• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 9 มีนาคม 2564

    9 มีนาคม 2564 | Gold News

ทองคำฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากผลตอบแทนสหรัฐฯที่ลดลง


· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น หลังจากลดลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากการลดลงของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ


· โดยราคาทองคำตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น 0.7% ที่ 1,692.21 เหรียญ หลังร่วงลงไปมากกว่า 1% ที่ระดับ 1,676.10 เหรียญเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 มิ.ย.


· ขณะที่ราคา Gold futures ปรับขึ้น 0.7% ที่ 1,690.30 เหรียญ


· นักวิเคราะห์อาวุโสฝ่ายการตลาดประจำ OANDA กล่าวว่า นักลงทุนที่รอซื้อราคาย่อตัว เกิดขึ้นหลังจากที่ราทองคำปรับร่วงลง 1.15% ในชั่วข้ามคืนและผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯได้ปรับลงเล็กน้อยซึ่งช่วยหนุนราคาทองคำ


· ราคาทองคำทางเทคนิคในระยะสั้นได้เข้าสู่ภาวะ Oversold ซึ่งอาจจะมีแรงหนุนบางส่วนที่ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นอาจจะถูกจำกัดที่บริเวณ 1,700 เหรียญ


· หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ของ NAB กล่าวว่า สภาพแวดล้อมของผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การเปิดตัววัคซีน และนักลงทุนที่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโต ได้กดดันความความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย


· นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวว่า การจะดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจต้องใช้เวลา ในการที่เฟดจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินไปอีกระยะหนึ่ง แต่เขาก็จะมีการจับตาการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอย่างใกล้ชิด และการดำเนินนโยบายของเฟดจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆไม่ใช่การขึ้นอยู่กับตัวเลขใดเพียงตัวเลขหนึ่


· ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำต่ำที่นับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปี 2020 ที่ผ่านมา


· ทองคำกับโอกาสแถว 1,600 เหรียญ!?

ราคาทองคำในตอนนี้ "จะสิ้นสุด" เพียงแค่นี้... "หรือปรับตัวลงต่อ"?

โดยภาพรวมยังไม่ชัดเจนว่าทองคำจะกลับลงไปหา 1,600 เหรียญได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี รายงานของ Investing ระบุว่า ส่วนหนึ่งที่ทองคำยังเป็นขาลงมาจาก

- แนวต้านของทองคำ "ขยับลง" มาต่อเนื่อง

- ระยะสั้น ทองคำมีโอกาสเป็น "ขาลง" มากกว่าขาขึ้น

- ราคาทองคำตลาดโลกทำต่ำสุดรายวันที่ 1,676 เหรียญโดยประมาณ ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2020

มุมมองนักกลยุทธ์อาวุโสจาก OANDA:

- ทองคำเคลื่อนไหวได้อย่างไม่สดใสนัก

- ทองคำมีการปรับขึ้นมาและปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ - ดอลลาร์ เป็นปัจจัยหลักกดดันทองคำ

- การที่ทองคำไม่สามารถกลับเหนือ 1,760 เหรียญ ถือว่าสภาวะการเคลื่อนไหวยัง "ย่ำแย่" อยู่

- ทองคำมีโอกาสกลับลงไปหาแนวรับ


หาก "ดอลลาร์" ยังแข็งค่าต่อเนื่อง โอกาสเห็นทอง "1,600 เหรียญ" ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น และอาจเกิดขึ้นได้ช่วงปลายสัปดาห์นี้

สัญญาณทางเทคนิคของทองคำอย่าง RSI ก็สะท้อนถึงภาวะ Oversold จึงตอกย้ำว่า อาจเห็นทองคำช่วง 2-3 วัน เคลื่อนไหวระหว่าง 1,690 - 1,720 เหรียญไปก่อน

การเคลื่อนไหวของทองคำต่ำกว่า 1,680 เหรียญ เรียกได้ว่า ทองลงมาแล้วเกือบ 12% โดยประมาณในปี 2021 นี้ และเมื่อเทียบกับ Record High ที่ทำไว้เกือบถึง 2,090 เหรียญในตลาด COMEX จะพบว่าสัญญาทองคำปรับลงมาแล้วกว่า 20%

ในทางเทคนิคทองคำจึงเป็น "ขาลง"


สำหรับปัจจัยที่อาจกลับมาเป็นบวกต่อราคาทองคำคือ "เงินเฟ้อ"

เนื่องจากการมาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับไบเดน 1.9 ล้านล้านเหรียญ จะเป็นตัวก่อให้เกิด "เงินเฟ้อ" เพิ่มสูงขึ้น และนับว่าประเด็นนี้เป็นบวกต่อราคาทองคำ

นอกจากนี้ แผนเศรษฐกิจดังกล่าวมีแนวโน้มจะทำให้ระดับหนี้ต่อจีดีพีปรับขึ้นกว่า 4 เท่า จึง "อาจกดดันดอลลาร์" และหนุนให้นักลงทุนกลับเข้าถือครองทองคำ แต่ก็อาจเกิดเหตุการณ์ "สวนทาง" กับมุมมองนี้ได้


หัวหน้านักกลยุทธ์ฝ่ายการตลาดโลกจาก Axi มองว่า

- ราคาทองคำอาจถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจเชิงบวก

- ราคาทองคำอาจถูกกดดันได้จากภาวการณ์ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ หรือเร็วกว่าที่คาดไว้

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับขึ้นขานรับมุมมองเศรษฐกิจสดใส

ซึ่งทั้งหมดนี้ อาจกดดันให้ทองคำปรับลงแรง และเป็นการปรับลงอย่างรวดเร็วตามมา


· Sprott's Grosskopf - แม้ทองคำจะลงไป 1,600 เหรียญ แต่ก็ยังเป็นมูลค่าที่ดีสำหรับกลุ่มผู้ผลิตและทองคำ

CEO ของ Sprott Inc. กล่าวว่า มูลค่าของทองคำในระยะยาวยังมีปัจจัยสนับสนุนอีกมาก แม้ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวได้อย่างน่าสนใจ และราคาทองคำเคลื่อนไหวต่ำก่า 1,700 เหรียญก็ตาม


มุมมองเชิงบวกในระยะยาวของทองคำ

- การใช้นโยบายเชิงผ่อนคลาย เพื่อปรับระบบการเงินให้มีสมดุล

- รัฐบาลต่างๆทั่วโลกมีการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากขึ้นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ

- ความหลากหายของกลุ่มผู้ต้องการถือครองสำหรับระยะยาว 5-10 ปี


ทั้งนี้ ถึงเฟดจะลดมุมมองเกี่ยวกับ "เงินเฟ้อ" แต่ภัยคุกคามที่แท้จริง และจะกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ และจะเห็นได้ว่า การปรับตัวสูงขึ้นของทองแดง, ไม้แปรรูป หรือแม้แต่ราคาน้ำมัน ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวนำไปสู่ "เงินเฟ้อ" ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เฟดต้องการ เนื่องจากเป็นสิ่งเดียวที่จะช่วยรับมือกับระดับหนี้ที่กำลังขยายตัวได้


และเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก จะเห็นว่าเงินเฟ้อมีโอกาสไปได้ถึง 2% ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯในเวลานี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นและเข้ากดดันทองคำ ขณะที่นักลงทุนก็มีการย้ายการลงทุนไปตลาดอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น "น้ำมัน", "อสังหาริมทรัพย์" หรือ "Cryptocurrecncy" จึงเป็นตัวจำกัดราคาทองคำระยะสั้นๆในตอนนี้ ควบคู่กับแรงขายที่เกิดขึ้นในตลาดพันธบัตร


· ซิลเวอร์ขยับขึ้น 0.8% ที่ระดับ 25.30 เหรียญ

· พาลาเดียมปรับขึ้น 0.3% ที่ 2,322.68 เหรียญ

· แพลทินัมปรับขึ้น 0.8% บริเวณ 1,144.49 เหรียญ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com