ถึงเฟดจะยังไม่ตัดสินใจทำการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ แม้จะมีคาดการณ์เพิ่มขึ้นว่าความผันผวนของตลาดพันธบัตรอาจบังคับให้เฟดเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
การเคลื่อนไหวดังกล่าว เราอาจเห็นได้ในการประชุมคณะกรรมาธิการเฟดในวันที่ 16 – 17 มี.ค. นี้ ซึ่งการประชุมในวาระนี้เป็นจุดสนใจของนักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนที่ให้ความสำคัญใกล้ชิด เพราะคาดว่าเฟดอาจดำเนินการบางอย่าง
1 สิ่งที่อาจเป็นไปได้คือการจัดการจะส่งสัญญาณปรับรูปแบบการดำเนินนโยบาย QE ใหม่ หรือที่เรียกว่า “Operation Twist” ซึ่งจะเป็นการขายระยะสั้นและมีการเข้าซื้อพันธบัตรที่มีอายุที่ยาวนานขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นเฟดเคยทำมาในช่วงเกือบ 10 ปีแล้ว ท่ามกลางช่วงเวลาที่ยุโรปเองก็เผชิญกับวิกฤต
‘การรับรู้แนวทางการดำเนินนโยบายของเฟด”
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีการปรับตัวขึ้นตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และไปทำระดับที่ไม่เคยเห็นมานานตั้งแต่ช่วงก่อนเกิด Covid-19 ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์
แต่ ตลาดการเงินต่างๆก็ค่อนข้างกังวลต่อการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เพราะอาจสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว ควบคู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การทำ “Twist” คือการจัดการปรับการเข้าซื้อผลตอบแทนพันธบัตร โดยมักจะสิ้นสุดการเข้าซื้ออัตราผลตอบแทนระยะยาว เพื่อมาถือครองผลตอบแทนที่อายุสั้นกว่า และเทขายเพื่อให้เกิดภาวะเท่ากัน ซึ่งในเวลานี้ เฟดมีภาวะยอดงบดุลลอยตัวสูงถึง 7.5 ล้านล้านเหรียญ และไม่ต้องการให้เกิดภาวะดังกล่าวแล้ว
นักกลยุทธ์ด้านดอกเบี้ยจาก Bank of America เฟดกำลังสูญเสียการควบคุมเส้นผลตอบแทนหรือ “Yield Curve” และหากมีการจัดการด้วยรูปแบบ Operation Twist ก็จะเห็ฯการสิ้นสุดการขายตราสารหนี้และทำให้เกิดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวแทน ซึ่งวิธีนี้อาจเป็นการดำเนินนโยบายที่ดีที่สุดของเฟด
อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายดังกล่าว อาจเป็นลักษณะ “ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว” ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น และสร้างความมีเสถียรภาพให้แก่ตลาดมากยิ่งขึ้นได้ รวมทั้งไม่ทำให้ยอดงบดุลของเฟดพุ่งทะลุสูงกว่าที่เป็นอยู่
และในท้ายที่สุด เราเชื่อว่า “เฟดจะไม่ทำอะไรที่ส่งผลต่อทางเลือกที่กระทบกับยอดงบดุลบัญชของเฟดอย่างไม่มีเสถียรภาพ” แต่น่าจะสร้างความชัดเจนต่อสิ่งที่เฟดจะดำเนินการให้แก่ตลาด พร้อมชัดเจนว่าไม่ได้สร้างปัญหาใดๆให้กับเศรษฐกิจ
ที่มา: CNBC