· ดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังจากที่ดัชนี S&P500 ทำระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์
ดัชนี Dow future +16 จุด
ดัชนี S&P 500 futures เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว
ดัชนี Nasdaq 100 futures เคลื่อนไหวในแดนลบ
· บรรดานักวิเคราะห์ มองว่า ผลประกอบการบริษัทในเอเชียช่วง 1 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มจะฟื้นตัวมากขึ้น
ข้อมูลจาก Refinitiv สะท้อนว่า มี.ค.นี้ รายงานผลประกอบการบริษัทในเอเชียอีก 12เดือนข้างหน้าของกลุ่มบริษัทต่างๆในดัชนี MSCI จะเพิ่มขึ้นได้ 0.6% แต่ก็เป็นการอัพเกรดที่น้อยกว่าข้อมูลมิ.ย. ปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี การฉีดวัคซีนที่ลดน้อยลง และเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัว ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และการแข็งค่าของดอลลาร์ ดูจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการในภูมิภาคปีนี้
โดยผลประกอบการของบริษัทเกาหลีใต้และไต้หวัน ถูกปรับเพิ่มมาที่ 3.5% และ 2.4% ในแต่ละประเทศ อันได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ที่ีแข็งแกร่งจากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี
· หุ้นจีนร่วงนำตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชีย - หุ้นบริษัท Tencent ปรับขึ้นหลังเปิดตัวในตลาดฮ่องกง
หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับลดลงในวันนี้ หลังจากที่ดัชนี S&P500 ในตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมายังคงปิดทำสูงสุดประวัติการณ์
ดัชนี HSI ของฮ่องกงปิด -1.07% บริเวณ 28,698.80 จุด
หุ้นบริษัท Tencent ซึ่งเป็นบริการเทคโนโลยีทางการเงินปรับตัวขึ้นเกือบ 10% จากราคาที่เปิดตัวช่วงแรกในตลาดฮ่องกง
หุ้นจีนปิดลบ หลังทราบข้อมูลผู้บริโภค และมาตรวัดเงินเฟ้อของตัวเลข PPI ในเดือนมี.ค. ที่จะออกมาเทียบกับปีก่อ
ดัชนี Shanghai Composite -0.92% ที่ 3,450.68 จุด
ดัชนี Shenzhen ปิด -1.263% ที่ 13,813.31 จุด
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน (CPI) ในเดือนมี.ค. ของจีนโตขึ้น 0.4% จากปีก่อนหน้า แต่สูงกว่าที่คาดไว้ 0.3%
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน (PPI) เดือนมี.ค. ปรับขึ้น 4.4% จากปีที่แล้ว
ดัชนี Nikkei 225 ปิด -0.2% ปิดที่ 29,768.06 จุด
ดัชนี Topix ปิด +0.39% ที่ 1,959.47 จุด
ดัชนี Kospi เกาหลีใต้ปิด -0.36% ที่ระดับ 3,131.88จุด
ดัชนี S&P/ASX200 ปิดลงมาเล็กน้อยที่ 6,995.20 จุด
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นปิด -0.68%
· นักลงทุนจีนแห่เทขายหุ้น และเข้าซื้อกองทุนในตลาดการเงินแทน
นักลงทุนจีนมีการลดการถือครองสถานะของตนเองในตลาดหุ้น และมีการเพิ่มการลงทุนในกองทุนตลาดการเงิน (MMFs) เพื่อเป็นการลงทุนใน Safe-Haven ท่ามกลางราคาหุ้นในตลาดที่ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบหลายปี จากความกังวลเกี่ยวกับการเดินหน้าใช้มาตรการคุมเข้ม ควบคู่กับความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างมากในตลาด
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดร่วงหลังจากที่ทำสูงสุดประวัติการณ์วานนี้ โดยดัชนี Stoxx 600 ปรับลงเล็กน้อยในแดนทรงตัว -0.15%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และคณะทำงานเตรียมความพร้อมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการยุติการใช้ไลบอร์ได้มีข้อสรุปเรื่องแนวทางดำเนินการเพื่อเปลี่ยนผ่านจากอัตราดอกเบี้ยไทยบาทฟิกซ์เป็นธอร์ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านจากอัตราดอกเบี้ยไทยบาทฟิกซ์เป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากจะมีการยุติการใช้อัตราดอกเบี้ยไลบอร์สกุลดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 30 มิ.ย.66 ส่งผลให้ ธปท. ต้องยุติการเผยแพร่อัตราดอกเบี้ยไทยบาทฟิกซ์ไปพร้อมกันด้วย
- กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมั่นใจในตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเห็นได้จากช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายออกสุทธิลดลงอยู่ที่ 87 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้ไตรมาสแรกปี 64นี้ นักลงทุนต่างชาติขายออกสุทธิรวม 29,370 ล้านบาท สอดคล้องกับข้อมูลการถือครองหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติช่วง 10 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 54-63 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 68% โดยมีการขายสุทธิรวมที่ 850,000 ล้านบาท แม้ปัจจุบันจะมีสัดส่วนการถือครองลดจาก 30% ในช่วง 5 ปีก่อนเหลือ 27-28% จากมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด แต่หากเปรียบเทียบมูลค่าการซื้อขาย ณ วันนั้นอยู่ที่ 10-12 ล้านล้านบาท แต่วันนี้อยู่ที่ 16-18 ล้านล้านบาท
- นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า คงประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP)ของไทยในปี 2564 และปี 2565 ที่ร้อยละ 2.4 และ 3.0 ตามลำดับ หวังเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่องและหนุนให้เศรษฐกิจเติบโต โดยปัจจัยสำคัญคือผลจากมาตรการทางการคลังและการเงิน การกระจายการฉีดวัคซีนและการเปิดภาคการท่องเที่ยวของประเทศ อย่างไรก็ตามการใช้นโยบายการคลังและนโยบายการเงินมีข้อจำกัดเนื่องจากหนี้สาธารณะใกล้แตะเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ขณะที่โอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจมีอยู่ไม่มาก
· อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ
- CIMBT ชี้โควิดรอบ 3 ฉุดบริโภคเสี่ยงโตต่ำ ลั่น เศรษฐกิจไม่พัง แค่แผ่วชั่วคราว
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินโควิดระบาดรอบ 3 หวั่นกระทบกำลังซื้อ-กิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกกระทบจากมาตรการภาครัฐ มองการบริโภคเสี่ยงโตช้า 4 ปัจจัย ขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ-การลงทุน-ขาดความมั่นใจ-มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย