· ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาเคลื่อนไหวผสมผสานกัน เนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐฯมีการโหวตรับแผนเยียวยา Covid-19 มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญ ด้วยมติ 50-49 เสียง ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเติบ
แต่ตลาดยังคงมีแรงกดดันครั้งใหม่จากผลตอบแทนพันธบัตรและหุ้นเทคโนโลยีที่ปรับตัวสูงขึ้น
ข่าวเศรษฐกิจอยู่ในแนวโน้มดีขึ้นยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากการส่งออกของจีนประจำเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 155% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าท่ามกลางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ปิดตัวลงเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและการเพิ่มขึ้นของหุ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นเทคโนโลยี
ด้านดัชนี Nasdaq futures ร่วงลง 1.0% และดัชนี S&P 500 futures ลดลง 0.2%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดลง 0.5%
· Standard Chartered ยังแนะนำเล่น "หุ้นจีน" และ "ดอลลาร์" มากกว่าพันธบัตรเอเชีย
· Meitu บริษัทแอพลิเคชันยอดนิยมของจีน มีการซื้อ Bitcoin และ Ethereum สูงถึง 40 ล้านเหรียญ
โดยแบ่งเป็นซื้อ Ether 22.1 ล้านเหรียญ และ Bitcoin อีก 17.9 ล้านเหรียญ และถือเป็นบริษัทล่าสุดที่ตัดสินใจเข้าซื้อ Cryptocurrrency หลังจากที่บริษัทด้านรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla และ Square มีการเข้าซื้อ Bitcoin ก่อนหน้า
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 7 เดือน หลังจากที่รัฐบาลจีนกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2021 ที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าทางการจีนอาจจะใช้นโยบายควบคุมเศรษฐกิจและตลาดต่างๆ
ทั้งนี้ ดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -3.5% ที่ระดับ 5,080.02 จุด ซึ่งเป็นภาพรายวันที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. ปี 2020 ด้านดัชนี Shanghai Composite ปิด -2.3% ที่ระดับ 3,421.41 จุด
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนบางส่วนปรับพอร์ตสมดุลก่อนหน้าวันสิ้นปีงบประมาณ ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเช่นกัน
ดัชนี Nikkei ปิด -0.42% ที่ระดับ 28,743.25 จุด ด้านดัชนี Topix ปิด -0.14% ที่ระดับ 1,893.58 จุด
โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นเริ่มต้นอย่างแข็งแกร่งในปี 2021 ดัชนี Nikkei แตะระดับ 30,000 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีเมื่อเดือนที่แล้วจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเปิดตัววัคซีน COVID-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หุ้นในประเทศอ่อนตัวลงในช่วงไม่กี่ช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดความกลัวว่าธนาคารกลางจะเข้ามาคุมเข้มทางนโยบาย
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุนสหรัฐฯ ท่ามกลางวุฒิสภาสหรัฐฯมีการโหวตรับแผนเยียวยา Covid-19 มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่ผู้นำเสียงข้างมากในสภาล่าง เผยจะลงมติร่างกฎหมายฉบับแก้ไขนี้ในวันอังคาร เพื่อส่งให้ประธานาธิบดีลงนามรับรองบังคับใช้โดยเร็ว ท่ามกลางพรรคเดโมแครตที่คาดหวังว่าจะทำให้เกิดการช่วยเหลือรอบใหม่ได้เร็วๆนี้ ก่อนกำหนดเส้นตาย 14 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.6% ด้านหุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้น 1.4% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก ขณะทีหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคลดลง 0.6%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
- ธนาคารทิสโก้ เตือนอย่ารีบช้อนหุ้นเทคฯ คาดราคาจ่อร่วงต่ออีก 10%
ธนาคารทิสโก้เผยราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงตามคาด จาก 2 ปัจจัยเสี่ยงที่เคยแจ้งเตือนลูกค้าช่วงต้นเดือน ก.พ. พร้อมเตือนอาจลงต่อได้อีก 10% ไม่ควรเข้าช้อนซื้อในช่วงนี้ แถมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จ่อพุ่งรับเศรษฐกิจเริ่มฟื้น
1. มูลค่าหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก
2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามคาดเพราะในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ราคาหุ้นเทคโนโลยีได้ปรับลงแรง โดย ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 ดัชนีหุ้น Nasdaq100 ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นเทคโนโลยีปรับตัวลงประมาณ -8% จากจุดสูงสุด ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564
· อ้างอิงจากข่าว Thestandard
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการ GDP ไทยปีนี้โต 2.6% ความหวังเร่งกระจายวัคซีน เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจัดแถลงข่าวในหัวข้อ ‘เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 หลังมีวัคซีน’ โดยยังคงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 2.6% แต่ได้ปรับกรอบประมาณการทางเศรษฐกิจให้แคบลงมาเหลือ 0.8-3.0% จากเดิม 0.0-4.5%
- อัยการสั่งฟ้อง 18 แนวร่วมราษฎรชุมนุม 19 กันยา ไผ่-ไมค์-รุ้ง เจอมาตรา 112 เตรียมส่งตัวฟ้องศาลอาญา
วันนี้ (8 มีนาคม) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก ประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่าพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง 18 แนวร่วมราษฎร ผู้ต้องหาจากการร่วมกันทำความผิดจากกิจกรรมชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลเร่งประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานภายในเดือนนี้ และให้บรรจุวาระที่นำเสนอโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน
ประกอบด้วย ส.อ.ท. หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมา เป็นลักษณะให้ภาคเอกชนเข้าร่วม ไม่มีวาระเฉพาะของภาคเอกชน ที่ต้องการนำเสนอรัฐบาลโดยตรง
- ศบค.พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 71 ราย ในปท. 41-ตรวจเชิงรุก 7-ตปท. 23
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 71 ราย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศล่าสุดอยู่ที่ 26,441 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 8,892 ราย และการตรวจคัดกรองเชิงรุก 14,688 ราย ส่วนผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 2,861 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายแล้ว 25,777 ราย เพิ่มขึ้น 33 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 85 ราย