อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่ง ได้แรงหนุนหลักตากแรงเก็งกำไรของตลาด
อัตราการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรมาจากแรงเก็งกำไรของตลาดต่างๆ ประกอบกับคาดการณ์ที่จะเห็นเงินเฟ้อปรับขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มเป็นกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยปี 2013 ที่ตลาดมีการหยุดการขึ้นอย่างรุนแรง อันเนื่องจากตลาดเผชิญภาวะ Panic หลังเฟดประกาศจะเริ่มต้นลด QE
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นเหนือ 1.3% เป็นครั้งแรกตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 ได้ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดรอบกว่า 1 ปี
ธนาคารกลางส่วนใหญ่ในโลกเลือกใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเวลานี้ ควบคู๋กับการใช้นโยบาย QE เพื่อนหนุนเศรษฐกิจช่วงวิกฤต Covid-19 ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดยังคงมีการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป แม้จะเห็นเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการระบาดของ Covid-19
อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรล่าสุด ดูจะสะท้อนว่านักลงทุนบางส่วนเริ่มต้นที่จะเห็นการใช้มาตรการคุมเข้มทางการเงินในเร็วๆนี้ มากกว่าที่จะผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจากโอกาสที่เงินเฟ้อปรับขึ้น
นักกลยุทธ์ระดับเศรษฐกิจมหภาคอาวุโส เผยว่า ความกังวลว่า QE จะจบลงของอีซีบีและเฟดอาจทำให้เกิดการยุติการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มองว่าเฟดน่าจะขยายเวลาการซื้อ QE ต่อไปเพื่อนหนุนให้เงินเฟ้อปรับขึ้น และเมื่อช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจดีขึ้น ก็อาจทำให้เฟด ส่งสัญญษณที่จะยุติ QE ได้
หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายตลาดหุ้นยุโรปจาก Barclays ระบุว่า การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนมีการเคลื่อนไหวแบบ Overdue แม้ว่าจะยังขาดการฟื้นตัวของแนวโน้มทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี 2021 แต่นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้
ดังนั้น หลังการปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ตลาดหุ้นก็อาจเห็นการชะลอท่ามกลางหลายๆภาคส่วนที่ค่อนข้างฟื้นตัวจากอัตราผลตอบแทนและแสดงภาวะ Overbought เช่น กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และธนาคาร
อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนอาจมีการยืนยันมากขึ้นถึงสัญญาณขาขึ้นของตลาดหุ้นมากกว่าเป็นสัญญาณเตือนแดนลบ ซึ่งการปรับตัวลงหมายถึงโอกาสในการช้อนซื้อต่อ
ที่มา: CNBC