• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2564

    5 มีนาคม 2564 | Economic News
   

·         ดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่า - โพเวลล์คงท่าที Dovish แต่ค่าเงินสกุลเสี่ยงทรุด

ดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดรอบเกือบ 3 ปี หลังจากที่ปรับขึ้นไปทำแข็งค่ามากสุดวานนี้ ท่ามกลางความผันผวนของตลาดพันธบัตร โดยถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดเมื่อคืนนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นมาเหนือ 1.5ทำสูงสุดในตลาดเอเชียวันนี้ที่ 1.5830หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นทำสูงสุดที่ 1.614%

ดัชนีดอลลาร์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย 91.66 จุดในช่วงต้นตลาดเอเชีย หลังจากที่วันก่อนปิด +0.7%

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.1% ที่ 1.19635 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากสุดรอบ 1 เดือน

ค่าเงินเยนอ่อนค่าแตะ 107.835 เยน/ดอลลาร์ แต่ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่ามากสุดรอบหลายเดือน  โดยเมื่อวานนี้พุ่งไปทำสูงสุดเหนือ 108 เยน/ดอลลาร์

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสะท้อนถึงนัยยะของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้เกิดกระแสคาดการณ์เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ขณะที่โครงการฉีดวัคซีน Covid-19 ยิ่งตอกย้ำมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ 



·         การจ้างงานสหรัฐฯมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในเดือนก.พ.
เนื่องจากมีการเปิดธุรกิจบริการมากขึ้น ท่ามกลางผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ที่ลดลง การเร่งอัตราการฉีดวัคซีนและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลังผลกระทบการระบาดของไวรัส ทำให้การฟื้นตัวของตลาดแรงงานกลับมาดีขึ้นและแน่นอนว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นในอีกหลายเดือนข้างหน้า.

อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานเฝ้าติดตามรายงานการจ้างงานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเตือนว่า สหรัฐฯเข้าสู่ปีที่สองของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้าอย่างมาก โดยชาวอเมริกันหลายล้านรายต้องประสบกับการตกงานและการว่างงานเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ อ้างอิงจากโพลล์สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 182,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้นเพียง 49,000 ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา  ขณะที่การจ้างงานลดลงในเดือนธ.ค.เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน





·         จ้างงานสหรัฐฯก.พ. มีแนวโน้มขยายตัวได้ แต่ “กลุ่มนักเศรษฐศาสตณ์” ไม่คาดว่าจะฟื้นกลับได้

ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนก.พ. มีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นได้จากภาคธุรกิจที่เริ่มกลับมาเปิดทำการได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีเสียงเตือนว่า “สภาพภูมิอากาศที่หนาวจัด” อาจส่งผลกับภาคธุรกิจบางแห่งได้

 

กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯจะออกมาเพิ่มขึ้นได้ราว 210,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. เมื่อเทียบกับ 49,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค.

สำหรับอัตราว่างงานถูกคาดว่าจะทรงตัวที่ 6.3แต่ภาพรวมรายเดือนมีแนวโน้มจะลดลงได้มากขึ้น จาก “โครงการฉีดวัคซีน” และ “การจ้างงานในกลุ่มภาคบริการ” ที่กลับมาอีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯถูกคาดว่าจะเปิดเผยรายงานทั้ง 2 ตัวในช่วงเวลา 20.30น. (ตามเวลาประเทศไทย)

 

·         หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays ไม่คาดว่าจะเห็นการจ้างงานสหรัฐฯเดือนก.พ. แข็งแกร่งได้มากนัก เนื่องด้วยสัญญาณการจ้างงานเริ่มฟื้นตัวไดประมาณช่วงกลางเดือนก.พ. และเขาคาดว่าจะเห็นการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าวราว 100,000 ตำแหน่ง



·         หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Grant Thornton คาดอาจยังไม่เห็นจ้างงานกลับมาได้เทียบเท่าช่วงก่อนการระบาดในเดือนก.พ. ปีที่แล้ว รวมถึงอัตราว่างงานที่อยู่ 3.5ในปีที่แล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ เธอคาดว่า น่าจะเห็นการจ้างงานในเดือนก.พ. ปีนี้ ขยายตัวได้เพียง 150,000 ตำแหน่ง ท่ามกลางข้อมูลในเดือนเม.ย. ปีที่แล้ว ที่จะเห็นว่าคนตกงานมีมากกว่า 20 ล้านคน

 

·         ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) แสดงความ “กังวล” เกี่ยวกับจำนวนยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่จะเพิ่มขึ้นจากการกลับมาเปิดทำการของหลายๆรัฐ

- รัฐเท็กซัส และรัฐมิสซิสซิปปี ประกาศยกเลิกมาตรการใส่หน้ากากอนามัยและอนุญาตให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้อย่างเต็มรูปแบบ

- ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส ประกาศ “กลับมาเปิดทำการ 100%” อย่างเป็นทางการ

- ผู้ว่าการรัฐคอนเนคติคัล ประกาศให้ภาคธุรกิจที่ได้รับอนุญาตสามารถกลับมาเปิดทำการได้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ 19 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป

และทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างข้างต้นที่ทำให้ผู้อำนวยการ CDC ค่อนข้างวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญาไวรัสโคโรนาในเชิงลึก

 

·         ดร.แอนโธนี ฟาวซี ที่ปรึกษาระดับสูงด้านโรคระบาดสหรัฐฯ ระบุว่า สมาชิกทหารบางรายที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน ถือเป็น “ส่วนหนึ่งของปัญหา”

 

 

·         ญี่ปุ่นขยายระยะเวลาการประกาศภาวะฉุกเฉินกรุงโตเกียวไปถึงวันที่ 21 มี.ค.

ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะยอดติดเชื้อ Covid-19 สะสมในประเทศที่ 433,000 ราย และยอดเสียชีวิตสะสมที่ 8,050 ราย

 

·         ออสเตรเลียขอให้คณะกรรมาธิการอียู ตรวจสอบอิตาลีในการตัดสินใจสั่งห้ามการขนส่งวัคซีนป้องกันโควิิดของ AstraZeneca

ขณะที่ทางอิตาลีได้เน้นย้ำ ถึงปริมาณวัคซีนที่หายไป จะไม่ส่งผลต่อโครงการเปิดตัวการฉีดวัคซีนของออสเตรเลีย

อย่างไรก็ดี อิตาลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการอียู สั่งห้ามการส่งออกวัคซีนของ AstraZeneca ในปริมาณเกือบ 250,000 โดส หลังจากผู้ผลิตยาไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาของสหภาพยุโรป

 

·         จีนกำหนดเป้าหมายจีดีพีปี 2021 สูงกว่า 6% ขณะที่นายกฯ เตือนตลาดการเงินยังคงมี “ปัญหาที่น่ากลัว”

 

นายกรัฐมนตรีจีน ประกาศการกำหนดกรอบเป้าหมายจีดีพีปีนี้ไว้สูงกว่า 6ในการประชุมรัฐสภาประจำปี ซึ่งการเติบโตดังกล่าวอาจมีการปรับลงเล็กน้อยได้

 

ขณะที่ปีที่แล้วจีดีพีจีนโตได้ 2.3และเป็นเพียงประเทศเดียวที่เศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา

 

·         จีนเพิ่มงบศึกษาและพัฒนามากขึ้น 7ต่อปี เพื่อผลักดันความก้าวหน้าสำคัญทางเทคโนโลยี

นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เผยว่า จีนจะทำการเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษาวิจัยและการพัฒนาในแผนเศรษฐกิจฉบับ 5 ปีข้างหน้า เพื่อผลักดัน “ความก้าวหน้าครั้งสำคัญ” ในด้านเทคโนโลยี

ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดรอยร้าวด้านเทคโนโลยี และกระทบกับบริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่แห่งต่างๆของจีน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Huawei และกลุ่มอุตสาหกรรมในหมวดเซมิคอนดักเตอร์

จีนมีความพยามจะมุ่งเน้นไปยังการสนับสนุนประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ

ดังนั้น ในช่วงระหว่างปี 2021 – 2025 จีนจะมีการเพิ่มงบประมาณด้านเทคโนโลยีอีก 7% ส่งผลให้มีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงกว่าของช่วง 5 ปีก่อน  โดยในปี 2020 จะเห็นงบทางด้าน R&D ปรับขึ้น 10.3% ที่ระดับ 2.44 ล้านล้านหยวน (3.78 แสนล้านหยวน) หรือคิดเป็น 2.4% ของจีดีพีปีดังกล่าว

นอกจากนี้ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายการวิจัยทรัพย์พื้นฐานอีกราวๆ 10.6%

 

·         ในการประชุมรัฐสภาจีน บ่งชี้ถึงข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งของฮ่องกงด้วย

 

·         “คุโรดะ” ผู้ว่าการบีโอเจ ชี้ถึงความจำเป็นจะต้อง คงระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้อยู่ “ในระดับต่ำ”

นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ จำเป็นต้องรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวให้มีเสถียรภาพในระดับต่ำจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ตลาดต่างๆค่อนข้างมีกระแสคาดการณ์ว่า บีโอเจอาจจะขยายกรอบพันธบัตรจาก 0.60% จากระดับปัจจุบันที่ 0.40เรียกได้ว่าเป็นการยอมให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวเคลื่อนไหวต่ำกว่าเป้าหมาย 0%

 

·         ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในสัปดาห์นี้นักลงทุนญี่ปุ่นเทขายพันธบัตรต่างประเทศรวม 3.6 ล้านล้านเยน (3.34 หมื่นล้านเหรียญ) ในช่วงสัปดาห์ที่สองและสัปดาห์ที่สามของเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

ซึ่งนับเป็นการขายสุทธิที่มากที่สุดในรอบสองสัปดาห์ นับตั้งแต่กระทรวงเริ่มรวบรวมข้อมูลในปี 2005 ที่ผ่านมา

 

·         ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters ชี้ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลงในเดือนม.ค. เนื่องจากการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด Covid-19


ภาพรวมตัวเลขคาดการณ์ อาจเห็นค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นอาจลดลง -2.1% ในเดือนม.ค.  เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังจากที่ข้อมูลในเดือนธ.ค. ปรับตัวลงมาที่ระดับ -0.6%

แต่เมื่อเทียบรายปีจะพบว่าข้อมูลในเดือนม.ค. มีโอกาส -3.1หลังจากที่ปรับขึ้นมาที่ 0.9% ในเดือนธ.ค.

นอกจากนี้ ตัวเลขจีดีพีของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวได้ 12.8% ในไตรมาสที่ 4/2020 ซึ่งอาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงแรกเล็กน้อยที่ 12.7%

อย่างไรก็ดี รัฐบาลญี่ปุ่น มีกำหนดจะเปิดเผยข้อมูลจีดีพีและข้อมูลภาคการใช้จ่ายของครัวเรือนในวันที่ 9 มี.ค. นี้

 

·         สหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรการค้าพม่า เรียกร้องจีนหนุนยุติการทำรัฐประหารจากเหตุความรุนแรงที่ทวีเพิ่มมากขึ้น


 

·         ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นทำสูงสุดในรอบเกือบ 14 เดือน ตลาดขานรับ OPEC+ ขยายเวลาปรับลดการผลิตถึงเดือนเม.ย.

 

ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นกว่า 1 เหรียญ/บาร์เรล ในปีนี้ และไปทำสูงสุดในรอบเกือบ 14 เดือน โดยตลาดได้รับปัจจัยหนุนหลักจาก “OPEC+ เห็นพ้องขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตจนถึงเดือนเม.ย.” เพื่อจะรอให้อุปสงค์น้ำมันมีการฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่านี้ ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา

สัญญาน้ำมัน Brent ส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับขึ้นทำสูงสุดที่ 68 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่ 8 ม.ค. ปี 2020 ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์นี้ปรับขึ้นได้ประมาณ 3%

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 93 เซนต์ หรือ +1.5% ที่ระดับ 64.76 เหรียญ/บาร์เรล และช่วงต้นตลาดทะยานไปได้ถึง 64.94 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com