• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2564

    10 มีนาคม 2564 | Economic News
   

·         ดอลลาร์แข็งค่า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวเสถียรภาพ


ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าในวันนี้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ่อนค่าลงจากที่ทำระดับสูงสุดในรอบหนึ่งปี ส่งผลให้ ค่าเงินสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ ค่าเงินออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ดอลลาร์ อ่อนค่าลงหลังจากทำแข็งค่าในวันอังคารที่ผ่านมา และ Bitcoin ปรับลงหลังจากไปทำสูงสุดช่วงต้นตลาดบริเวณ 55,000 เหรียญ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 22 ก.พ. ปีนี้


ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าประมาณ 0.2% ที่ 92.147 จุด โดยปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ไปทำระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง ที่ 92.506 จุด

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ทรงตัวอย่างมีเสถียรภาพที่ 1.54% หลังจากที่ปรับลงต่อเนื่อง 3 วันหลังจากไปทำสูงสุดรอบ 1 ปีที่ 1.6250%

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.2% ที่ 1.18815 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่  1.18355 ดอลลาร์/ยูโร เมื่อวานนี้

ค่าเงินเยนอ่อนค่า 108.780 เยน/ดอลลาร์ หลังไปทำอ่อนค่ามากสุดรอบ 9 เดือนที่ 109.235 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินออสเตรเลีย อ่อนค่า 0.4%  ที่ 0.7684 ดอลลาร์/ออสเตรเลีย

ค่าเงินนิวซีแลนด์ อ่อนค่า 0.4% ที่ 0.7146 ดอลลาร์/นิวซีแลนด์


หัวหน้านักกลยุทธ์ค่าเงินของ Mizuho Securities เผยว่า เมื่อวานนี้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับลงหลังจากที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี  แต่เช้านี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไม่ได้ปรับลงต่อ จึงให้นักลงทุนพลาดการเข้าซื้อดอลลาร์จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น  ขณะที่การรีบาวน์ของดอลลาร์ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร

ดัชนีดอลลาร์ปิดแข็งค่าได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทบกับความเชื่อมั่นนักลงทุน จึงทำให้เกิดความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยแทน

บรรดานักวิเคราะห์ยังคาดว่าค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าภายในปีนี้ แต่การปรับแข็งค่าอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่

อย่างไรก็ดี นักกลยุทธ์ของ Westpac มองว่า ดัชนีดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ 91 จุด ทำให้ขณะนี้คาดว่าดอลลาร์มีโอกาสจะแข็งค่าไปได้ 94.50 จุด ก่อนที่จะกลับมาอ่อนค่าลงในช่วง ท่ามกลางเศรษฐกิจประเทศที่เหลือในโลกที่จะสามารถโตได้โดยปิดช่องว่างของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯได้  และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกจะช่วยหนุนค่าเงินในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ให้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง

 

·         ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าเหนือ 92 จุด - จับตา CPI

                                  

ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าและยืนเหนือ 92 จุดได้ตลอดวัน โดยดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นตามการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ยังทรงตัวได้เหนือ 1.5%

 



ภาพรวมดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนมีแรงหนุนหลักจาก

การฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น

โอกาสเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มากขึ้น

 

ตลาดจับตา

ข้อมูลปริมาณการยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Applications) โดยสมาคม MBA

รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ

การประมูลผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีในตลาดพันธบัตร

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ


20.30น. (วันนี้) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CPI)

20.30น. (พรุ่งนี้) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

20.30น. (วันศุกร์) ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ

22.00น. (วันศุกร์) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.พ.

 

ระดับสำคัญ

ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาราว 0.28% ที่ 92.21 จุด หาก Breakout เหนือสูงสุดเดิมเมื่อ 9 มี.ค.ในปีนี้ไปได้ที่ระดับ 92.50 จุด มีโอกาสกลับทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 200 วันที่ 92.85 จุด และ 94.30 จุด ที่เป็นสูงสุดเดิมเมื่อ 4 พ.ย. ปีที่แล้ว

 

ในทางกลับกัน หากดัชนีต่ำกว่า 91.19 จุด ที่เป็นราย SMA 100 วัน ก็มีโอกาสเห็นดัชนีปรับลงมาที่ 91.05 จุด ซึ่งเป็นสูงสุดเดิมเมื่อ 17 ก.พ. และอาจเห็นดัชนีลงมาที่ 90.61 จุด บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย SMA ราย 50 วัน

 

·         ข้อมูลดัชนีราคาโรงงานจีนโตเร็วขึ้นนับตั้งแต่ปี 2018 จากยอดส่งออกสูงขึ้น

- ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ปรับขึ้น 1.7% จากช่วงต้นปีนี้ โดยเป็นข้อมูลสูงเกินคาด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากข้อมูลในปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำมาก

ประกอบกับเวลานี้ คาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกส่อกระทบตลาดการเงิน จากภาวการณ์ฟื้นตัวที่ร้อนแรงทั่วโลกในเวลานี้

- ยอดส่งออกก.พ.แตะสูงขึ้นประวัติการณ์ที่ 154.9% ในหน่วยของดอลลาร์เมื่อเทียบกับปีก่อน

- จีนมีการกำหนดเป้าหมายจีดีพีเหนือ 6% ในปีนี้ โดยปรับขึ้นได้ปานกลาง เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้าที่คิดว่าจะปรับขึ้นได้มากกว่า 8%

- จีดีพีปี 2020 ปรับขึ้นมาได้ 2.3% (ต่ำสุดในรอบ 44% แต่แข็งแรงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น)

- จีน เตือนสภาวะเงื่อนไขต่างประเทศที่ยังคงยากต่อการหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว

- ดัชนีราคาผู้บริโภค CPPI ปรับลง 0.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน

 

·         ยูโรร่วงแตะ 1.1850 ดอลลาร์/ยูโร-ดอลลาร์รีบาวน์ก่อนทราบข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ

FXStreet ชี้ยูโรอ่อนค่าลงต่อกลับมาแถว 1.1850 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงต้นตลาดเอเชีย โดยได้รับแรงกดดันจาก

1) การแข็งค่าของดอลลาร์

2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯมีเสถียรภาพ

3) สภาวะ Risk-Off ในตลาด

4) ตลาดสนใจข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) คืนนี้






ในทางเทคนิคยูโรเป็น "ขาลง" หรือเผชิญภาวะ "อ่อนค่า"

- สัญญาณทางเทคนิคในกราฟราย 4 ชั่วโมง ต่ำกว่าเส้น SMA ราย 50100 และ 200

RSI ยืนเหนือ 30 จุด (ออกจากแดน Oversold)

 

ยูโรจึงอยู่ในภาวะตลาดหมีโดยสมบูรณ์

 

แนวรับวันนี้อยู่ที่ 1.1868 ดอลลาร์/ยูโร และ 1.1836 ดอลลาร์/ยูโร

หากหลุดลงมาจะเจอ 1.1815 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่แนวรับสำคัญทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโร

แนวต้านสำคัญรายวันอยู่ที่ 1.1902 ดอลลาร์/ยูโร และ 1.1915 ดอลลาร์/ยูโร หากหลุดลงมาจะเจอแรงกดดันไปที่ 1.1950 และ 1.1990 ดอลลาร์/ยูโร

 

·         RISK-OFF กดดันปอนด์เคลื่อนไหวแถว 1.3850 ดอลลาร์/ยูโร

ความเชื่อมั่นสินทรัพย์เสี่ยงลดลง ก่อนทราบ

ผลการลงมติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ความกังวลเรื่องยอดติดเชื้อเพิ่มกระทบ Reopening

กังวลต่อเศรษฐกิจอังกฤษ

 

OVERVIEW

Today last price    1.3865

Today Daily Change    -28 pips

Today Daily Change %    -0.20%

Today daily open    1.3893

 

TRENDS

Daily SMA20    1.3935

Daily SMA50    1.3769

Daily SMA100    1.3521

Daily SMA200    1.3183

 

·         นักเศรษฐศาสตร์จาก S&P Global Ratings ชี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจีนจากภาวะ Covid-19 "ยังเติบโตได้ไม่เต็มที่"

ทั้งนี้ ภาคบริการของจีนมีการชะลอตัวหลังจากรีบาวน์ในช่วงก่อนหน้า แม้ว่าภาพรวมจีนจะเป็นประเทศเดียวที่สามารถฟื้นตัวได้ในโลก แต่รายงานล่าสุด พบว่า จีนมีภาคบริการที่โตได้ 2.3% ในปี 2020 เพราะได้รับแรงหนุนหลักจาก "ภาคการส่งออก" ขณะทีการอุปโภคบริโภคยัง "อ่อนแอ"


·         เลขาธิการกระทรวงสาธารณสุขฮ่องกง แสดง "ความมั่นใจ" ว่าจะสามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทุกคนได้ภายในสิ้นปีนี้

 

·         บรรดานักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มขยายตัว 5.8% ในปี 2021 ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 5.5% โดยได้ปัจจัยหนุนจากการขยายตัวที่รวดเร็วในอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก อุตสาหกรรมการเงินและการประกัน ซึ่งสามารถชดเชยภาคส่วนอื่นๆ ที่ชะลอตัวลง เช่น การก่อสร้าง

สำหรับอัตราการว่างงานโดยรวมลดลงเหลือ 2.9% ภายในสิ้นปีนี้

 

·         น้ำดิบปรับลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ก่อนทราบข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ

น้ำมันดิบปรับลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร ก่อนทราบข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ

โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 63 เซนต์ หรือ 0.9% ที่ระดับ 66.89 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากช่วงก่อนนี้ที่ขึ้นไปแตะระดับต่ำสุดระหว่าง 66.50 เหรียญ

น้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 63.47 เหรียญ/บาร์เรล ลดลง 54 เซนต์ หรือ 0.8%

ทั้งนี้ ราคาได้รับแรงหนุนจากสัปดาห์ที่แล้วจากการตัดสินใจจะคงกำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ของกลุ่มโอเปกพลัส ส่งผลให้น้ำมันดิบ Brent พุ่งขึ้นเหนือ 70 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากการโจมตีของเยเมนฮูธิสบนแหล่งน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียก่อนที่จะกลับมาสงบลงเมื่อสัญญาณเตือนภัยลดลง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com