• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 9 มีนาคม 2564

    9 มีนาคม 2564 | Economic News
   

· ดอลลาร์แข็งค่า ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากทิศทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว


ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 3 เดือนครึ่ง เมื่อเทียบกับสกลุเงินหลักส่วนใหญ่ โดยได้รับอานิสงส์จาก 2 ปัจจัยหลัก

1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้นต่อเนื่อง

2) โอกาสเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว


ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าไปอีก 0.1% ที่ 92.469 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ย.

ค่าเงินเยนอ่อนหนักทะลุ 109.235 เยน/ดอลลาร์ ทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 9 เดือน

ค่าเงินยูโรทรงตัว 1.8530 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.

ค่าเงินสวิสฟรังก์อ่อนค่าแตะ 0.9369 ดอลลาร์/สวิสฟรังก์ ซึ่งเป็นอ่อนค่ามากสุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.ค.

ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ 1.3834 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังไปทำต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.3779 ดอลลาร์/ปอนด์


· "แนนซี เพโลซี" โฆษกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯจะทำโหวตร่างกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับจากวุฒิสภาคืนนี้

ทั้งนี้ สภาคองเกรสจะทำการโหวตร่างกระตุ้นเศรษฐกิจที่วุฒิสภาส่งกลับมา ขณะที่ความคืบหน้าในการเข้าใกล้การอนุมัติร่างกฎหมายดังกล่าว "ขั้นสุดท้าย" ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นจำนวนเงินมหาศาลนับตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งพรรคเดโมแครตมีความตั้งใจที่จะผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ก่อนกำหนดการช่วยเหลือคนว่างงานจะหมดอายุลงในวันอาทิตย์นี้


· วุฒิสภาสหรัฐฯผ่านร่างกฎหมายเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว

วุฒิภาสหรัฐฯสามารถผ่านร่างแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ ด้วยการปรับแก้ไขร่างเพียงเล็กน้อย ก่อนส่งกลับคืนให้แก่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเมื่อวานนี้ และอาจเห็นสภาผู้แทนราษฎรมีการลงมติแก้ไขในวันนี้

ทั้งนี้ ในรายงานร่างกฎหมาย พบว่า ทางวุฒิสภามีการคงรายละเอียดแพ็คเกจไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการ "ปรับลด" แผนช่วยเหลือคนว่างงานรายสัปดาห์

สวัสดิการว่างงาน จาก 400 เหรียญ ลดลงมาที่ "300 เหรียญ" และจะขยายเวลาการช่วยเหลือจากปัจจุบันไปจนถึง "กันยายน"


สำหรับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ15 เหรียญ/ชั่วโมง ได้ถูกถอนออกไปจากช่วงต้นก่อนการลงมติในวุฒิสภา


อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการปรับแก้รายละเอียดบางส่วน แต่ก็คาดว่าร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับนี้จะได้รับมติเห็นชอบครั้งที่สองในวุฒิสภา และส่งผลให้ "นายไบเดน" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถลงนามร่างกฎหมายดังกล่าวได้ในช่วง "ปลายสัปดาห์นี้"


· ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ WHO ระบุว่า นี่คือช่วงเวลาปรับลงกว่าเท่าตัวของ Covid-19 ต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ แต่สถานการณ์ยังไม่จบ พร้อมเตือนว่า "อาจเห็นยอดติดเชื้อ Covid-19 กลับมาเพิ่มขึ้นได้


· Barclaycard เผย ค่าใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคอังกฤษเผชิญผลกระทบจาก Lockdown อีกครั้ง

ภาพรวมค่าใช้จ่ายผู้บริโภคของอังกฤษได้รับผลกระทบหนักช่วง 2 เดือนต่อเนื่องจนถึงเดือนก.พ. แตะระดับ -13.8% ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางเดือนม.ค. ที่ -16% แต่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับปรับตัวขึ้นทำสูงสุดในรอบ 12 เดือน

ค่าใช้จ่ายสำหรับกลุ่มสินค้าจำเป็นขยายตัวได้เพียง 5.3% นำโดยการซื้อขายออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยดิ่งหนัก -22.1% และหลายๆภาคธุรกิจยังคงปิดทำการในเวลานี้


อย่างไรก็ดี หลังเผชิญภาวะย่ำแย่ที่สุดเมื่อปีที่แล้ว ก็คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้งหากมีการคลาย Lockdown ที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิ.ย. - ปัจจุบัน

Barclaycard เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยภาพรวมคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น เพิ่มมา 4% สู่ระดับ 28% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาในปีที่แล้ว


· รัฐบาลจีนมีแผนเปลี่ยนแปลงระบอบการเลือกตั้งในฮ่องกง ที่จะนำมาซึ่ง "การปกป้อง" บทบาทระหว่างประเทศ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ต่างๆของนักเคลื่อนไหวที่มองว่า กรณีดังกล่าว เป็นจุดสิ้นสุดของความหวังจะเห็นประชาธิปไตยในฮ่องกง


· จีน เผยใบรับรองการฉีดวัคซีน Covid-19 สำหรับการเดินทางข้ามประเทศ โดยจีนมีการออกใบรับรองการได้รับการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางข้ามพรมแดน หรือเข้าร่วมกับประเทศอื่นๆ ในการออกเอกสารที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจของพวกเขา


· รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจเลือก "นายจุงโกะ นางากาวะ" CEO ของ Nomura Asset Management เพื่อร่วมเป็น 1 ใน 9 ของสมาชิกบอร์ดบริหารของบีโอเจ ท่ามกลางความท้าทายจากผลข้างเคียงของการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินมาเป็นระยะเวลานาน


· ญี่ปุ่นตัดสินใจปรับลดจีดีพี Q4/2020 จากภาคบริษัทต่างๆที่มีการปรับลดค่าใช้จ่าย

เศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วง Q4/2020 มีการขยายตัวได้น้อยกว่าที่ประเมินไว้ในรายงานขั้นต้น จากการที่บริษัทต่างๆมีการรัดเข็มขัดทางการเงิน ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กระทบต่อแผนการดำเนินธุรกิจ


การชะลอการเติบโต มีสาเหตุหลักๆมาจาก

- การหดตัวอย่างต่อเนื่องของสต็อกสินค้าเอกชน

- การลดค่าใช้จ่าย-ต้นทุนลง


ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ แม้ว่ายอดส่งออกของญี่ปุ่นจะอยู่ในทิศทางที่แข็งแกร่งก็ตาม


เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายตัว จะพบว่า "ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน" ได้รับผลกระทบหนักสุดในภาพรายปีเมื่อช่วงเดือนม.ค. ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีท่าทีระมัดระวังต่อการใช้จ่าย


เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวได้น้อยกว่าที่หลายๆฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยออกมาที่ 11.7% ในช่วงไตรมาสที่ 4/2020 โดยอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ในรายงานขั้นต้นที่ประเมินไว้ 12.7% สะท้อนถึงภาวะการหดตัวต่อเนื่อง 2 ไตรมาส แต่เมื่อนำข้อมูลรายไตรมาสเทียบกันจะพบว่าไตรมาสที่ 4 ขยายตัวได้มากขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เพียง 2.8% เดิมประเมินไว้ 3%


อย่างไรก็ดี ภาพรวมค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนขยายตัวมาที่ 4.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่น้อยกว่าที่ประเมินไว้ในขั้นต้นที่อยู่ที่ 4.5% และในส่วนของสต็อกคงคลังภาคเอกชน ประกอบด้วย วัตถุดิบและผลผลิตทางภาคการผลิต หดตัวลงมา -0.6% เดิมคาดว่าจะอยู่ที่ -0.4%


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบัน Dai-ichi Life Research Institute กล่าวว่า ถึงแม้จะมีวัคซีนที่สามารถเริ่มโครงการฉีดได้แล้วที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกสักระยะจึงจะเห็นผล ขณะที่คาดการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังมีทั้งปรับขึ้นและลง และคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 แต่อาจจะเป็นการยากที่จะเห็นเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้ จากสภาวะที่ไม่สดใสในช่วงไตรมาสที่ 4/2020


· "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เป็นเจ้าแรกที่เปิดตัวกองทุน Bitcoin จากอุปสงค์ของกลุ่มสถาบันต่างๆในภูมิภาค

มาเลเซียมีการเปิดตัว กองทุน Bicoin ภายใต้ชื่อ BCMG Genesis Bitcoin Fund-I หรือ BGBF-I อย่างเป็นทางการ นับเป็นเจ้าแรกที่มีการรับประกันถึงการจำหน่ายสินค้าประเภท Cryptocurrency รายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประกาศดังกล่าว เป็นการรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับสถาบันต่างๆที่ต้องการสินค้าประเภท Cryptocurrency ภายในภูมิภาคเอเชีย และกองทุนดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จากแพลทฟอร์ม Blockchain ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยการพัฒนาของ Calfin Global Crypto Exchang เพื่อ "สร้างความปลอดภัย" สำหรับการถือครองของกลุ่มลูกค้า


· อินโดนีเซียอนุมัติใช้วัคซีน AstraZeneca เป็นการฉุกเฉินแล้ว


· กลุ่มผู้ประท้วงพม่านับร้อยคนที่ถูกจับโดยกองทัพพม่า สามารถเดินทางออกจากพื้นที่ของเมืองย่างกุ้งแล้ว หลังมีการเรียกร้องจากให้ชาติมหาอำนาจฝั่งตะวันตก และสหประชาชาติให้ปล่อยตัวพวกเขาให้เป็นอิสระ


· ศาลสูงสุดแห่งประเทศมาเลเซียอนุญาตให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนท้าทายการเนรเทศพม่า


· ราคาน้ำมันปรับลง ท่ามกลางซาอุฯ เสี่ยงเผชิญภาวะอุปทานลดลง - ดอลลาร์แข็งค่า

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่เปิดบวกเช้านี้ โดยราคาได้รับแรงกดดันจาก

- ความกังวลเรื่องอุปสรรคทางด้านอุปทานในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก หลังเผชิญเหตุโจมตีวานนี้

- ความกังวลเรื่องการแข็งค่าของดอลลาร์ที่จะจำกัดความต้องการอุปสงค์น้ำมัน


สัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับลงราว 46 เซนต์ หรือ -0.7% ที่ 67.78 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ช่วงต้นตลาดวันนี้ปรับขึ้นไปทำสูงสุดแถว 69 เหรีย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับลง 52 เซนต์ หรือ -0.8% ที่ระดับ 65.53 เหรียญ/บาร์เรล หลังช่วงต้นตลาดทำ High ที่ 65.68 เหรียญ/บาร์เรล

นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า การปรับลงของราคาน้ำมันดิบส่วนหนึ่งมาจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ที่ยังไม่มีสัญญาณจะกดดันให้กลับมาอ่อนค่าลงได้ในเวลานี้


· ราคาน้ำมัน 70 เหรียญ อาจกระทบให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ล่าช้า

รายงานจาก Oilprice กล่าวว่า การยังตรึงการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ เป็นไปอย่างเหนือความคาดหมาย จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent สามารถทะยานเหนือ 70 เหรียญ/บาร์เรล ไปทำสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี และอาจกลายมาเป็น "ปัจจัยลบ" ที่กระทบกับการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันได้


หลังจบประชุม OPEC+ ในสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเกินคาดการณ์ของหลายๆฝ่าย ภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ท่ามกลางตลาดที่คาดหวังจะเห็นภาวะขาดแคลนอุปทานในจังหวะที่อุปสงค์กำลังฟื้นตัว

ราคาน้ำมันดิบวานนี้ทะยานได้เหนือ 70 เหรียญ/บาร์เรล เรียกได้ว่าเป็นผลดี และทำให้ราคาเคลื่อนไหวในสภาวะ "ขาขึ้น" และยังส่งผลดีต่อบริษัทน้ำมันต่างๆ รวมทั้งงบประมาณพลังงานของกลุ่มผู้ผลิตในแถบ OPEC+


แต่ "ข่าวไม่ดี" สำหรับราคาน้ำมันคือ

- การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน

- การนำเข้าของแต่ละประเทศ

- อุปสงค์น้ำมันใน "จีน" และ "อินเดีย"


ทั้งหมดนี้ อาจได้รับผลกระทบจาก "ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น" ที่จะสร้างแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อในช่วงที่สภาวะทางเศรษฐกิจฟื้นตัวจากที่ดิ่งลงช่วงไวรัสโคโรนาระบาด

อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นของราคาน้ำมันถือเป็น "ผลดี" ต่อราคาสินค้าและการบริการ ประกอบด้วย การซื้อขายตั๋วเที่ยวบิน หรือ การนำเข้าสินค้าน้ำมันในสหรัฐฯ เป็นต้น


· ปริมาณการกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯปรับตัวลงต่อ และยังได้รับผลกระทบหลังเผชิญภาวะอากาศหนาวจัด

รายงานจาก Bloomberg เผยว่า มีเพียง 7 โรงกลั่นน้ำมันจากจำนวน 18 แห่งในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ กลับมาเปิดทำการตามปกติ หลังเผชิญภาวะปิดทำการชั่วคราวอันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัด


ภาพรวม 18 โรงกลั่นน้ำมัน ทำให้การผลิตน้ำมันในรัฐเท็กซัสลดลงไปมากถึง 5.5 ล้านบาร์เรล/วัน

ผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อข้อมูลของ EIA อันจะเห็นได้จากการประกาศข้อมูลรายสัปดาห์ ที่พบว่าปริมาณการกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯดิ่งลงไปมากถึง 56% ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.พ. เรียกได้ว่าต่ำสุดตั้งแต่ที่ EIA มีการเริ่มต้นเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพ.ย. ปี 1990


· สหรัฐฯขายน้ำมันจาก "การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทำยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve - SPR)" เป็นจำนวน 10.1 ล้าบาร์เรล ในช่วงปีงบประมาณ 2021

สำนักงานงบประมาณฟอสซิลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (DOE) เผยรายงานว่า ในช่วงต้นเดือนก.พ. ปี 2021 พบการขายน้ำมันออกจาก SPR และรายได้จากการขายดังกล่าวจะถูกนำไปฝากไว้กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯจนถึงช่วงสิ้นปีงบประมาณ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com