· ดัชนีฟิวเจรอ์สหุ้นสหรัฐฯเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว ท่ามกลางความกังวลครั้งใหม่ของเหล่านักลงทุนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
ดัชนี Dow futures +10 จุด
ดัชนี S&P 500 futures +0.04%
ดัชนี Nasdaq 100 futures +0.15%
ขณะที่เมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นปรับตัวลง ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯและต่างประทเศที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยดัชนี Dow Jones -300 จุด กดดันหุ้น Caterpillar ร่วงลง 3.4% ดัชนี S&P 500 -0.76% จากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มสายการบิน และดัชนี Nasdaq Composite -1.12& เนื่องจากหุ้น Facebook, Apple และ Tesla ที่ปรับตัวลง
· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าทำระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 เดือน เนื่องจากมาตรการ Lockdown จากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในยุโรปและการขึ้นภาษีของสหรัฐฯที่อาจเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง
ดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯและหุ้นยุโรปปรับลดลงในการซื้อขายตลาดเอเชีย
ดัชนี S&P 500 E-Mini futures -0.1%
ดัชนี FTSE futures -0.65%
ดัชนี Eurostoxx 50 futures -0.6%
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลง 1.3% หลังจากลดลง 0.9% เมื่อวานนี้ ที่ระดับ 674.18 จุด
ดัชนีปรับตัวลงอย่างน่าผิดหวังในเดือนมี.ค.หลังจากปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 5 เดือน เนื่องจากก่อนหน้านี้สินทรัพย์เสี่ยงได้รับผลกระทบจากความกลัวว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้จากการเปิดตัววัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาที่ประสบความสำเร็จและการกระตุ้นทางการคลังของสหรัฐฯ
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เนื่องจากความกังวลที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการกลับมาระบาดของไวรัสโคโรนาในยุโรปและราคาน้ำมันที่ลดลงทำให้ความหวังของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกลดลง
ดัชนี Nikkei ปิด -2.04% ที่ระดับ 28,405.52 จุด ด้านดัชนี Topix -2.18% ที่ระดับ 1,928.58 จุด ซึ่งเป็นภาพรายวันที่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. และลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ
หุ้นกลุ่มพลังงานลดลงเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในเยอรมนีและข้อสงสัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา จึงกดดันความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการน้ำมันที่ฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม หุ้นเทคโนโลยีบางส่วนได้รับแรงหนุนจากแผนการเพิ่มการลงทุนในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนอุปทานทั่วโลก
ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นค่อนข้างลงทุนอย่างระมัดระวังเนื่องจากนักลงทุนคาดว่าจะทำกำไรก่อนสิ้นปีงบประมาณในวันสุดท้ายของเดือนนี้
· ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลง ทำระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายและความตึงเครียดระหว่างจีนกับประเทศตะวันตก
ดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -1.61% ที่ระดับ 4,928.69 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.
ดัชนี Shanghai Composite ปิด -1.3% ที่ระดับ 3,367.06 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรปและการกลับมาใช้มาตรการ Lockdowns
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.5% ด้านหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลง 1.4% ท่ามกลางตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อรไหวในแดนลบ ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้น 1.4%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
- กนง.มีมติเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.50%
วันที่ 24 มีนาคม 2564 นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง และเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 3% และ 4.7% ในปี 2565 และ 2565 ตามลำดับ ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้างจากการปรับลดนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- กทม.พบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 352 ราย อยู่ระหว่างสอบสวน 118 ราย
สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ใน กทม.ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 20.00 น. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 352 ราย จากวานนี้ 21 ราย และ อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 118 ราย