• “โพเวลล์” มีแนวโน้มจะลดการกล่าวถึง “ตลาดพันธบัตร”ท่ามกลางความไม่มั่นใจในการดำเนินนโยบายของเฟด

    4 มีนาคม 2564 | Economic News
   


นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด มีแนวโน้มที่จะกล่าวถ้อยแถลงในค่ำคืนนี้ ในเชิงโน้มน้าวตลาดการเงินที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “เฟด” ว่าจะอดทนต่อการคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำพิเศษไว้ได้นานแค่ไหน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่การระบาดสิ้นสุดลง

ขณะเดียวกัน แทนที่เฟดจะใช้ความพยายมในการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว แต่ประธานเฟดน่าจะใช้โอกาสในการกล่าวถ้อยแถลง ณ ที่ประชุม Wall Street Journal เพื่อ “ยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่เฟดจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการจ้างงานและเงินเฟ้อ” ภายใต้การคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเช่นนี้ต่อไปเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ประธานเฟดน่าจะส่งสัญญาณอย่าง “ชัดเจน” ในการหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำถึงความผันผวนในตลาดพันธบัตรที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


มุมมองของนักวิเคราะห์จาก JPMorgan

แนวทางของนายโพเวลล์เป็นการบรรเทาสภาวะตลาด และต้องการให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเฟด และการเน้นถึงความสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ภาพรวมการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในปีนี้ที่ปรับขึ้นจากที่อยู่ต่ำกว่า 1% ในช่วงต้นปี เป็นภาพสะท้อนของ
- ความคืบหน้าเรื่องโครงการฉีดวัคซีน
- คำสัญญาผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงเงินจำนวนมหาศาลของภาครัฐบาล
- มุมมองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คาดการณ์

“เบรนาร์ด” ย้ำเน้น “ความอดทน”

นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในสมาชิกบอร์ดของเฟด ย้ำถึงการที่เฟดจะยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป และจะ “อดทน” เพื่อรอเวลาที่เหมาะสม

ขณะที่ถ้อยแถลงของเธอในสัปดาห์ที่แล้วมีการกล่าวถึง “การจับตาการเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตร” และเธอน่าจะเป็นกังวลมากกว่าหากการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาจากปัญหาด้านการซื้อขาย หรือภาวะเงื่อนไขของตลาดการเงินมีความตึงตัว จนกระทบให้การบรรลุเป้าหมายของเฟดเป็นไปอย่างล่าช้า

นักลงทุนยังคงคาดการณ์ที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดน่าจะเกิดขึ้นได้ช่วงต้นปี 2023 เพราะเฟดมีโอกาสคงดอกเบี้ยระดับต่ำไว้จนกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อจะถึง 2%


มุมมองของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs

ช่วงต้นปี 2023 อาจจะยังเร็วเกินไป แต่ก็ไม่คิดว่าเฟดจะรอปรับขึ้นดอกเบี้ยในปี 2024


มุมมองของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก PGIM Fixed Income

นี่ไม่ใช่ครั้งล่าสุดที่เฟดคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นเวลานาน และการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอาจไปได้สูงมากกว่า 2% ได้ในช่วงประมาณ มิ.ย. - ส.ค. ก่อนที่จะลดความผันผวนลงในช่วงสิ้นปี

ทั้งนี้ เฟดมีความหลากหลายของวิธีการรับมือกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวหากจำเป็น


Guidance Lite

เฟดมีการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนที่ 1.20 แสนล้านเหรียญ โดยแบ่งเป็น
8 หมื่นล้านเหรียญ สำหรับตราสารหนี้
4 หมื่นล้านเหรียญ สำหรับพันธบัตร MBS

เฟดมีการให้คำมั่นจะเข้าซื้อต่อไปจนกว่าจะเห็นความคืบหน้าของเป้าหมายที่กำหนดไว้


นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด กล่าวถึงมุมมอง “ความเหมาะสม” ของารดำเนินนโยบายการเข้าซื้อพันธบัตร ณ ปัจจุบัน

ดังนั้น เฟดจึงจะแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนมากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

การคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำใกล้ศูนย์ เพื่อให้ตลาดแรงงานบรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มที่ และรอให้เงินเฟ้อขยับขึ้นแถว 2% และอาจยอมให้เงินเฟ้อปรับสูงกว่าเป้าหมายในบางช่วง

แต่เกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน จึงเป็นการเปิดให้ตลาดตีความในทางต่างๆ


Operation Twist

ทางเลือกอื่นๆ:
การกลับมาใช้นโยบายแบบ Operation Twist อาจทำให้เฟดตัดสินใจยกเลิกการถือครองตั๋วเงินคลังและเอาเม็ดเงินไปเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวแทน ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหรือภัยคุกคามจากแนวโน้มที่ต้องใช้ดอกเบี้ยระดับติดลบ

เฟดอาจตัดสินใจดำเนินนโยบายแบบเดียวกับออสเตรเลียในการปรับการควบคุม Yield Curve หรือเส้นโค้งของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนระยะสั้น


มุมมองของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Wrightson ICAP LLC

ประธานเฟดน่าจะมีท่าทีระมัดระวังเกี่ยวกับการกล่าวถึงคาดการณ์เรื่องนโยบายดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้กระเทือนต่อตลาดพันธบัตรในเวลานี้


ขณะที่การประชุมวาระต่อไปของเฟด 16-17 มี.ค.นี้ อาจตอกย้ำให้เห็นถึงการสนับสนุนของสมาชิกเฟดมากขึ้นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยปี 2023

นอกจากนี้ นายโพเวลล์ อาจเลี่ยงไปเน้นในเรื่อง “กรอบการดำเนินการรอบใหม่ ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินปัจจุบัน” ที่มีการปรับเปลี่ยนเมื่อปีที่แล้ว โดยที่เขาน่าจะพยายามเปลี่ยนแปลงความสนใจของตลาดให้เป็นไปตามแนวทางที่เฟดกำลังพิจารณามากกว่า


ที่มา: BNN Bloomberg

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com