· ดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนในตลาดรอรายงานประชุมเฟดคืนนี้ เวลาประมาณ ตี 1 (ตามเวลาไทย
ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดหวังว่าอาจจะเห็นเฟดกล่าวย้ำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายและมุมมองการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 92.368 จุด หลังจากที่ทำแข็งค่าไว้เมื่อ 30 มี.ค. บริเวณ 93.439 จุด
ในไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่หนุนให้ดอลลาร์ปรับแข็งค่าได้ดีที่สุด โดยการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนดังกล่าวมาจากการขานรับมุมมองการเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ที่อาจทำให้เฟดต้องตัดสินใจ "ยกเลิก" การคงดอกเบี้ยระดับต่ำใกล้ศูนย์ที่ตั้งใจจะคงไว้ถึงปี 2024
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับลง 1.64% จากที่ทำแข็งค่าไว้มากสุดในเดือนมี.ค. ที่ 1.776%
อย่างไรก็ดี บรรดาตลาดการเงินในสหรัฐฯ คาดว่าอาจเห็นเฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ประมาณ 0.25% ในเดือนมี.ค. ปี 2022
ค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวบริเวณ 1.18705 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่ามากสุดในเดือนเม.ย.นี้
· ตลาดการเงินสหรัฐฯ หันมาคาดการณ์โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยปีหน้า
ขณะเดียวกันตลาดต่างๆก็ดูจะตั้งใจจับตาประชุมเฟดในคืนนี้อย่างระมัดระวังว่าจะมีแนวคิดต่อเรื่องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินเฟ้อหรือไม่ ที่อาจมีผลต่อการแข็งค่าของดอลลาร์ ควบคู่กับการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ท่ามกลางการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่อาจส่งผลกดดันทองคำได้
· นักเศรษฐศาสตร์จาก Credit Suisse คาดค่าเงินยูโรอาจร่วงลงมาที่ 1.15 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 จากดอลลาร์แข็งค่า
ขณะที่ภาพระยะกลางยังเป็นขาลง และมีโอกาสเห็นค่าเงินยูโรในไตรมาสที่ 2 นี้เคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 1.14 - 1.21 ดอลลาร์/ยูโร แต่หากขึ้นไปแถว 1.20 ดอลลาร์/ยูโรก็มีโอกาสที่จะเผชิญแรงเทขายกลับลงมาได้
· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลดลง ก่อนหน้ารายงานการประชุมเฟดเดือนมี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาที่ 1.635% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปี ปรับตัวลงที่ 2.302%
· ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า นับเป็นครั้งที่ 2 ที่จีนสามารถควบคุมภาวะวิกฤตทั้งหมดได้ "เป็นอย่างดี"
รายงานจากไอเอ็มเอฟ ระบุว่า การรับมือวิกฤตไวรัสโคโรนาของจีนดูจะเป็นที่น่าประทับใจอีกครั้ง หรือเรียกได้ว่าสามารถจัดการกับวิกฤตที่เผชิญครั้งใหม่ได้เป็นอย่างดี
ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปี 2020 ก็ดูจะเป็นเพียงประเทศเดียวของประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ยังเติบโตได้ในเชิงบวก
โดยปีที่แล้วจีดีพีจีนออกมาที่ 2.3% ขณะที่ปี 2021 ไอเอ็มเอฟคาดจะเห็นจีดีพีจีนโตได้ 8.4% จึงเป็นตัวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนไม่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 หนักเท่ากับประเทศที่เหลืออื่นๆในโลก
· มหาวิทยาลัย Oxford กล่าวว่า อังกฤษได้ระงับการทดลองเพื่อทดสอบวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาที่พัฒนาร่วมกับ AstraZeneca Plc เพื่อใช้สำหรับเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากกำลังเร่งตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ของความเชื่อมโยง ระหว่างการเกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในผู้ใหญ่ หลังฉีดวัคซีนชนิดนี้
· CDC ออกโรงเตือนการพบการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวที่พบในอังกฤษ "กำลังระบาดในทุกๆรัฐของสหรัฐฯ
· อังกฤษเริ่มฉีดวัคซีน Covid-19 ของบริษัท Moderna ในวันนี้ที่รัฐเวลส์ และคาดว่าอาจจะใช้ในอีกหลายๆรัฐที่เหลือในประเทศภายในอีกไม่กี่วันนี้ เพื่อนสนับสนุนระบบสุขภาพในประเทศ หลังจากที่ปริมาณวัคซีนเริ่มลดน้อยลง
· เจ้าหน้าที่จากองค์การยายุโรป (EMA) เล็งเห็นความชัดเจนที่ "สัมพันธ์กัน" ระหว่างการฉีดวัคซีน Covid-19 ของบริษัท AstraZeneca กับ ภาวะลิ่มเลือดในสมองที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก ตลอดจนการเกิดลิ่มเลือดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี ระบุว่า ยอดติดเชื้อ Covid-19 ที่กำลังระบาดเพิ่ม แสดงให้เห็นว่านี่ไม่ใช่ช่วงเวลาแห่งการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจ
· สำนักงานสถิติ เผยว่า การระบาดของ Covid-19 ในเยอรมนี ผลักดันให้ยอดขาดดุลในประเทศทำสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยระดับหนี้สาธารณะแตะ 1.89 แสนล้านยูโร (2.25 แสนล้านเหรียญ) ในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับขาดดุลที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2013 และงบประมาณภาครัฐมีการใช้เยอะมากที่สุดกว่า 3 ทศวรรษ
· หน่วยงานด้านสุขภาพของญี่ปุ่น กังวลว่าจะเกิด fourth wave จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
โดยสายพันธุ์นี้ดูเหมือนจะติดเชื้อได้มากกว่าและอาจดื้อต่อวัคซีน ซึ่งยังไม่สามารถใช้งานได้ทั่วไปในญี่ปุ่น ขณะที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุดในโอซาก้าที่มียอดผู้ติดเชื้อเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระตุ้นให้รัฐบาลภูมิภาคเริ่มประกาศมาตรการ Lockdowns เป็นเวลา 1 เดือนตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา
ผู้ว่าการรัฐโอซากา ประกาศยกเลิกการวิ่งคบเพลิงกีฬาโอลิมปิกเกมส์บนเส้นทางในพื้นที่ ท่ามกลางการประกาศภาวะฉุกเฉินอีกครั้ง
· สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งเกาหลี (KDCA) รายงานว่า เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสรายใหม่เพิ่มขึ้น 668 ราย ซึ่งนับเป็นจำนวนสูงสุดต่อวันนับตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา
· รัฐมนตรีสิงคโปร์ ระบุว่า การฉีดวัคซีนเป็นพื้นฐานของประเทศ แต่ไม่ใช่ “สิ่งสำคัญที่สุด” สำหรับการเปิดทำการทางเศรษฐกิจ
· Goldman Sachs ลดคาดการณ์เศรษฐกิจอินเดียจากยอดติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นทะลุหลักแสนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยคาด Q2/2021 จะเห็นเศรษฐกิจโตได้ 31.3% เมื่อเทียบรายปี (ลดลงจากคาดการณ์เดิม 33.4%)
· อินเดียเผชิญ Second Wave ดันยอดติดเชื้อ Covid-19 เพิ่มขึ้นกว่า 13 เท่าในระยะเวลา 2 เดือน ล่าสุดติดเชื้อใหม่ทำสูงสุดประวัติการณ์ 115,736 ราย และยิ่งสร้างแรงกดดันแก่รัฐบาลในการขยายโครงการฉีดวัคซีน
· ยอดเสียชีวิตบราซิลย่ำแย่กว่าสถานการณ์ในสหรัฐฯ โดยล่าสุดยอดเสียชีวิตจาก Covid-19 ในบราซิลทะลุระดับที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ม.ค.ของสหรัฐฯ และคาดอาจเห็นการเสียชีวิตต่อวันพุ่งเกินต้าน หลังวานนี้พบการเสียชีวิตจากไวรัสดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 4,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการระบาด
· รายงานจาก Middle East Eye ระบุว่า อิสราเอลโจมตีเรือบัญชาการอิหร่านในทะเลแดง
ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุกับ New York Times โดยระบุว่า อิสราเอลมีการโจมตีเรือของอิหร่านเพื่อตอบโต้เหตุที่อิหร่านทำการโจมตีเรือของอิสราเอลก่อนหน้านี้
· นองเลือดพม่ายังไม่จบ ล่าสุดกองทัพพม่าเปิดฉากยิงผู้ชุมนุมเสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ส่งผลให้ภาพรวมผู้เสียชีวิตจากการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าสูงถึง 580 ราย และยังคงทวีความรุนแรงมาตั้งแต่ 1 ก.พ.
· ราคาน้ำมันดิบขึ้นต่อขานรับแนวโน้มเศรษฐกิจแข็งแกร่ง และสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันดิบในวันนี้ขยับขึ้น โดยได้รับอานิงส์จาก
- ข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลกที่แข็งแกร่ง
- การฉีดวัคซีนได้เพิ่มมากขึ้น
- นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเร่งโครงการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้สูงอายุทุกคนให้บรรลุเป้าหมาย 19 เม.ย.นี้
- รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลง นำโดยข้อมูลจาก API ที่ลดลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับขึ้น 16 เซนต์ หรือ +0.3% ที่ระดับ 62.90 เหรียญ/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ปรับขึ้น 14 เซนต์ หรือ +0.2% บริเวณ 59.47 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ภาพรวมเชิงบวกของการเจรจาระหว่าง "สหรัฐฯ-อิหร่าน" ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ และการเพิ่มปริมาณอุปทานน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ ยังเป็นปัจจัยที่ "กดดันราคาน้ำมันในตลาด"
กลุ่มนักวิเคราะห์จาก ANZ Bank กล่าวว่า มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจโลก เป็นตัว "หนุนความเชื่อมั่น" ในตลาดน้ำมันเวลานี้