จีดีพีสหรัฐฯมีแนวโน้มรุดหน้า "จีน" ในปีนี้ แต่ต้องจับตาภาคที่อยู่อาศัย-รถยนต์ที่อ่อนแอ
สถาบัน ICIS ระบุว่า รายงานคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯในปี 2021 มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ของเฟดกำลังมีมุมมองเชิงบวกครั้งใหญ่ ต่อโอกาสการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ จากโครงการฉีดวัคซีนที่เริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็ว และการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญผ่านระบบเศรษฐกิจ
เฟดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจในช่วงกลางเดือนมี.ค. ปีนี้ โดยคาดว่าอาจเห็นจีดีพีขยายตัวได้มากถึง 6.5% จาก 4.2% (คาดการณ์เดิมในเดือนธ.ค.) ร่วมกับการเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตรต่อเดือนละ 1.2 แสนล้านเหรียญ
นับว่าเป็น "โอกาสแท้จริง" ที่จะเห็นจีดีพีสหรัฐฯเติบโตแซงหน้าเศรษฐกิจจีนที่ตั้งกรอบเป้าหมายไว้ที่ 6% ในปี 2021 นี้
ขณะเดียวกันก็เกิดกระแสความกังวลทางด้านเงินเฟ้อ จากหลักฐานที่เห็นได้ชัดของ "อัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาล 10 ปี" ที่ในเดือนส.ค.ปีที่แล้วอยู่แถว 0.5% ทะยานขึ้นมาเหนือ 1.6% ในปีนี้ และสร้างความผันผวนไปทั่วตลาดการเงินต่างๆ
สำหรับคาดการณ์เฟดที่จะยัง "คงดอกเบี้ยระดับต่ำ" จนถึงปี 2023
ผลสำรวจจาก NABE มองว่า มีโอกาสเห็นเฟดเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงปี 2022 จากความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลัก
สภาพอากาศหนาวจัดที่ผ่านมาในช่วงเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ ก็ดูจะส่งผลกระทบอยู่บ้าง แต่ราคาในกลุ่มสินค้าด้านวัตถุดิบ อาทิ น้ำมันดิบ, ทองแดง และไม้ ก็ดูจะปรับขึ้นต่อเนื่อง "ยิ่งตอกย้ำโอกาสเงินเฟ้อสูงขึ้น"
ส่วนหนึ่งจากเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นผลจาก การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง หลังล่าสุดผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญตามแผนไบเดน ขณะที่ช่วงปลายปีที่แล้ว นายทรัมป์ อำลาตำแหน่งประธานธิบดีสหรัฐฯ ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงเงิน 9 แสนล้านเหรียญ ขณะที่ปีนี้มีแววจะเห็นการใช้มาตรการต่อเนื่องต่ออีกกว่า 3 ล้านล้านเหรียญที่อาจเกิดเป็น "2 ฉบับแยก" สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการด้านสังคม
การผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นได้แม้จะได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคตรงข้ามน้อยในสภาคองเกรส และสภาวะทางการเมืองในสหรัฐฯเวลานี้ก็บ่งชี้ได้ว่า ข้อตกลงโครงสร้างพื้นฐาน มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้มากกว่าโครงการต่างๆเพื่อสังคม
อย่างไรก็ดี หากแผนโครงสร้างพื้นฐานสามารถประกาศใช้ได้จริงภายใต้วงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญ ตามที่นายไบเดนได้เคยหาเสียงไว้ ก็จะหมายรวมถึงการลงทุนในภาคการขนส่งเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มยานยนต์ รวมไปถึงภาคที่อยู่อาศัย และการก่อสร้าง ที่มีความเป็ฯไปได้ที่อาจเตรียมการเพื่อหนุนอุปสงค์ทางด้านยารักษาโรคด้วย *ดังนั้น แนวโน้มจีดีพีในปี 2021 และ 2022 อาจเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง*
โครงการฉีดวัคซีน "ช่วยเพิ่ม" คาดการณ์ทางเศรษฐกิจ
สถาบันจัดอันดับ Moody's Investor Service มีการเปลี่ยนแปลงมุมองด้านอุตสาหกรรมทางการแพทย์ทั่วโลกเป็น "เชิงบวก" จากเดิมที่คาดว่าอยู่ในระดับ "ทรงตัว" อันเนื่องจากโครงการฉีดวัคซีน Covid-19 ที่มาช่วยแก้ไขปัญหา และเพิ่มอุปสงค์ต่างๆ รวมทั้งผลประกอบการได้ก่อนที่ จะเกิดการขึ้นภาษี, ดอกเบี้ย หรืการดำเนินการอื่นๆ
Moody's คาดการณ์จีดีพีจีนปีนี้ที่อาจโตได้ 7.5% ขณะที่สหรัฐฯอาจโตได้ 4.7% และยูโรโซนอยู่ราว 3.7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่เฟดคาดการณ์ไว้ว่าสหรัฐฯจะสามารถโตได้ 6.5%
นักเศรษฐศาสตร์บางส่วน คาดการณ์ว่า จีดีพีสหรัฐฯในปี 2021 นั้นมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น โดยล่าสุดปรับขึ้นมาที่ 5.7% จากคาดการณ์เดิมในเดือนก.พ. ที่อยู่บริเวณ 4.9% (เดิมม.ค. คาด 4.2% และ ธ.ค. คาดไว้ที่ 4.0%)
ข้อมูลภาคที่อยู่อาศัยและยานยนต์ยังคงผันผวน
2 ปัจจัยสำคัญที่ยังเป็นสภาวะขาลงและตลาดจับตามองคือ
1) ที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ
2) กลุ่มยนตรกรรม-ยานยนต์ของสหรัฐฯ
ซึ่งทั้งสองตัวนี้หลังจากที่ปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งมาเป็นระยะเวลาหลายเดืนอ ล่าสุดก็ดูจะย้อนกลับมาปรับลง จากอุปสงค์ทางการแพทย์ที่ฟื้นตัวได้
ข้อมูลการเริ่มต้นก่อสร้างบ้านในเดือนก.พ.ของสหรัฐฯ ออกมา -10.3% (ภาพรายปีหดตัวลงมาที่ 1.42 ล้านนยูนิต หลังเดือนม.ค. ปรับลงมา -5.1%)
สำหรับข้อมูลยอดขายรถจักรยานยนตร์ ปรับลง -5.7% ที่ระดับ 15.7 ล้านคัน ลดลงราว 6.6% จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจาการขาดแคลนอุปกรณ์ชิปที่ใช้ในการผลิต
ที่มา: ICIS