• เฟดอาจสร้างความผันผวนแก่ตลาด จากถ้อยแถลง “โพเวลล์” และสมาชิกคนอื่นๆสัปดาห์นี้

    22 มีนาคม 2564 | SET News


เฟดอาจยังเป็นปัจจัยหลักของตลาดในสัปดาห์นี้ จากการที่ “นายเจอโรม โพเวลล์” ประธานเฟดทีมีกำหนดการจะกล่าวถ้อยแถลงก่อนพบกับสภาคองเกรส และสมาชิกเฟดอีกหลายคนที่มีกำหนดการในสัปดาห์นี้


ตลาดพันธบัตรค่อนข้างตอบรับกับประชุมเฟดสัปดาห์ที่แล้ว และส่งผลอย่างผันผวนที่ผิดปกติ และสัปดาห์นี้ตลาดพันธบัตรก็ยังให้น้ำหนักกับถ้อยแถลงประธานเฟดและสมาชิกคนอื่นๆที่อาจมีนัยยะต่อตลาด


หัวหน้านักกลยุทธ์เรื่องอัตราดอกเบี้ย Wells Fargo กล่าวว่า ตลาดพันธบัตรในเวลานี้ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ขาขึ้น” แต่ภาพรวมกลับเผชิญกับความผันผวนมากยิ่งขึ้น และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตลาดพันธบัตรเป็น “หนึ่งในปัจจัย” ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในเวลานี้ และโดยปกติไม่เคยเกิดขึ้นเป็นกรณีเช่นนี้


ตลาดหุ้นสัปดาห์ที่แล้ว จะเห็นได้ว่า
ดัชนี Dow Jones ปิด -0.5%
ดัชนี S&P500 ปิด -0.8%
ดัชนี Nasdasq ปิด -0.8%




ดัชนี Russell 2000 ก็ยังคงปรับขึ้นได้ยากและสัปดาห์ที่ผ่านมาปิด -3%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นท่ามกลางตลาดพันธบัตรที่ “เผชิญแรงเทขาย” ในเวลานี้


ถ้อยแถลง “ประธานเฟด”




“นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด” มีกำหนดการจะกล่าวถ้อยแถลงคู่กับ “นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ” ต่อคณะกรรมาธิการสภาคองเกรส เกี่ยวกับมาตรการบรรเทา Covid-19 และทิศทางเศรษฐกิจ

ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ใน “วันจันทร์นี้” ประธานเฟด จะกล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมของภาคธนาคาร ณ ที่ประชุมธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements)

บรรดาสมาชิกเฟดรายอื่นๆก็มีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงในสัปดาห์นี้ ประกอบไปด้วย
นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด
นายแรนดัล ควอเลส รองประธานเฟดด้านกำกับดูแล
นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด
นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก


เงินเฟ้อและเฟด

โดยปกติ เฟดจะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรงเกินไป (Overheating)

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Grant Thornton กล่าวว่า สำหรับตลาดพันธบัตรและเฟด พบว่าการสื่อสารระหว่างกันเป็นปัญหา แต่ก็ไม่ได้ “ตึงเครียด”



ทั้งนี้ ตลาดพันธบัตรพยายามที่จะตอบรับกับความชัดเจนกับถ้อยแถลงของเฟด แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายเกี่ยวกับตัวเลขและผลลัพธ์มากกว่าสิ่งที่ตลาดพันธบัตรสะท้อนออกมา


หัวหน้าฝ่ายการลงทุนจากBNY Mellon Wealth Management คาดการณ์ว่า ตลาดพันธบัตรอาจสร้างความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นให้แก่ตลาดหุ้น และเงินเฟ้อก็อาจกลายมาเป็นปัญหาทั้งคู่ ดังนั้น ตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบราว 10% ที่จะกลับสู่ภาวะปรับฐาน และเรื่องของเงินเฟ้อ หรืออาจเห็นการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นตัวกระตุ้นได้


การเปลี่ยนการถือครอง “หุ้นเทคโนโลยี” มาสู่ “หุ้นกลุ่มวัฎจักร”

นักวิเคราะห์บางรายยังคาดการณ์ถึง “การเปลี่ยนผ่านการถือครองหุ้นครั้งใหญ่” จากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และหุ้นกลุ่มที่มีผลตอบแทนสูง (Growth Stocks) มาสู่ “หุ้นกลุ่มวัฎจักร”


ทั้งนี้ หุ้นกลุ่ม Growth Stocks และเทคโนโลยี มักจะอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และดัชนี Nasdaq เองก็มีการปรับฐานลงมาแล้วกว่า 10%


และสภาวะแบบนี้อาจเกิดขึ้น 6 หรือ 7 ใน 9 ครั้ง โดยยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงการถือครองครั้งใหญ่ จึงเห็นได้ถึงการถือครองหุ้นบริษัทรายใหญ่หรือหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมาก มาสู่หุ้นที่มี “คุณค่ามาก” (Value Stocks)

อย่างไรก็ดี มุมมองการเคลื่อนไหวดังกล่าวขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ไม่ได้ขึ้นไปมากกว่า 1.75% ในเวลานี้ แต่ก็ยังกังวลว่า “ความตั้งใจของเฟดที่จะปล่อยให้เงินเฟ้อปรับขึ้น จึงๆแล้วอาจเป็นผลลบต่อตลาดหุ้น”


ทิศทางของตลาดพันธบัตร

นักวิเคราะห์บางรายมองว่า โอกาสที่ตลาดพันธบัตรจะทรงตัวได้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ยังมี ยกเว้นแต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวสูงขึ้น

กองทุนบำนาญของภาคบริษัทมีแนวโน้มจะจัดสรรเงินทุนใหม่เป็นพันธบัตรก่อนจะสิ้นสุดไตรมาสแรกในวันที่ 31 มี.ค. และนี่อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นได้ ขณะที่ปีงบประมาณของญี่ปุ่นที่เริ่มในปีนี้ก็อาจเห็นการเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์มีความสัมพันธ์กับตราสารหนี้ที่มีแนวโน้มระดับราคาที่ค่อนข้างถูกมาก



นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจับตาคือ “การประมูลพันธบัตร” ที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ไม่ว่าจะเป็น
การประมูลพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2 ปี ในวงเงิน 6 หมื่นล้านเหรียญ ในวันพรุ่งนี้
การประมูลพันธบัตรอายุ 5 ปีในวงเงิน 6.1 หมื่นล้านเหรียญ ในวันพุธ
การประมูลพันธบัตรอายุ 7 ปีในวงเงิน 6.2 หม่นล้านเหรียญ ในวันพฤหัสบดี

โดยเฉพาะการประมูลพันธบัตรอายุ 7 ปี ที่ดูจะมีอุปสงค์ในตลาดค่อนข้างน้อยในเดือนที่แล้ว


ปัจจัยสำคัญสัปดาห์นี้

22 มี.ค.

- รายงานผลประกอบการบริษัท Tencent Music Entertainment


21.00น. ประธานเฟดกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements)


22.00น. ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ

22.00น. รายงานการเงินประจำไตรมาสของประเทศสหรัฐฯ

01.00น. ถ้อยแถลงของนางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก

01:30น. ถ้อยแถลงของนายแรนดัล ควอเลส รองประธานเฟดด้านกำกับดูแลกฎระเบียบธนาคาร


23 มี.ค.

07.15น. ถ้อยแถลงของ นายไมเคิล โบว์แมน หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด

- รายงานผลประกอบการบริษัท Adobe, IHS Markit, DouYu, GameStop และ Steelcase

20.30น. ยอดดุลบัญชีสหรัฐฯ

21.00น. ถ้อยแถลงของ นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์

22.00น. ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ


00:00น. ถ้อยแถลงของ “นายเจอโรม โพเวลล์ประธานเฟด” กับ “นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ”

ต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลบริการภาคธนาคารของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ


01:00น. การประมูลพันธบัตรอายุ 2 ปี ในวงเงิน 6 หมื่นล้านเหรียญ

01:25น. ถ้อยแถลงของนางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด

01:45น. ถ้อยแถลงของนายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก

03:45น. ถ้อยแถลงของนางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด

04:20น. ถ้อยแถลงของนายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์


24 มี.ค.

รายงานผลประกอบการบริษัท: General Mills, Shoe Carnival, KB Home, RH, Tencent, Embraer, Winnebago

20:30น. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ

21:45น. ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ

21:45น. ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐฯ


22:00น. ถ้อยแถลงของ “นายเจอโรม โพเวลล์ประธานเฟด” กับ “นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ”

ต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐฯ


01:00น. การประมูลอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ในวงเงิน 6.1 หมื่นล้านเหรียญ

01:35น. ถ้อยแถลงของ นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก

03:00น. ถ้อยแถลงของนางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก


25 มี.ค.

07:00น. ถ้อยแถลงของนายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก

รายงานผลประกอบการบริษัท: Darden Restaurants

17:30น. ถ้อยแถลงของ นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก

20:30น. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ

20:30น. ประมาณการณ์จีดีพีไตรมาสที่ 4/2020 ครั้งที่ 3 ของสหรัฐฯ

22:10น. ถ้อยแถลงของ นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด

22:30น. ถ้อยแถลงของ นายจอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก

01:00น. การประมูลพันธบัตรอายุ 7 ปี ของสหรัฐฯ วงเงิน 6.2 หมื่นล้านเหรียญ

01:00น. ถ้อยแถลงของ นายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก

7:00 p.m. San Francisco Fed’s Daly


26 มี.ค.

07:00น. ถ้อยแถลงของนางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก

20:30น. ข้อมูลค่าใช้จ่ายผู้ส่วนบุคคล / รายได้ส่วนบุคคลของสหรัฐฯ

20:30น. ดัชนีชี้วัดข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ

22:00น. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ


ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com