• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2564

    31 มีนาคม 2564 | SET News

·         ดัชนีฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวทรงตัว หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ส เพิ่มขึ้น 9 จุด

ดัชนี S&P 500 และ ดัชนี Nasdaq 100 futures เคลื่อนไหวในแดนบวกเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ดัชนีได้รับแรงกดดันเมื่อวานนี้ เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนที่ 1.77% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นในปีนี้ท่ามกลางการเปิดตัววัคซีนไวรัสโคโรนา และความคาดหวังของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ


·         ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์ที่ทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในเดือนมี.ค. กดดันความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน ขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีนหนุนสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ สัปดาห์ที่บริเวณ 682.36 จุด มาอยู่ที่ 680.04 จุด และยังคงอยู่ห่างจากจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 745.89 จุด เมื่อเดือนที่แล้ว


·         ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง ท่ามกลางเหล่านักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มการเงิน เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบจากเฮดจ์ฟันด์สหรัฐฯผิดนัดชำระ Margin Call อันเนื่องจากการถูกบังคับปิดสถานะ

หุ้น Mitsubishi UFJ Financial Group Inc ลดลง 3.87% โดยธนาคารกล่าวหลังจากปิดตลาดเมื่อวันอังคารว่าอาจประสบความสูญเสียประมาณ 300 ล้านเหรียญ

ซึ่งคำเตือนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทในเครือของโนมูระในสหรัฐมีแนวโน้มขาดทุนสูงถึง 2 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายหนึ่งในสหรัฐฯ โดยโนมูระไม่ได้ระบุชื่อลูกค้ารายดังกล่าว แต่สื่อรายงานในเวลาต่อมาว่าคือบริษัท Archegos Capital

นอกจากนี้ โนมูระเปิดเผยว่า ทางบริษัทอาจจะยกเลิกแผนการออกหุ้นกู้ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ปิด -0.86% ที่ระดับ 29,178.80 จุด

ดัชนี Topix -1.21% ที่ระดับ 1,954.00 จุด

 

·         ตลาดหุ้นจีนปิดปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มพัสดุและหุ้นอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากนักลงทุนไม่ได้ตอบรับกับข้อมูลภาคการผลิตประจำเดือนมี.ค.ที่ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบสามเดือน

ดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.43% ที่ระดับ 3,441.91 จุด

ดัชนี blue-chip CSI300 ปิด -0.91%


·         ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสานกัน โดยดัชนี Stoxx600 ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่หุ่นเทเลคอมเพิ่มขึ้น 0.6% ด้านหุ่นกลุ่มธนาคารลดลง 0.3%

 

·         หุ้น Deliveroo ของบริษัทจัดส่งอาหารในอังกฤษร่วงลง 30% หลังเปิดตัวในตลาด


·         Covid-19 กดดันบริษัท Lloyd's ของอังกฤษขาดทุนสูงกว่า 1.2 พันล้านในปีเหรียญ 2020 โดยมีผลประกอบการก่อนขาดทุนโตได้เพียง 900 ล้านปอนด์ (1.24 พันล้านเหรียญ) เมื่อเทียบกับผลกำไรในปี 2019 ที่สูงกว่า 2.5 พันล้านปอนด์

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

 

หุ้นไทยปิดเช้าบวก 2.51 จุด แกว่งแคบหลังขึ้นไปมากแล้ว-ไร้ปัจจัยบวกผลักดัน

ตลาดหลักทรัพย์ฯปิดช่วงเช้าวันนี้ที่ระดับ 1,592.04 จุด เพิ่มขึ้น 2.51 จุด (+0.16%) มูลค่าการซื้อขายราว 33,989 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นช่วงเช้าวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบ โดยทำระดับสูงสุด 1,593.93 จุด และระดับต่ำสุด 1,587.52 จุด

 

สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ก.พ. -1.08%YoY หดตัวต่อเนื่อง

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.พ.64 อยู่ที่ระดับ 99.68 หดตัว -1.08% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปรับลดลง -2.0% จากเดือน ม.ค.64 เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ส่งผลให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโดยกำหนดพื้นที่ควบคุมตามความรุนแรงของสถานการณ์ แม้จะมีการผ่อนคลายบางส่วนในเดือนก.พ. 64แต่ยังส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศชะลอตัว ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จาก MPI การกลั่นน้ำมันหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

 

ศบค.ชุดเล็กเตรียมเสนอผ่อนคลายลดเวลากักตัว

ผู้ช่วยโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กในวันนี้จะได้นำเสนอมาตรการผ่อนคลายระยะเวลาการกักตัวสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเกณฑ์การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศบค.ชุดใหญ่ในวันนี้เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติได้ตั้งแต่วันที่ เม.ย.64 เป็นต้นไป

 

ธปท.เผยเศรษฐกิจ ก.พ.ทยอยดีขึ้นหลังโควิดคลี่คลาย-มาตรการรัฐหนุน-ส่งออกฟื้น

โดยภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทยเดือนก.พ. 64 ทยอยปรับดีขึ้น หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น และได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ปรับดีขึ้น

 

ขณะที่การส่งออก ไม่รวมทองคำยังขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำปีก่อน อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังหดตัวสูงจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com