สรุปประชุมบีโอเจ
- ประกาศเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งเรื่องเป้าหมายดอกเบี้ยและโครงการเข้าซื้อพันธบัตร
- ย้ำถึงแนวทางการเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัวได้จากวิกฤต Covid-19
- บีโอเจลดการการกล่าวถึงเป้าหมายเข้าซื้อพันธบัตรผ่านกองทุนตลาดแลกเปลี่ยน 6 ล้านล้านเยน (5.5 หมื่นล้านเหรียญ) และมีการจำกัดไม่ให้วงเงินสุงกว่า 12 ล้านล้านเยน
- บีโอเจคงดอกเบี้ยตามคาด โดยดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ -0.1% ขณะที่ดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ 0%
- บีโอเจปรับท่าทีปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงกรอบดอกเบี้ยขยายมาที่ -0.25% แทนที่ -0.2%
- ให้คำมั่นถึงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปราศจากการกำหนดวงเงินขั้นสูง และย้ำถึง “การจะเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตรต่อตราบเท่าที่จำเป็น” จนกว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นสู่ระดับเป้าหมาย 2% และมีเสถียรภาพ
- บีโอจยังตั้งใจจะปรับลดดอกเบี้ยเข้าสู่แดนลบต่อ หากจำเป็น แต่ก็มีสัญญาณถึงความพยายามจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อภาคธนาคารกลางต่างๆ ด้วยการเพิ่มดอกเบี้ย
ทั้งนี้ บีโอเจมีการปรับทบทวนกรอบนโยบายการเงินครั้งแรกนับตั้งแต่ก.ย. ปี 2016 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินฉบับพิเศษ อาทิเช่น “ความผิดปกติของตลาดการเงิน” และ “แรงกดดันของผลประกอบการธนาคาร”
การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงความต้องการใช้นโยบายผ่อนคลายเพื่อสร้างเสถียรภาพให้มีความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว
การปรับทบทวนนโยบายดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลาง
- ราคาหุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
- ดัชนี Nikkei ทรงตัวเหนือระดับสูงสุดรอบ 30 ปี
ภาพรวมดัชนี Nikkei มีการปรับขึ้นได้มากถึง 595 จุด หรือ +2% หลังจากทราบผลประชุมบีโอเจดังกล่าว ที่ประกอบไปด้วย การที่บีโอเจอาจเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ผ่านกองทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลต่อดัชนี TOPIX เพีงอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีผลต่อค่าเฉลี่ยดัชนี Nikkei
นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบีโอเจยังเกิดขึ้นหลังจากที่สมาชิกเฟดและยูโรโซนมีการกล่าวถ้อยแถลงในสัปดาห์นี้ ถึงการจะคงแนวทางผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนกว่าจเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้เต็มที่
อย่างไรก็ดี การทบทวนนโยบายการประชุมเดือนก.ย. ปี 2016 สะท้อนให้เห็นถึงพันธบัตรญี่ปุ่น ชะลอความร้อนแรงลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีก็ยังอยู่ใกล้ระดับศูนย์
ที่มา: Nikkei Asia