ทองร่วงแรงทำต่ำสุดรอบ 9 เดือน หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่ง-ดอลลาร์แข็ง
ราคาทองคำดิ่งลงใกล้ทำต่ำสุดรอบ 9 เดือน โดยได้รับแรงกดดันหลักจาก
1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับพุ่งเหนือ 1.5% อีกครั้ง
2) การแข็งค่าของดอลลาร์ทำสูงสุดตั้งแต่ธ.ค. ปี 2020
3) แรงเทขายต่อเนื่องของ SPDR
ทั้งนี้ การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังเฟดส่งสัญญาณไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินใดๆในเวลานี้
ทองคำตลาดโลกปิด -0.9% ที่ 1,695.29 เหรียญ หลังทำต่ำสุดหลุด 1,700 เหรียญ ครั้งแรกตั้งแต่มิ.ย. ปี 2020 และเช้านี้ทำต่ำสุด 1,688 เหรียญ
สัญญาทองคำส่งมอบเดือนเม.ย. ปิด -0.9% ที่ระดับ 1,700.7 เหรียญ
· กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้ขายทองคำออก 4.08 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,078.3 ตันทำต่ำสุดตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2020 รวมขายต่อเนื่อง 2 วันติด เป็นปริมาณทั้งสิ้น 8.82 ตัน
ภาพรวม 6 เดือนติดต่อกันขายต่อเนื่อง 190.59 ตัน
ขณะที่ปี 2021 ตั้งแต่ต้นปี ถึงปัจจุบันขายออกทั้งสิ้น 92.44 ตัน
· นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered กล่าวว่า ราคาทองคำปรับตัวลงอีกครั้ง โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นแรง จากตลาดส่วนใหญ่ที่ผิดหวังกับถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ โดยราคามีการเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,700 เหรียญ และมีการทดสอบแนวรับถัดไปบริเวณ 1,689 เหรียญ แม้ว่าภาพทางเทคนิค ทองคำเวลานี้จะเผชิญภาวะ Oversold
· หัวหน้านักกลยุทธ์จาก Blue Line Futures ระบุว่า ทองคำมีโอกาสลงต่อ อันเนื่องจากกองทุน ETF มีการปิดสถานะในทองคำค่อนข้างหนัก แต่ในเวลาเดียวกันก็มีการเข้าซื้อเพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อราคาต่ำ
· ราคาซิลเวอร์ปิด -3.2% ที่ 25.24 เหรียญ
· ราคาพลาเดียมปิด -0.3% ที่ 2,346.19 เหรียญ
· ราคาแพลทินัมปิด -3.7% ที่ 1,123.49 เหรียญ
· สรุปถ้อยแถลงประธานเฟด
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดให้คำมั่นที่จะ “อดทน” ต่อการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างเหมาะสม
พร้อมกล่าวย้ำถึงการจะคงแนวทางการผ่อนคลายต่อไปจนกว่าชาวสหรัฐฯจะกลับมามีงานทำอีกครั้ง ซึ่งหากเขาจะกลับมาใช้นโยบาย “คุมเข้มทางการเงิน” ก็จะเกิดขึ้นต่อเมื่อการระบาดของไวรัสจบลงแล้ว และเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ นักลงทุนบางส่วน คาดหวังว่า นายโพเวลล์จะตระหนักดีถึงความกังวลบางส่วนเกี่ยวกับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเวลานี้ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น และภาพรวมเขายังคงกล่าวในเนื้อหาเดิม เรื่องการคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน จนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรง และกลับมาเติบโตได้เทียบเท่าช่วงก่อนการระบาด ประกอบกับจะพิจารณาจากเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯออกมาแย่ขึ้นกว่าคาดการณ์เล็กน้อย แม้ว่าจะเผชิญผลรกะทบจากสภาพอากาศที่หนาวจัด
ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวจากผลกระทบที่ได้รับจาก Covid-19 เป็นเวลาเกือบ 1 ปีในตอนนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที้ 745,000 ราย ลดลงจากที่หน่วยงาน Dow Jones ประเมินไว้ที่ 750,000 ราย ขณะที่สัปดาห์ก่อนมีการปรับทบทวนตัวเลขมาที่ 736,000 ราย
อย่างไรก็ดี ภาพรวมของรายงานเกิดขึ้นท่ามกลางสัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้
· วุฒิสภาสหรัฐฯโหวตลงมติเพื่อเริ่มหารือแพ็คเกจนายไบเดน 1.9 ล้านล้านเหรียญ โดยผ่านมติ 50 – 51 เสียงในการจะเริ่มประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการ Covid-19
อย่างไรก็ดี ภาพรวมการโหวตลงมติแพ็คเกจดังกล่าวในกระบวนการสุดท้ายกำลังเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ และพรรครีพับลิกันถูกคาดว่าจะใช้กลยุทธ์ “DELAY TACTICS” ในการยื้อเวลาการหารือให้นานเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้ พรรคเดโมแครตต้องมั่นใจว่า การลงมติในวุฒิสภาครั้งนี้จะต้องได้รับคะแนนเสียงจากส.ว.ของพรรคทั้งสิ้น 50 คนครบจำนวนในสภา เพื่อให้ร่างนี้สามารถผ่านได้โดยไม่ต้องได้รับมติเห็นชอบจากรีพับลิกัน
นอกจากนี้ พรรคเดโมแครตยังคงหวังและต้องการเพิ่มความช่วยเหลือไปยังรัฐขนาดเล็กของสหรัฐฯ พร้อมกับเพิ่มเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิรูปโครงสร้างอื่นๆ
· ทำเนียบขาว เผย ประชาชนเกือบ 160 ล้านคนจะได้รับ “เช็ค” ความช่วยเหลือจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดน 1.9 ล้านล้านเหรียญ
ภาพรวมภาคครัวเรือนกว่า 158.5 ล้านคน มีแนวโน้มจะได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด จึงเป็นส่วนสะท้อนถึงสัดส่วนประชากร 98% ที่ได้รับเช็คช่วยเหลือจากภาครัฐตามข้อกฎหมายช่วยเหลือในเดือนธ.ค. จะได้รับการช่วยเหลือต่อภายใต้มาตรการกระตุ้นครั้งใหม่นี้ด้วย
· CBO เผยคาดการณ์ ระดับหนี้สหรัฐฯในอีก 30 ปี มีโอกาสพุ่งแตะ 202% ของจีดีพีในปี 2051
ขณะที่ในปีนี้ มีสัดส่วนหนี้สินต่อจีดีพีสูงถึง 102% อันเนื่องจากค่าใช้จ่ายภาครัฐที่อยู่ในระดับสูงเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่ถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจช่วยลดยอดขาดดุลเฉลี่ยต่อจีดีพีอยู่ที่ 4.4% ในปี 2022-2031 จาก 10.3% ในปี 2021
แต่การคาดการณ์ยอดขาดดุลของสหรัฐฯ ระหว่างปี 2032-2041 ถูกคาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยที่ 7% ต่อจีดีพี และในปี 2042-2051 เฉลี่ยนจะอยู่ที่ 11.5% ของจีดีพี
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด ยังพบ 69 ประเทศทั่วโลกมียอดติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ภาพรวมยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกทะลุ 116 ล้านราย จากการที่ยอดติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มมา 437,298 ราย ทางด้านยอดเสียชีวิตทั่วโลกเข้าใกล้ 2.60 ล้านรายเร็วๆนี้
ยอดติดเชื้อในสหรัฐฯยังคงเพิ่มมากขึ้น กลับมามียอดติดเชื้อรายวันทะลุ 60,000 รายอีกครั้ง ทำให้ภาพรวมยอดติดเชื้อสะสมล่าสุดอยู่ที่ 29.51 ล้านราย และมียอดเสียชีวิตในประเทศเวลานี้รวม 533,388 ราย
สำหรับสถานการณ์ในไทย ข้อมูลล่าสุดทาง ศบค. รายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่ม 54 ราย รวมป่วยสะสม 26,162 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิต ณ ขณะนี้เพิ่มขึ้นรวม 85 ราย
สวนดุสิตโพล เผย ผลสำรวจความเห็นชี้ “คนไทยกังวล ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19” โดยสิ่งที่กังวลมากที่สุดคือผลข้างเคียงวัคซีน 82.71% ต้องการจะฉีดวัคซีนแต่ขอดูผลข้างเคียงก่อน 65.99%
· การฉีดวัคซีน Covid-19 ณ ปัจจุบัน พบว่ากว่า 112 ประเทศทั่วโลกเริ่มฉีดวัควีนแล้ว และมีการฉีดไปแล้วไม่น้อยกว่า 275.77 ล้านโดส
· ยุโรปเริ่มต้นพิจารณาข้อมูลวัคซีน Sputnik ของรัสเซีย
· อิตาลีรายงานการระงับการขนส่งวัคซีน Covid-19 จากบริษัท AstraZeneca ไปยังออสเตรเลีย
· องค์กรด้านการแพทย์ของแอฟริกาใต้ เผย การพิจารณาข้อมูลวัคซีน Pfizer รอบใหม่
· รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯคนใหม่ เผยว่า จะเดินหน้าใช้เครื่องมือเต็มรูปแบบเพื่อจำกัด “การส่งออกเทคโนโลยีของบริษัทจีน” และสินค้าอื่นๆของทาง Huawei รวมทั้งบริษัทอื่นๆของจีนด้วย เนื่องจากมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของสหรัฐฯ
· สหรัฐฯประกาศปิดกั้นเส้นทางการเงินของรัฐบาลทหารพม่าที่พยายามโยกย้ายเม็ดเงินจากเฟดสาขานิวยอร์กกว่า 1 พันล้านเหรียญ หลังจากที่มีการยึดอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศเมื่อ 1 ก.พ.
· แหล่งข่าวเผย อิหร่านส่งสัญญาณเชิงบวกในการเจรจานิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ แต่เป็นเวลาสั้นๆ
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งกดดันหุ้นเอเชียต่อเช้านี้ ท่ามกลางดอลลาร์แข็งค่า และเงินเยนทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 8 เดือน
ดัชนี ASX/S&P ของออสเตรเลียเปิด -1%
ดัชนีนิกเกอิเปิด -0.7%
ดัชนี Kospi เกาหลีใต้เปิด -0.24%
ด้านดัชนี E-Mini S&P500 Futures ก็เปิดร่วง -0.04%
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.25 - 30.45 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่เมื่อวานเงินบาทปิดตลาดเย็นอยู่ที่ระดับ 30.34/38 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.35 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทวานนี้อ่อนค่าตามทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยช่วงนี้แนวโน้มบาทยังอ่อนค่า เพราะดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็ง ค่า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาค่อนข้างดี ทำให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นขึ้นบ้างแล้ว
"ปัจจัยระยะสั้นที่จะมีผลต่อค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ยังไม่โดดเด่นมาก ต้องรอสัปดาห์หน้าที่จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) วันที่ 16-17 มี.ค.64 ซึ่งต้องจับตาว่าจะมีการออกมาให้ความเห็นต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐอย่างไร และการที่อัตราเงินเฟ้อเริ่ม ปรับตัวสูงขึ้น อาจจะเป็นแรงกดดันให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม"
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
-รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการประชุมทางไกลร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ กระทรวงสาธารณสุขว่า เป็นการหารือถึงไทม์ไลน์การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยจะเริ่มจากการจัดทำ Area Hotel Quarantine ในเดือนเม.ย.-พ.ค. โดยเริ่มนำร่องใน 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพงัน) เชียงใหม่ ชลบุรี (พัทยา)
-ศาลรัฐธรรมนูญ นัดแถลงด้วยวาจาและลงมติในประเด็นที่ประธานรัฐสภาขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับ หน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ วันที่ 11 มี.ค.
-นายกรัฐมนตรี ระบุความคืบหน้าในการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จะมีเฉพาะรัฐมนตรีที่เป็นโควต้าของแต่ละพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งให้หัวหน้าพรรคเสนอมาเพื่อดำเนินการไปตามขั้นตอน