· ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ - Bitcoin ยังทำสูงสุดครั้งประวัติการณ์ 52,640 เหรียญ
ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นต่อในวันนี้ หลังจากที่ไปทำสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่หนุนกระแสคาดการณ์ว่า อาจเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ โดยดัชนีดอลลาร์ในวันนี้ปรับแข็งค่าขึ้นได้ราว 0.2% ในตลาดเอเชีย ทรงตัวแถว 90.943 จุด
ทั้งนี้ ดอลลาร์รีบาวน์กลับมาทิศทางแข็งค่าได้ในปีนี้ โดยปรับแข็งค่าแล้วราว 1% จากที่อ่อนค่าลงไปประมาณเกือบ 7% ในปี 2020 โดยมีการปรับตัวไปทำต่ำสุดรอบ 2 ปีครึ่งที่ 89.206 ในช่วงต้นเดือนม.ค.
ทีมนักวิเคราะห์จาก Westpac ยังคาดหวังว่าจะเห็นดอลลาร์อ่อนค่าต่อในปีนี้ จากการที่เฟดยังอัดฉีดเม็ดเงินต่อไป และแนะนำให้ทำการ Short ในดัชนีดอลลาร์เมื่อฟื้นตัวถึงแนว 91 จุด
Bitcoin ยังคงมีระดับการซื้อขายทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์แถว 52,640 เหรียญ ภาพรวมเดือนก.พ. ขยับขึ้นได้ 58% ขณะที่นักวิเคราะห์หลายรายเตือนว่า "การปรับขึ้นของราคา Bitcoin ยังไม่มีเสถียรภาพ"
ยูโรทรงตัวที่ 1.20385 ดอลลาร์/ยูโร หลังอ่อนค่าลง 0.5% เมื่อคืนนี้
ค่าเงินเยนทรงตัวบริเวณ 105.845 เยน/ดอลลาร์ โดยกลับมาแข็งค่าขึ้นหลังจากที่ไปทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 5 เดือน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯได้รับแรงหนุนตลอดช่วงไม่กี่วันมานี้ โดยอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุด 1.333% เมื่อคืนที่ผ่านมาก่อนจะมาทรงตัวแนว 1.20% ขณะที่ในตลาดเอเชียวันนี้เคลื่อนไหวแถว 1.2669%
หัวหน้านักกลยุทธ์ค่าเงิน G10 ประจำ Citigroup Global Markets กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ช่วยยุติการอ่อนค่าของดอลลาร์ แต่ระยะยาว ดอลลาร์ก็ยังเป็นขาลง และคาดว่าน่าจะเห็นตลาดกลับมาเป็นสภาวะ Risk-On และภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้แรงกดดันของดอลลาร์กลับมาอีกครั้ง
· ตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ หลังสัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นไปด้วยดี
วันนี้ตลาดรอคอยข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ถูกคาดว่าจะมีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายใหม่ลดลง
ขณะที่ข้อมูลภาคที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะถูกเปิดเผยข้อมูลในช่วงต้นตลาด ท่ามกลางดัชนีฟิวเจอร์สของสหรัฐฯที่เคลื่อนไหวอ่อนตัวเล็กน้อยในช่วงเช้าวันนี้
นักวิเคราะห์จาก UBS Global Wealth Management ชี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในเอเชียที่เพิ่มขึ้นก็เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าลงทุน แม้ว่าภาพรวมตลาดหุ้นจะมีความน่าดึงดูดกว่าพันธบัตรก็ตาม
· สหรัฐฯจะกลับมาจ่ายค่าทำเนียมสมาชิกให้แก่ WHO สูงกว่า 200 ล้านเหรียญในช่วงสิ้นเดือนนี้ หลังจากที่ถูกระงับการจ่ายในยุคของนายทรัมป์
· เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาย เผย บริษัท Johnson & Johnson มีวัคซีน Covid-19 เพียง 2-3 ล้านโดสในสต็อก แม้ว่าจะได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐฯแล้วก็ตาม
ทั้งนี้ ตามข้อตกลง บริษัท Johnson & Johnson ต้องจัดหาวัคซีนใหแก่สหรัฐฯให้ได้เป็นจำนวน 100 ล้านโดสภายในเดือนมิ.ย. นี้
· ผลการศึกษาจากห้องแล็บ พบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่พบในแอฟริกาใต้ อาจ ลดกระบวนการป้องกันแอนตี้บอดี้ จากวัคซีนของบรฺิษัทยา Pfizer-BioNtech มากกว่า 2 ใน 3 และยังไม่ชัดเจนว่าการเพิ่มโดสจะช่วยให้วัคซีนมีประสิทธิภาพมากขึ้นต้าน Covid-19 หรือไม่
· นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เรียกร้องให้ บรรดาหลายประเทศทำข้อตกลงสนธิสัญญาโรคระบาดระดับโลก เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดและโรคติดต่อ
และเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความโปร่งใสมากขึ้นถึงการระบาดในอนาคต หลังจากที่จีนไม่เต็มใจจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด
· นักวิเคราะห์ เตือน การดำเนินจัดหาวัคซีนด้วยวิธีทางการทูต ดูจะหนุนอิทธิพลของจีนและรัสเซียเพิ่มขึ้น
บรรดานักวิเคราะห์ กล่าวกับทาง CNBC โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ทางการทูตระหว่างประเทศ มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ตัดสินหรือกำหนดว่าวัคซีนของใครจะสามารถเข้าถึงประเทศได้ในอีกไม่กี่เดือนนี้ ขณะที่รัสเซียและจีนก็ดูจะเป็นประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์ในด้านความต้องการนี้เพื่อสร้างผลประโยชน์ของตนเองกับต่างประเทศ
การฉีดวัคซีน Covid-19 ดูจะส่งผลให้เกิดความคาดหวังว่าน่าจะช่วยยุติการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ และหลายๆประเทศก็ยังไม่ได้เริ่มต้นโครงการฉีดวัคซีน แม้ว่าจะเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้สูง แต่ก็ยังต้องเผชิญกับ "การขาดแคลนอุปทานในกลุ่มผู้ผลิต" และทำให้เกิดกระบวนการผลิตมีความล่าช้าออกไป
ทั้งนี้ รัสเซียและจีน มีการส่งมอบหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันโควิด ให้แก่หลายๆประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่ปีที่แล้ว และขณะนี้ทั้งสองประเทศต่างก็มีแผนในการดำเนินการในการจัดส่งวัคซีน
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจระดับโลกของ Economist Intelligence Unit มองว่ารัสเซีย จีน และอินเดีย จะจัดหาวัคซีน Covid-19 ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศที่มีรายได้น้อย เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งรัสเซียและจีนหาประโยชน์จากประเทศกลุ่มนี้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากมองว่าประเทศมหาอำนาจฝั่งตะวันตกได้ลดความสนใจในกลุ่มประเทศเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม รัสเซียและจีนยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอต่อตลาดในประเทศของพวกเขาเอง รวมทั้งการส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก และภาคการผลิตก็ยังมีความท้าทายจากการที่หลายๆประเทศที่ร่ำรวยมีการ Pre-Order วัคซีนมากกว่าความจำเป็นของประเทศของพวกเขาเอง
· หน่วยงาน HKSAR ของรัฐบาลฮ่องกงได้อนุมัติให้มีการใช้วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของบริษัท Sinovac ที่ผลิตในจีนเป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว หลังจากที่คณะผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า สามารถใช้วัคซีนดังกล่าวได้ แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ
· ปัญหา "Brexit" กดดันให้หลายๆบริษัทย้ายฐานไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์จากความไม่แน่นอนที่มีตลอดปี 2020 แม้ว่าจะเผชิญกับการลงทุนจากต่างชาติที่ลดลงไปเพราะได้รับผลกระทบจาการระบาดของไวรัสโคโรนาก็ตาม
· คณะรัฐมนตรีของสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศว่า สวิตเซอร์แลนด์มีแผนจะค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมไวรัสโคโรนาตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป
· อินเดีย ตรวจเข้มกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือประชาชนที่เดินทางมาจากบราซิล แอฟริกาใต้ และอังกฤษ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่พบในประเทศดังกล่าว
· รัฐบาลอินโดนีเซีย กล่าวว่า จะกำหนดมาตรการลงโทษต่อบุคคลที่ปฏิเสธที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา รวมถึงค่าปรับ การระงับหรือเลื่อนการช่วยเหลือเยียวยาทางสังคม รวมถึงบริการจากภาครัฐ
· ทิศทางอุปสงค์พลังงานเชื้อเพลิงสำหรับการบินยังไม่สดใส
· ทำเนียบขาว พยายามอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชิปยานยนต์
เจ้าหน้าที่ระดับสูง และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาว พยายามอย่างมากที่จะช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมด้านยานยนตร์ถึงการต่อสู้กับภาวะขาดแคลนชิปประกอบรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งกำลังลดการผลิตอยู่ในขณะนี้
· รัฐมนตรีไต้หวันกำหนดเป้าฟื้นฟูอุปทานด้านชิปรถยนต์ เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคนในกลุ่มผู้ผลิตของประเทศ
· "คุโรดะ" ผู้ว่าการบีโอเจ เผยว่ามีการแจ้งแก่ "ซูงะ" นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะมีการปรับทบทวนเครื่องมือการดำเนินโนยบายของบีโอเจในเดือนมี.ค. เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถคงการผ่อนคลายฉบับพิเศษได้ยาวนานเท่าไร
ขณะที่ IMF มีการประเมินสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น
· ประท้วงในพม่าบานปลาย ฝูงชุนมรวมตัวตั้งแต่ใจกลางเมืองไปจนถึงเมืองหลวงเก่าแก่ของประเทศเพื่อต่อต้านการทำรัฐประหารที่เกิดขึ้น
· ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศหนาวที่กดดันการผลิตน้ำมันในรัฐเท็กซัส
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอีกครั้งในวันนี้ ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากความกังวลว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นที่เกิดขึ้นในเท็กซัสอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเข้าซื้อครั้งใหม่
โดยน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 89 เซนต์ หรือ 1.4% หรือ 65.23 เหรียญ/บาร์เรล แตะระดับสูงสุดนับจากวันที่ 20 ม.ค. 2020
น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ หรือ 1.1% ที่ระดับ 61.80 เหรียญ/บาร์เรล ขึ้นไปทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 8 ม.ค. 2020
ทั้งนี้ น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิด เพิ่มขึ้นราว 1 เหรียญ จากเมื่อวันพุธ และเพิ่มขึ้นมากว่า 6% นับตั้งแต่ปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
· พายุฤดูหนาวกระทบแหล่งพลังงานรัฐเท็กซัสปิดทำการ 6 วันทำการ ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจแก่เม็กซิโก
เนื่องด้วยรัฐเท็กซัสมีการส่งออกก๊าซผ่านท่อส่งของประเทศเม็กซิโก และการขนส่งก๊าซธรรมชาติ (LNG) ทางเรือ เพื่อไปยังท่าเรือ Freeport และ Corpus Christi และการปิดทำการดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณการส่งออกก๊าซไปยังเม็กซิโกลดลง 3.8 พันล้านคิวบิก/วัน ลดลงจากระดับเฉลี่ยช่วง 30 วันที่อยู่ที่ 5.7 พันล้านคิวบิค