· ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวระมัดระวังต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร-ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับขึ้น
ตลาดหุ้นเอเชียวันนี้เคลื่อนไหวผสมผสาน โดยมีปัจจัยสำคัญในตลาด
- คาดการณ์การเห็นเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
- เงินเฟ้อทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น
ทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นได้ช่วยหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนแท้จริงดูจะส่งผลให้มูลค่าในตลาดหุ้นมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ผลตอบแทนพันธบัตรค่อนข้างตอบรับกับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการจะเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญของนายไบเดนที่ดูจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของ Barclays ระบุว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯยังมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นต่อ จากประเด็นต่างๆ ดังนี้
- อัตราการติดเชื้อ Covid-19 ที่ลดลง
- แผนการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ
- การหารือถึงแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดนที่มีแนวโน้มเป็นไปได้มากขึ้น
- สัญญาณแนวโน้มระยะกลางทางเศรษฐกิจสหรัฐฯและหลังจากนั้นมีทิศทางเชิงบวกมากขึ้น
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเทศอื่นๆมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
- ธนาคารกลางต่างๆมีแนวโน้มจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในปีนี้
· ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง หลังจากธนาคารกลางจีนยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ด้านดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.19% ท่ี่ระดับ 6,780.90 จุด
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 0.96%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระตุ้นให้เกิดการเข้าซื้อหุ้นวัสดุ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและหุ้นวัฏจักรราคาถูกอื่น ๆ
ดัชนี Nikkei ปิด +0.46% ที่บริเวณ 30,156.03 จุด ด้านดัชนี Topix xbf +0.49๔ mujitfy[ 1ม938.35 06f
ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นวัฏจักรรวมถึง Yokohama Rubber และ Sumitomo Metal ซึ่งเพิ่มขึ้น 8.9% และ 7.2% ตามลำดับ
หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา
ด้านสายการบิน ANA Holdings เพิ่มขึ้น 5.8% ขณะที่ Japan Airlines เพิ่ม 5.7% ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าก็ฟื้นตัวเช่นกันโดย J.Front Retailing เพิ่มขึ้น 2.4% และ Takashimaya สูงขึ้น 1.6%
หุ้นที่เกี่ยวข้องกับชิปยังคงทำผลงานได้ดีโดย TokyoElectron พุ่งขึ้น 6.3%
ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นยังทำให้ภาคการเงินของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยภาคธนาคารเพิ่มขึ้น 1.8% และบริษัทประกันเพิ่ม 0.8%
· ภาพรวมรายวันดัชนี blue-chip ของจีนปิดปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 7 เดือน หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากเหล่านักลงทุนรู้สึกกังวลกับการประเมินมูลค่าหุ้นที่สูงและความเสี่ยงจากการคุมเข้มนโยบาย
โดยธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภาคเอกชนและสินเชื่อภาคครัวเรือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 แต่คาดการณ์ว่าทางธนาคารกลางอาจเริ่มใช้นโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น
นักวิเคราะห์ของ Capital Economic กล่าวว่า เงื่อนไขทางการเงินเข้มงวดขึ้นตั้งแต่ต้นปี เราคาดว่าทางธนาคารกลางจีนจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้ ดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -3.14% ที่ระดับ 5,597.33 จุด ซึ่งเป็นระดับรายวันที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.ปี 2020 ที่ผ่านมา ด้านดัชนี Shanghai Composite ปิด -1.45% ที่ระดับ 3,642.44 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางการซื้อขายอย่างระมัดระวังของตลาดโลก
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.9% ด้านหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง 1.4% ขณะที่หุ้นภาคธนาคารปรับตัวสูงขึ้น 0.5%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- หุ้นไทยปิดเช้าลบ 4.54 จุด จากแรงขายทำกำไรกลุ่มแบงก์-พลังงาน
SET ช่วงเช้าปิดที่ระดับ 1,495.97 จุด ลดลง 4.54 จุด (-0.30%) มูลค่าการซื้อขายราว 45,980.98 ล้านบาท นักวิเคราะห์ฯเผยตลาดหุ้นไทยเช้านี้ผันผวนค่อนข้างมาก จากแรงขายทำกำไรกลุ่มแบงก์-พลังงาน แต่ก็มีเลือกเล่นหุ้นเป็นรายตัวตามปัจจัยเฉพาะตัว กลุ่มยางพาราเล่นตามราคายางพาราที่ปรับขึ้น-ยังมีเรื่องกัญชง เป็นต้น โดยตลาดฯยังเฝ้าติดตามความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จะเข้ามาได้หรือไม่ตามที่กำหนดไว้ว่าจะเข้ามา 24 ก.พ.นี้
ด้านตลาดภูมิภาคแกว่งบวก-ลบ รอดูความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนบ้านเรารอติดตามการประชุมศบค.ชุดใหญ่วันนี้ ลุ้นคลายมาตรการคุมเข้ม บ่ายนี้ตลาดพักบานหลังไร้ปัจจัยใหม่หนุน พร้อมให้แนวรับ 1,490-1,485 แนวต้าน 1,510-1,515 จุด
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมชง ศบศ.พิจารณาจัดตั้งกองทุน 30,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยวในการปรับตัวให้เข้ากับสมดุลใหม่หลังโควิด-19 คลี่คลาย รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับมาในครึ่งปีหลัง ลั่นจะไม่ยอมปล่อยไปตามยถากรรมหรือต้องล้มหายตายจากไป
- อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 3-4% โดยเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปีนี้น่าจะยังหดตัว และติดลบประมาณ -0.50 ถึง -1.0%