ดอลลาร์แข็งค่า – แนวโน้มเศรษฐกิจสดใส ท่ามกลางความไม่แน่นอนในยุโรป
อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯอ่อนแรง หลังข้อมูลเศรษฐกิจพบเงินเฟ้อชะลอตัว
- ข้อมูล C ore PCE Price Index ซึ่งเป็นมาตรวัดการใช้จ่ายด้านการอุปโภคบริโภค (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) ปรับขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่รายปีออกมาโตน้อยกว่าคาดแตะ 1.4%
- ข้อมูลการใช้จ่ายผู้บริโภคคิดเป็น 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่าเดือนก.พ.ปรับลดลง 1% หลังรีบาวน์แรง 3.4% ในเดือนม.ค.
- รายได้ส่วนบุคคลปรับลงไปเกินคาดแตะ 7.1% หลังปรับขึ้นได้ราว 10.1% เดือนม.ค.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยแถว 1.65% ในคืนวันศุกร์ ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ 2.394%
ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดตั้งแต่พ.ย. เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ โดยได้รับอานิสงส์ส่วนใหญ่จาก “ความหวังเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัว” อันเนื่องจาก
1) ข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ
2) ความสามารถในการผลักดันการฉีดวัคซีน
3) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯที่พบว่าแตะระดับต่ำสุดรอบ 1 ปี
4) ถ้อยแถลงของ “นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ” ที่เพิ่มเป้าหมายโครงการฉีดวัคซีนเป็นเท่าตัว โดยภายใน 42 วันของการรับตำแหน่ง เขาสามารถผลักดันการฉีดวัคซีนได้แล้ว 100 ล้านโดส
5) ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปเผชิญ Third Wave
ด้านค่าเงินยูโรรีบาวน์กลับหลังอ่อนค่าหลักในวันก่อนหน้าทำต่ำสุดรอบ 4 เดือน จากความไม่แน่นอนเรื่องโครงการฉีดวัควีน ประกอบกับข้อมูลความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีจากสถาบัน Ifo ดูจะปรับขึ้นได้ปานกลาง ขณะที่ปอนด์อ่อนค่าลง 0.3% แตะ 1.37735 ดอลลาร์/ปอนด์
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 92.793 จุด อยู่ไม่ไกลจากระดับแข็งค่ามากสุดรอบ 4 เดือนที่ทำไว้ช่วงต้นตลาด ภาพรวมปิดรายสัปาห์ที่ +0.9%
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงมาแตะ 109.44 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินสวิสฟรังก์อ่อนค่าลงมากสุดตั้งแต่ก.ค. ปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์บางส่วน กล่าวเตือนว่า การแข็งค่าของดอลลาร์อย่างหนักที่ผ่านมาตลอดช่วง 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาจเห็นการอ่อนค่ากลับลงมาได้จากระดับปัจจุบัน
นักวิเคราะห์จาก ING เชื่อว่า ตลาดค่าเงินมีการเคลื่อนไหวปรับฐาน และการเคลื่อนไหวล่าสุดไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแนวโน้มใหม่ในปี 2021
ที่มา: CNBC