· “เยลเลน” หนุนการซื้อหุ้นกู้ของภาคธนาคาร ขณะที่เผชิญข้อเรียกร้องจากส.ว. ให้กำหนดว่า BlackRock เป็นธนาคารที่ล้มเหลวมาก
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯกล่าวต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยมีสาระสำคัญ คือ
- เยลเลนหวังว่าการตัดสินใจของเฟดในปีที่ผ่านมา จะอนุญาตให้ภาคธนาคารซื้อคืนหุ้นกู้ของพวกเขาได้อีกครั้ง
- บริษัทภาคอุตสาหกรรมรายใหญ่ดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากมีการจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นช่วง Covid-19 ระบาด
เยลเลนเผชิญข้อซักถามจากหนึ่งในสมาชิกวุฒิสภาที่ต้องการให้มีการบริหารจัดการทางการเงินกับ BlackRock หนึ่งในธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯที่เหมือนจะเดินหน้าสู่เส้นทางความล้มเหลวครั้งใหญ่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินต่างๆ
เยลเลน ระบุเพิ่มเติมว่า BlackRock ควรมีการศึกษาแนวทางความเสี่ยงอื่นๆเพิ่มเติม เนื่องจากระบบที่มีอาจไม่ “ดีที่สุด”
· “โพเวลล์” คาดเงินเฟ้อปรับขึ้น แต่ไม่ยากเกินควบคุม
· “นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ชี้ การเปลี่ยนแปลงของตลาเป็นการปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใส
ขณะเดียวกัน นายโพเวลล์ ไม่แสดงความกังวลเรื่องการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากมองว่าเป็นการตอบรับกับการปรับตัวสูงขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้น การปรับตัวของตลาดการเงิน “อย่างเป็นลำดับขั้น” อาจสะท้อนถึงมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯเคลื่อนไหวอย่างสดใส
สำหรับการกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐฯ นายโพเวลล์ ตอบข้อซักถามของส.ว.พรรครีพับลิกัน โดยไม่ได้เป็นกังวลเกี่ยวกับการเติบโตที่ร้อนแรงเกินไปของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มาจากมาตรการกระตุ้นของนายไบเดนวงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญ
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับขึ้นจากต้นปีบริเวณ 0.9% ในเดือนม.ค. มาที่ 1.63% ในเวลานี้ และทำสูงสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในรอบ 14 เดือนบริเวณ 1.75% ก็จะเห็นได้วาตลาดมีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้นในไม่กี่วันที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี บรรดาสมาชิกเฟดส่วนใหญ่ ยังคงกล่าวย้ำถึงการจะจับตาไปยัง “การเปลี่ยนแปลงของตลาด” ที่อาจได้รับผลกระทบอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวเตือนว่าหากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลกระทบหรือมีสัญญาณเตือนใดๆ เฟดก็พร้อมที่จะเข้าแทรกแซง
· “โพเวลล์” ชี้ ค่าเงินดิจิทัลดอลลาร์ทั่วทุกมุมโลกมีความแข็งแกร่งมากกว่าค่าเงินดิจิทัลหยวน
· “นางเบรนาร์ด” ยังระบุว่า เฟดยังยึดมั่นต่อแนวทางการใช้ผลลัพธ์ทั้งหมดมาเป็นตัวกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบาย
นางลาเอล เบรนาร์ด สมาชิกบอร์ดบริหารของเฟด กล่าวว่า คณะกรรมาธิการจะมุ่งเน้นไปยัง ความเป็นไปได้ของปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในระบบการเงิน ไม่ว่าจะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตลอดการเปลี่ยนผ่านว่าจะสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระบบการเงินอย่างไร เพื่อให้เกิดการกำหนดกรอบเวลาในการหาแนวทางควบคุมความเสี่ยงขนานใหญ่ต่อระบบการเงินที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
· นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เล็งเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในปีนี้ ท่ามกลางการระบาดที่ใกล้สิ้นสุดลง พร้อมมองเงินเฟ้อปีนี้มีโอกาสไปแตะ 2.5% ก่อนจะค่อยๆอ่อนตัวกลับลงมาในปีหน้า
· “นายจอห์น วิลเลียม” ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ชี้ กรอบเวลาขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะขึ้นอยู่กับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
“นางแมรี ดาร์ลี” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ย้ำว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในเวลานี้ ยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายที่เฟดกำหนด ดังนั้น เฟดจะ “อดทน” รอต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย
· “นายราฟาเอล บอสติก” ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า คาดว่า เฟดอาจจะสามารถเริ่มต้นขึ้นดอกเบี้ยได้ในปี 2023
· “นายโรเบิร์ต เคพแลนด์” ประธานเฟดสาขาดัลลัส มีมุมมองว่าเฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้ก่อนสิ้นปี 2022 กล่าวว่า การดำเนินนโยบายของเฟดจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ
· “นายเจมส์ บุลลาร์ด” ประธานเฟดสาขาเซนหลุยส์ ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีมุมมองเชิงบวก แต่ก็ต้องการ “หลักฐาน” สนับสนุนความแข็งแกร่งมากกว่านี้ก่อนจะปรับขึ้นดอกเบี้ย
· “นายชาร์ล อีวานส์” ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวว่า การดำเนินนโยบายของเฟดจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น เฟดจึงจะยังไม่ทำการถอนหรือลดการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน จนกว่าจะเห็นทิศทางเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว และเงินเฟ้อปรับขึ้นมาสู่ค่าเฉลี่ยกลาง 2% ประกอบกับการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ เขายังคาดการณ์ว่า
- อัตราว่างงานปีนี้มีโอกาสปรับลงไปแถว 4.5%
- มุมมองส่วนตัวคาดจีดีพีสหรัฐฯปีนี้โตได้ 6.5%
- ณ เวลานี้ มีเหตุผลมากมายที่มาสนับสนุนในทิศทางเชิงบวก แต่ก็มีบางส่วนยังน่าเป็นกังวล
· นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ ชี้ dot plot ของเฟดไม่ใช่แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน ขณะเดียวกันเขาก็ยังไม่มีการกล่าวถึงแนวทางการควบคุมอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control (YCC))
ที่มา: CNBC, Reuters, Business Standard, Financial Times, Yahoo Finance, Forexlive