• S&P Global Ratings ชี้ เศรษฐกิจไทยอาจทรุดหนักกว่า10% หากการฟื้นตัวจากวิกฤต Covid-19 ล่าช้า

    22 กุมภาพันธ์ 2564 | Economic News
   

รายงานฉบับใหม่ของสถาบันจัดอันดับ S&P Global Ratings ระบุว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงจะเผชิญกับการฟื้นตัวที่ล่าช้าทางเศรษฐกิจที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจทรุดตัวลึก


ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในแถบอาเซียน ดูจะได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ระลอกใหม่ และภาพรวมคาดว่าประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในแถบเอเชียน่าจะพลิกสถานการณ์กลับมาเติบโตได้เทียบเท่าช่วงก่อนการระบาดประมาณเดือนส.ค. ปีนี้


อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่กำลังเพิ่มมากขึ้นจากความล่าช้าในการกู้คืนเศรษฐกิจจาก Covid-19 ก็ดูจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคกินเวลาที่ยาวนานขึ้น และนำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม “ต้องอดทน” ต่อไปอีกหลายเดือน ขณะที่หลายๆรัฐบาลในพื้นที่มีการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มอีกครั้ง ควบคู่กับภาคครัวเรือนที่เลือกอยู่แต่ในที่พักอาศัยมากกว่า


นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2020 จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง และยังไม่สามารถจะผ่อนคลายสถานการณ์ Lockdown ได้ จึงมีแนวโน้มจะกดดันการฟื้นตัวของจีดีพีไตรมาสแรกของปีนี้

ภัยคุกคามใหญ่ที่สุดคือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค ท่ามกลางประชาชนที่เลือกใช้จ่ายน้อยลงและอยู่กับบ้านมากขึ้น และภาพรวมดูเหมือนสถานการณ์การฟื้นตัวจะยืดเยื้อออกไปอีกราว 2 เดือน ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สถาบัน S&P Ratings ปรับลดคาดการณ์ การเติบโตในปี 2021 ลงประมาณ 1% สู่ระดับ 5.2%


ประมาณ 2 ใน 3 ของการปรับตัวลดลงจะมาจากความอ่อนแอเกินคาดของกิจกรรมทงเศรษฐกิจในช่วง่ไตรมาสแรกที่อาจกระทบต่อไปถึงช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2022 มีโอกาสจะโตได้น้อยกว่าคาดการณ์เช่นกัน


ภาพรวมทางเศรษฐกิจในระยะยาว ดูจะได้รับผลกระทบจาก “ปัญหาคนว่างงาน” ที่นำไปสู่ผลเสียครั้งใหญ่ต่อยอดงบดุลและภาคแรงงาน ขณะที่หลายๆภาคธุรกิจตัดสินใจ “ปิดตัว” และทำให้ประชาชนยิ่ง “ตกงานมากขึ้น” สูญเสียทั้งทักษะด้านแรงงานและแรงบันดาลใจ ประกอบกับทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ยุค NEW NORMAL


S&P Ratings เรียกช่องว่างระหว่างความสำเร็จและยุคใหม่ รวมทั้งช่วงก่อนเกิด Covid-19 ว่าเป็น “ความเสียหายอย่างถาวร และอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทรุดได้ราว 7.4% และหากการฟื้นตัวยังล่าช้าออกไปอีกอย่างน้อย 2 เดือนก็อาจทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจแย่ลงมากกว่า 8.1%

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะเผชิญภาวะทรุดตัวลงอย่างถาวรครั้งใหญ่ที่สุดราว 10% และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะดิ่งลง 12%

โดยเฉพาะประเทศไทยที่พึ่งพาโครงสร้างและภาคการท่องเที่ยวเป็นหลักก็อาจเผชิญกับภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวได้ล่าช้าจากวิกฤตครั้งนี้ ขณะที่ปัจจัยที่อาจช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะมาจาก
- อุปสงค์ภายในประเทศอาจช่วยเสริมการเติบโตปีนี้ได้มากขึ้น
- โดยเฉพาะหากสหรัฐฯมีการกระตุ้นทางเศรษฐกิจมากขึ้นในเร็วๆนี้
- การฟื้นตัวของจีนอาจช่วยกลับมาสร้างเสถียรภาพได้เร็วกว่าที่คาด
- ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคและยอดนำเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจากประเทศอื่นๆในเอเชีย


อย่างไรก็ดี ภาพรวมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องได้รับวัคซีนอย่างเพียงพออย่างน้อย 40-50% ของค่าเฉลี่ยประชากรทั้งหมด จึงจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ แต่วี่แววการฉีดวัคซีนน่าจะเกิดขึ้นได้ประมาณช่วงครึ่งหลังของปีมากกว่า


ที่มา: The Nation, Trading Economics

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com