาจฟื้นตัวและโตได้ 10% ในปีงบประมาณ 2022
ทั้งนี้ แผนปีงบประมาณฉบับใหม่ของอินเดียจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เม.ย. - 31 มี.ค. ปีหน้า ท่ามกลางภาพรวมของสินค้าในกลุ่มเกษตรที่จะออกมาดีขึ้น ประกอบกับการเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่ทั้งหมดจะเป็นตัวสนับสนุนเศรษฐกิจ
ภาพรวมปี 2020 อินเดียมีสภาพเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอันเนื่องจาก Lockdown เพื่อชะลอการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสูงกว่า 10.9 ล้านราย ขณะที่ปีงบประมาณปี 2021 อินเดียมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะยังหดดตัวอยู่ที่ -7.7%
· สำนักงานสถิติของ INSEE กล่าวว่า อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของฝรั่งเศสปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราดังกล่าวอยู่ที่ 8% ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้านั้นซึ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ระดับ 9.1%
· อิหร่านกลับมาใช้แร่ยูเรเนียมในกระบวนการสร้างนิวเคลียร์อย่างจริงจัง แต่ข้อตกลงก็ยังคงมีอยู่
การเคลื่อนไหวของอิหร่านล่าสุดดูจะสร้างความวุ่นวายให้แก่ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี 2015 แต่ยังส่งสัญญาณจะอยู่ในข้อตกลงหากสหรัฐฯยกเลิกการคว่ำบาตร
ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ในสัปดาห์ที่แล้วมีการยืนยันรายงานว่า อิหร่านกำลังเริ่มกลับมาผลิตด้วยแร่ยูเรเนียม ภายใต้ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี 2015
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯที่หนุนให้อุปสงค์น้ำมันดูจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมพายุดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามต่อการผลิตน้ำมันในรัฐเท็กซัส
โดยราคายังเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่ม Houthi กล่าวว่า ได้โจมตีสนามบินในซาอุดิอาระเบียด้วยโดรนทำให้เกิดความกังวลด้านอุปทานในผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการเปิดตัววัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 14 เซนต์ หรือคิดเป็น 0.2% ที่ระดับ 63.44 เหรียญ/บาร์เรล หลัังจากปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงุสดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 2020 ในช่วงก่อนหน้า ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 61 เซนต์ หรือคิดเป็น 60.08 เหรียญ/บาร์เรล