อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี -ดอลลาร์รีบาวน์กลับ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นทำสูงสุดใหม่รอบกว่า 1 ปี บริเวณ 1.642% ซึ่งเป็นสูงสุดตั้งแต่ ก.พ. ปี 2020 โดยได้รับอานิสงส์จาก
1) สัญญาณเชิงบวกของทิศทางเศรษฐกิจ
2) ความกังวลเงินเฟ้อ จากการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ 1.9 ล้านล้านเหรียญ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปี ปรับขึ้นแตะ 2.3888%
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยได้รับอานิสงส์จากโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการก้าวออกจาก Lockdown แต่ก็ยังมีสัญญาณที่ต้องระวังในเรื่องเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ ตลาดยังรับข่าวเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเป็นตัวหนุน “อุปสงค์ผู้บริโภค” ให้ฟื้นตัว และจะเป็น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อตามมา ท่ามกลางโครงการฉีดวัคซีนที่จะมาช่วยสิ้นสุดการใช้มาตรการ Lockdown
ข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต PPI มีการปรับขึ้นรายปีมากที่สุดรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง แม้ว่าจะยังขาดแรงหนุนจากตลาดแรงงาน และก็น่าจะยังยากสำหรับธุรกิจให้ก้าวผ่านดัชนีราคาที่สูงที่จะมีผลต่อกลุ่มผู้บริโภค
แรงเทขายพันธบัตรที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวพุ่งทะลุทำสูงสุดใหม่ และดัชนีดอลลาร์สามารถปิด +0.25% ที่ 91.668 จุด เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่
โดยรวมอ่อนค่าลงหลังทำสูงสุดไว้เมื่อวันอังคารที่ 92.506 จุด ภาพรวมเป็นการแข็งค่าที่แกร่งที่สุดตั้งแต่พ.ย. แต่ภาพรวมยังคงอ่อนค่าลง 3 วันทำการจากการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
อีซีบีมีการเผยแผนจะเพิ่มการอัดฉีดเม็ดเงิน เพื่อกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยูโรโซนอ่อนตัวลง จึงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ยูโรยังอ่อนค่าลง 0.3% ที่ 1.19505 ดอลลาร์/ยูโร แต่ยังปรับลงในรายสัปดาห์เพียงเล็กน้อย
บรรดาเทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับประชุมเฟดสัปดาห์นี้ ว่าจะมีสัญญาณอะไรเกี่ยวกับ “การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร” หรือไม่?
เยนอ่อนค่าขึ้นราว 0.52% บริเวณ 109.05 เยน/ดอลลาร์ เข้าใกล้อ่อนค่ามากสุดตั้งแต่มิ.ย. ปี 2020 ที่ทำไว้เมื่อวันอังคารบริเวณ 109.235 เยน/ดอลลาร์
BNP Paribas Wealth Management คาดดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าต่อจากภาวะเงื่อนไขทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค