• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564

    17 กุมภาพันธ์ 2564 | Economic News
   

·         ค่าเงินดอลลาร์ แข็งค่าในรอบ 4 เดือน เมื่อเทียบกับเงินเยน เนื่องจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น


ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นที่ระดับ 1.331% จากที่คาดการณ์ในสัปดาห์ที่แล้วที่ระดับ 1.20%เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเร่งให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าที่คาดการณ์


โดยดัชนีดอลลาร์อินเดกซ์ กลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลส่วนใหญ่หกสกุล  ที่ 90.681 จากแตะระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ที่ 90.117 ในวานนี้

 

นักกลยุทธ์ค่าเงินอาวุโสจาก National Australia Bank

มองว่า การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เป็นสัญญาณเตือนถึงความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจาก

ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น

โอกาสเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในวงเงินจำนวนมาก

การฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก

ความแข็งแกร่งของการกระจายวัคซี

การกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ

 

นักกลยุทธ์อาวุโสของ Daiwa Securities  มองว่า ภาวะขาลงของดอลลลาร์ยังไม่จบ และเริ่มต้นปีมาก็ยังอยู่ต่ำกว่า 100 จุด

ทั้งนี้เจมส์ บลูลาร์ด ประธานเฟด สาขาเซนต์หลุยส์ มองว่า  สภาวะการเงินของสหรัฐ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้

อย่างไรก็ตาม ประธานเฟด สาขาซานฟรานซิสโก เผยว่า แรงกดดันต่อเงินเฟ้อยังคงลดลง จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำและการใช้จ่ายของรัฐบาลอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ร้อนแรงและกระตุ้นให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

ค่าเงินยูโร อ่อนค่าลงที่ 1.2085 ดอลลาร์/ยูโร โดยอ่อนค่าลงในเล็กน้อย เนื่องจากข้อมูลตัวเลขความเชื่อมันในเศรษฐกิจเยอรมันกลับมาแข็งแกร่ง

ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษ แข็งค่าที่ 1.3863 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2018  เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร การซื้อขายค่าเงินปอนด์ทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ที่ 87.07 เพนนี/ยูโร

ค่าเงินออสเตรเลีย อ่อนค่าลงที่ 0.7734 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย เมื่อเทียบกับวันอังคาร ที่ 0.7805 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย

สกุลเงินหยวนของจีนก็อ่อนค่าลงเช่นกันหลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ 6.4010 ดอลลาร์/หยวน โดยล่าสุดอยู่ที่ 6.4269 ดอลลาร์/หยวน

โดยค่าเงินเยน ล่าสุดอยู่ที่ 106.13 ดอลลาร์/เยน

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี จึงช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ แต่กดดันให้มูลค่าตลาดหุ้นที่อยู่ในระดับสูงปรับตัวลดลง ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ ในตลาดเอเชียพบว่า ข้อมูลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นถึง 1.3330% ในเอเชีย ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2020 แม้ว่าจะลดลงในภายหลังกลับมาที่ 1.2989% ก็ตาม

 

เมื่อเทียบกับความถ่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี เปิดค่อนข้างมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี โดยเทรดเดอร์มองว่า ระยะสั้นๆ เฟดจะยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินไว้ก่อน แม้จะเห็นสถานการณ์การระบาดทั่วโลกดูดีขึ้น

 

 

·         เดโมแครตผลักดันร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯกำลังเตรียมผลักดันร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญให้แล้วเสร็จภายในช่วงสิ้นเดือนก.พ.นี้

 

ทั้งนี้ พรรคเดโแมครตมีเป้าหมายจะให้อนุมัติผ่านร่างทั้งหมดโดยปราศจากมติเห็นชอบของนายทรัมป์ ก่อนที่มาตรการช่วยเหลือคนว่างงานจะหมดอายุลงในวันที่ 14 ม.ค.นี้  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวในการผ่านร่างกฎหมายจะต้องได้รับเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา

 

คณะกรรมาธิการกำกับดูแลด้านงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จะเริ่มกระบวนการภายในไม่กี่วันนี้ในการร่างข้อกฎหมายในหัวข้อต่างๆเพื่อรวมเข้าสู่ร่างกฎหมายฉบับเดียว ซึ่งหากได้รับเสียงข้างมากจากทางสภาล่างก็จะส่งต่อให้ทางสภาสูงโหวตต่อในทันที

 

อย่างไรก็ดี แผนงบประมาณดังกล่าวจะมีรายละเอียด

เช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ 1,400 เหรียญ ที่จ่ายตรงแก่ชาวสหรัฐฯส่วนใหญ่

สนับสนุนสวัสดิการคนว่างงานสัปดาห์ละ 400 เหรียญจนถึง 29 ส.ค.

งบประมาณให้แก่รัฐต่างๆ และมลรัฐ วงเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญ

งบประมาณโครงการฉีดวัคซีน Covid-19 และอื่นๆ 2 หมื่นล้านเหรียญ

 

หลังจากที่กระบวนการฟ้องร้องนายทรัมป์ ในวุฒิสภาจบลง ก็ดูเหมือนจะมีเสียงสนับสนุนเพียง ใน ในการลงโทษเขา ทำให้เขาถูกปล่อยตัวในท้ายที่สุ

 

 

·         ไบเดนหวังจะทำการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมและการรักษาความปลอดภัยในสหรัฐฯ โดยชี้ถึงการจะเพิ่มงบประมาณตำรวจ แต่ไม่รวมคดีต้องโทษคุมขังจากยาเสพติด ซึ่งคาดว่าจะเป็นนโยบายที่ดำเนินการต่อหลังผลักดันแพ็คเกจ Covid-19 เป็นที่เรียบร้อย

 

 

·         การระบาดของไวรัสโคโรนากดดันให้ผู้โดยสายของสายการบินต่างๆในสหรัฐฯลดลงมากสุดในรอบ 30 ปี

ทั้งนี้ ผู้โดยสายสายการบินของสหรัฐฯในปี 2020 มีเพียง 371 ล้านรายเท่านั้น ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1984  ขณะที่เดือนธ.ค. มีผู้โดยสารใช้บริการลดลง 62% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีก่อนที่ระดับ 30.4 ล้านคน และภาพรวมรายปีร่วงลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับปี 2019

สายการบินต่างๆ จึงคาดหวังว่า อุปสงค์ด้านการเดินทางด้วยเที่ยวบินปีนี้จะอ่อนแอถึงแค่ต้นปี 2021 ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และความล่าช้าในการฉีดวัคซีน แต่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นได้ในช่วงปีหลังอีกครั้งหนึ่ง

 

·         "เยลเลน" ให้คำมั่นหนุนความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

 

นางเจเน็ต  เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวถ้อยแถลงสำคัญในการเรียกร้องให้รองประธานคณะกรรมาธิการอียูร่วมมือกันในการสนับนสนุนเศรษฐกิจ

 

ขณะที่ช่วงเช้าวานนี้ นางเยลเลน มีการหารือกับ นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี โดยย้ำเน้นวิธีการร่วมมือกันเชิงลึกในการจัดการด้านเศรษฐกิจและระบบการเงิน ซึ่งนางเยลเลนมีความตั้งใจที่จะร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับอียูบนความท้าทายสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น

การยุติการระบาดของไวรัสโคโรนา

การสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำของรายได้

การจัดการกับสภาวะโลกร้อน

 

นอกจากนี้ นางเยลเลน ยังมีการหารือเรื่องภาษีข้ามประเทศ และวิธีแก้ไขปัญหาด้านการค้าด้วย

 

·         นักวิเคราะห์ ชี้ ผลกระทบแท้จริงของ Covid ในยุโรปกำลังกระทบภาคธนาคารต่างๆ

 

รายงานจาก Reuters ระบุถึงผลกระทบที่ยุโรปได้รับในกลุ่มธนาคารต่างๆ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ดังนี้

- การไม่สามารถชำระหนี้สินจากการกู้ยืม

- ผลกำไรของภาคธนาคารรายใหญ่ในยุโรปย่ำแย่

- การถกเถียงกันเกี่ยวกับสภาวะทางการเมืองว่ามีความจำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือหรือไม่ อย่างไร

- ผู้บริหารธนาคารหลายราย มองว่า "นี่คือสถานการณ์ที่เลวร้ายมากที่สุดของพวกเขา"

CEO ของธนาคาร Societe Generale และ BNP Paribas ต่างคาดหวังจะเห็นการฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้

- 3 ธนาคารรายใหญ่ของฝรั่งเศส ประสบภาวะผลกำไรหดตัวลงมากที่สุดในปีที่แล้ว

- ธนาคาร Santander ของสเปน ก็มีผลประกอบการย่ำแย่

- ธนาคาร ING ของเนเธอแลนด์ ก็มีผลประกอบการที่ไม่สู้ดีนัก

 

นอกจากนี้ ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนการกู้ยืมที่มากขึ้นจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ จากการที่รัฐบาลต่างๆต้องการให้การสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสสเปน และประเทศอื่นๆในภูมิภาค ดังนั้น จึงส่งผลให้ บรรดารัฐมนตรีการคลังของยูโรโซน เข้าพบกันเมื่อวานนี้ หลังทราบรายงานดังกล่าว รวมถึงปัญหาขององค์กรต่างๆที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง

 

·         ข้อมูลอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่า การจดทะเบียนรถยนต์ในยุโรปประจำเดือนม.ค.ลดลง เนื่องจากมาตรการ Lockdown เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกที่สอง ส่งผลกระทบต่อยอดขายในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

โดย ACEA เปิดเผย การลงทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลง 25.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีเหลือ 842,835 คันในสหภาพยุโรป อังกฤษและประเทศใน European Free Trade Association (EFTA)

 

·         เงินเฟ้ออังกฤษขยับขึ้นเล็กน้อย 0.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ขณะที่เดือนธ.ค. ขึ้น 0.6% แม้จะยังมีการ Lockdown ในประเทศอยู่

 

·         ดร. ฟาวซี คาดกรอบเวลาการฉีดวัคซีนในสหรัฐฯอาจล่าช้าไปเล็กน้อยประมาณช่วงปลายเดือนพ.ค. - ช่วงต้นมิ.ย. จากที่เคยประเมินว่าจะฉีดวัคซีนได้เกือบแล้วเสร็จประมาณช่วงปลายมี.ค. - ต้นเม.ย.

ทั้งนี้ การผลิตวัคซีนมีอุปสรรคจากภาคแรงงานอุตสาหกรรมที่มีอย่างจำกัด ประกอบเงื่อนไขทางด้านสาธารณสุขในแต่ละรัฐ

อย่างไรก็ดี รัฐบาลอาจมีการพิจารณาอนุมัติการใช้วัคซีนของบริษัท Johnson & Johnson เป็นกรณีฉุกเฉินที่อาจส่งผลให้ประชาชนสหรัฐฯอาจได้รับวัคซีนเพิ่ม 100 ล้านโดส ภายในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย.

ขณะนี้ 81 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและได้ฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 177,523,000 โดส

ขณะนี้ 81 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและได้ฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 177,523,000 โดส


ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนของสหรัฐฯ


ประชากรในเมือง Gibraltar ของอังกฤษได้รับฉีดวัคซีนเป็นที่แรกของโลก โดยฉีดให้ประชากรไปแล้ว 38% พร้อมทั้งคาดว่าทุกคนจะสามารถได้รับวัคซีนจำนวน โดส 


image.png

 

·         ญี่ปุ่นเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาแล้ววันนี้ โดยทำการฉีดวัคซีนจากบริษัท Pfizer-BionTech แก่บรรดาเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโตเกียว ในขณะที่นาย โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่น พยายามพลิกสถานการณ์การแพร่ระบาด ก่อนเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกในฤดูร้อนนี้

 

·         นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ เตือนประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 40 วัน

 

·         รัฐมนตรีสาธารณสุขไต้หวัน ระบุว่า ข้อตกลงที่ไต้หวันทำกับบริษัท BioNTech ของเยอรมนีในการซื้อวัคซีนจำนวน 5 ล้านโดสเมื่อเดือนธ.ค. พบว่า ถูกจีนเข้าแทรกแซงจนทำให้การได้รัวัคซีนมีความล่าช้าออกไป และส่งผลให้บริาัท BioNTech มีการถอนข้อตกลงในท้ายที่สุด

 

ดังนั้น จึงมีความกังวลว่าภาวะทางการเมืองและการตัดสินใจจะถูกแทรกแซงอีก จึงต้องระมัดระวังการหารือเกี่ยวกับแผนข้อตกลงใดๆต่อสาธารณชน

 


 

·         เม็กซิโกมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทะลุ 2 ล้านราย และยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 175,000 ราย

 

 

·         "นิวซีแลนด์" สั่งยกเลิกมาตรการ Lockdown เมืองโอ๊คแลนด์ หลังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้

 

 

·         กระทรวงไวน์ของออสเตรเลียจะทำการขายสินทรัพย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากปัญหาภาษีของจีน โดยมีแผนจะทำการปฏิรูปภาคธุรกิจครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น

การขายสินค้าพื้นฐานในราคาต่ำ

การขายสินทรัพย์อื่นๆ

เพื่อเพิ่มรายได้ไม่น้อยกว่า 230 ล้านเหรียญ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่จีนขึ้นภาษีสินค้าไวน์ของออสเตรเลีย

การปรับโครงสร้างดังกล่าวมีขึ้นหลังพบรายงานกลุ่มผู้ผลิตไวน์ในช่วงครึ่งปีแรกขาดทุน 43% โดยมีผลกำไรสุทธิ 94 ล้านเหรียญ และยังมีแนวโน้มว่าช่วงครึ่งหลังของปีนี้น่าจะเห็นผลประกอบการตกลงกว่าครึ่งปีแรก


 

·         ไบเดน เตือน "จีนยังต้องเผชิญกับผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชน"

 

ทั้งนี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากทั่วโลกต่อการปฏิบัติกับชนกลุ่มน้อยชาวอุยกูร์ และสหรัฐฯเองก็จะร่วมต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน

 

พร้อมกันนี้ นายไบเดน ระบุว่า จีนค่อนข้างมีความพยายามอย่างมากเพื่อมาเป็น "ผู้นำโลก" แต่เพื่อให้เป็นได้ดังที่หวัง เขาจำเป็นต้องได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากประเทศอื่นๆด้วยเช่นกัน

 

 

·         สหรัฐฯ เคลื่อนไหวแล้ว ส่งเรือรบเข้ามาในน่านน้ำทะเลจีนใต้ บริเวณเกาะที่จีนอ้างสิทธิในการปกครอง

 

เรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ แล่นตามบริเวณหมู่เกาะที่จีนอ้างสิทธิ์ในการปกครอง ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ชี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเสรีภาพการเดินเรือทางทะเล และนับเป็นการเคลื่อนไหวล่าสุดของสหรัฐฯ เพื่อท้าทายจีนในการอ้างสิทธิปกครองเกาะ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทกันในขณะนี้

 

โดยกองทัพเรือหมายเลข 7 ของสหรัฐฯ เผยว่า เรือรบ USS Russell สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการเดินเรือในหมู่เกาะสแปรตลีย์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม จีนอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งหมด แต่บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนามยังคงยื่นข้อเรียกร้องในการเป็นเจ้าของเกาะในบางพื้นที่เช่นกัน

 

·         แม้จะมีคำมั่นในการจะจัดเลือกตั้งใหม่ และประชาชนชาวพม่าที่ต้านรัฐบาลทหารพม่าก็ยังคงจัดชุมนุมใหญ่ต่อในวันนี้ เพื่อแสดงจุดยืนในการต่อต้านการดำเนินการของกองทัพ และสนับสนุนให้คืนอำนาจแก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของนางอองซานซูจี

 

·         น้ำมันทรงตัว ท่ามกลางการปิดทำการชั่วคราวของโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ขณะที่ OPEC+ อาจจะลดปริมาณการผลิตลง

ราคาน้ำเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้นในวันนี้ โดยได้แรงสนับสนุนจากการหยุดทำการชั่วคราวของโรงกลั่นในรัฐเท็กซัสสหรัฐฯจากเหตุพายุฤดูหนาว ขณะที่กลุ่ม OPEC+ มีแนวโน้มที่จะผ่อนปรนการปรับลดกำลังการผลิตในเดือน เม.ย.นี้

โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 3 เซนต์ ที่ระดับระดับ 60.02 เหรียญ/บาร์เรล โดยลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน ที่ 60.95 เหรียญ/บาร์เรล ในเมื่อวาน

ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 11 เซนต์ หรือ 0.2% ที่ 63.46 เหรียญ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่สาม

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาและอุปทานที่หยุดชะงักลงจากพายุฤดูหนาวครั้งประวัติศาสตร์ในเท็กซัสซึ่งเป็นรัฐผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคา

 

·         ผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรมชี้ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเชลล์ในสหรัฐฯอาจเผชิญกับสัปดาห์ที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ เนื่องจากพายุฤดูหนาว ประกอบกับการปราศจากไฟฟ้าในการจัดการต่างๆ

รัฐเท็กซัสที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่กว่ารัฐอื่นๆในสหรํฐฯ ไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับมาทำการผลิตได้ในเร็วๆนี้ และมีความจำเป็นต้องปิดโรงกลั่นน้ำมันเป็นการชั่วคราวบริเวณอ่าว ส่งผลกระทบให้ปริมาณการผลิตน้ำมัน 500,000 - 1.2 ล้านบาร์เรล/วันต้องหายไปในสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัดที่สุดในรอบกว่า 30 ปี



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com