• นักเศรษฐศาสตร์ แนะสิ่งที่เห็น "ไม่ใช่เงินเฟ้อ" แต่เป็นเพียงกระแสคาดการณ์

    18 กุมภาพันธ์ 2564 | Economic News
  
 

นักเศรษฐศาสตร์ แนะสิ่งที่เห็น "ไม่ใช่เงินเฟ้อ" แต่เป็นเพียงกระแสคาดการณ์

 

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก High Frequency Economics ระบุว่า กระแสคาดการณ์เงินเฟ้อในเวลานี้ดูจะหลุดออกจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า ตลาดการเงินต่างๆอาจลงทุนตามกระแสของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

 

ตลาดต่างๆทั่วโลกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาดูจะถูกตอบรับกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีที่ยืนเหนือ 1.3% ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก.พ. ปี2020 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 30 ปีทำสูงสุดรอบ 1 ปี ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่ปรับขึ้นสวนทางกับราคาพันธบัตรที่ลดลง

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับขึ้นในเวลานี้มาจากกระแสคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดพันธบัตรที่เริ่มมีความเชื่อว่า "ธนาคารกลางต่างๆจะลดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้ QE"

 

นอกจากนี้ การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ยังสื่อถึง ระดับหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทรายใหญ่ต่างๆที่มีแนวโน้มจะกดดันตลาดหุ้นและทำให้กลุ่มนักลงทุน "ต้องกลับมาประเมินสภาวะการลงทุนใหม่"

 

ตลาดมีกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อสหรัฐฯว่าจะสามารถปรับขึ้นไปทำสูงสุดได้ในรอบกว่า 10 ปี จากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าเรื่องการฉีดวัคซีน และความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

 

อย่างไรก็ดี เขาแนะว่าการคาดการณ์เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ขณะที่ความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่ยังไม่สดใส

 

ดังนั้น เขาจึงมองว่าในระยะสั้นๆแรงกดดันเงินเฟ้อเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำจากอุปสงค์และอุปทานที่เกิดจากการระบาดครั้งใหญ่ และสภาวะความไม่สมดุลนี้จะหายไปเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจปกติ ขณะที่กำลังการผลิตที่มากเกินไปในระบบเศรษฐกิจ มีแนวโน้มที่จะควบคุมความสามารถของบริษัทต่างๆในการส่งผ่านข้อมูลราคาให้แก่กลุ่มผู้บริโภค

 

 

สรุปได้ว่า ตลาดมองกระแสเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นได้ในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว สอดคล้องกับมุมมองที่ว่า "การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน"

 

ที่มา: CNBC

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com