หุ้นเอเชียกังวลรายงานผลประกอบการ - รอข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในวันนี้ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่วิตกกังวลและต้องการรอคอย
- รายงานผลประกอบการสหรัฐฯ เพื่อพิจารณามูลค่าหุ้นกลุ่ม Sky-High
- การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่อาจตอบรับข้อมูลเศรษฐกิจ
- ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯและค้าปลีกสหรัฐฯสัปดาห์นี้
หุ้นอินเดียดิ่งนำฉุดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่อ่อนตัว - หุ้นบริษัท Alibaba ปรับตัวขึ้น
หุ้นอินเดียปิดร่วงลงฉุดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ในวันนี้ จากวิกฤตยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มมากขึ้น
ดัชนี Nifty 50 และ BSE Sensex ปรับตัวลดลงกว่า 3%
สถานการณ์ Covid-19 ที่ย่ำแย่ในประเทศยังคงกดดันและทำให้จังหวัดสำคัญอย่าง Maharashtra ของอินเดีย ที่ควบคุมสถานการณ์ได้ยากลำบากที่สุดเวลานี้พิจารณากลับมาใช้ Lockdown
หุ้นจีนปิดแดนลบเช่นกัน
ดัชนี Shanghai composite ปิด -1.09% ที่ 3,412.95 จุด
ดัชนี Shenzhen component ปิด -2.299% ที่ 13,495.72 จุด
ดัชนี HIS ปรับตัวลงเกือบ 1% ในช่วงการซื้อขายชั่วโมงสุดท้ายในตลาด
ดัชนี Nikkei 225 ปิด -0.77% ที่ 29,538.73 จุด
ดัชนี Topix ปิด -0.25% ที่ 1,954.59 จุด
ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ปิด -0.12% ที่ 3,135.59 จุด
ดัชนี S&P/ASX200 ปิด -0.3% ที่ 6,974 จุด
ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิด -1.13%
- หุ้นบริษัท Alibaba Group Holding Ltd ปรับขึ้น 16% หลังจีนเรียกค่าปรับข้อหาการผูกขาดตลาดสูงถึง 1.8 หมื่นล้านหยวน (2.75 พันล้านเหรียญ)
- ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา, นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด กล่าวเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจ ว่าจะโตได้เร็วมากเท่าไร ขึ้นอยู่กับภัยคุกคามของไวรัสโคโรนา
- จับตาข้อมูลสำคัญสัปดาห์นี้ คาดอาจเห็นเงินเฟ้อสหรัฐฯปรับขึ้นต่อในเดือนมี.ค. ขณะทียอดค้าปลีกสหรัฐฯอาจปรับขึ้นได้ต่อกว่า 2 เท่าตัวอีกครั้ง
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดอ่อนตัวจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการ์ ก่อนทราบการประกาศรายงานผลประกอบการ
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดอ่อนตัวลงหลังไปทำ All-Time Highs โดยนักลงทุนเลือกจะรอคอยการประกาศรายงานผลประกอบการของบริษัทใหญ่ๆ ขณะที่กลุ่มค้าปลีกในอังกฤษกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจอีกครั้งหลังเผชิญ Lockdown
ดัชนี Stoxx 600 เปิด -0.1% ท่ามกลางตลาดเอเชียที่เคลื่อนไหวแดนลบ และสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั่วทุกมุมโลกยังเพิ่มขึ้น
· บรรดานักกลยุทธ์ ชี้ หุ้นสหรัฐฯยังคง “มีมูลค่าที่น่าสนใจ” และคาดว่าอาจเห็นตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับขึ้นได้ต่อ แม้บางช่วงจะมีความกังวลเกี่ยวกับมูลค่าที่อยู่ในระดับสูงก็ตาม
· ตลาดสหรัฐฯจับตารายงานผลประกอบการบริษัท
โดยสัปดาห์นี้จะมีการรายงานผลประกอบการบริษัทของสหรัฐฯอาทิ
คืนวันพุธ
Goldman Sachs
JPMorgan
Wells Fargo
ข้อมูลจาก Refinitiv IBES เผย ภาพรวมบรรดานักวิเคราะห์ คาดว่า อาจเห็นบริษัทใน S&P500 มีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งอาจเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดนับสำหรับไตรมาสแรกนับตั้งแต่ปี 2018
· อ้างอิงจากไทยรัฐ
- ยอดสูงต่อเนื่อง โควิดวันนี้ติดเชื้อ 985 รายใหม่ ป่วยสะสม 33,610 ราย
อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิดวันนี้ 12 เม.ย. 64 ผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง 985 รายใหม่ ยอดป่วยยืนยันสะสม 33,610 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 97 ศพ
- ผบก.น.5 สั่งเด้งผู้กำกับสน.ทองหล่อ เซ่นสถานบันเทิงแพร่เชื้อโควิด
· อ้างอิงจากอินโฟเควสท์
- พาณิชย์ไทย เผย 2 เดือนแรกปีนี้ไทยส่งออกผลไม้ไปประเทศคู่ค้า FTA โต 107%
โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) 18 ประเทศ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 (ม.ค.-ก.พ.) ขยายตัว 107% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มูลค่าการส่งออกรวม 461 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 94.94% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด
ตลาดการส่งออกที่มีการขยายตัว ได้แก่ จีน (+162%) มาเลเซีย (+263%) สิงคโปร์ (+44%) อินโดนีเซีย (+686%) ฟิลิปปินส์ (+187%) ฮ่องกง (+19%) ออสเตรเลีย (+8%) และชิลี (+786%) เป็นต้น โดยทุเรียนสด มังคุดสด ลำไยสด และมะม่วงสด เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูง สอดคล้องกับสถิติการขอใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA ในการส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกไทยขอใช้สิทธิในการส่งออกผลไม้ดังกล่าวในลำดับแรกๆ
- กสิกรฯ ชี้วิกฤตโควิด,รัฐประหารฉุดศก.เมียนมา -8.5% การค้าชายแดนไทยหด -6%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้นจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ และการกระจาย วัคซีนโควิด-19 ที่ช่วยผ่อนคลายข้อจำกัดในการใช้ชีวิตในหลายประเทศจนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจ โลกปี 2564 เติบโตดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 6.0% ในเดือน เม.ย.64 จากเดิม (ม.ค.64) ที่คาดว่าจะเติบโต 5.5% แต่ท่ามกลางสัญญาณ บวกดังกล่าว กลับสวนทางกับภาพเศรษฐกิจเมียนมาที่กำลังเผชิญมรสุมทางการเมืองในประเทศอย่างหนัก อีกทั้งภาพลักษณ์ของเมียนมาใน สายตาชาติตะวันตกก็กำลังมีบทบาทลดน้อยลงจากความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับความตกลงการค้าและการลงทุนกับ เมียนมาที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 (Trade and Investment Framework Agreement: TIFA) ในวันที่ 30 มี.ค.64 อันมีผลให้เมียนมา ต้องสูญเสียสิทธิพิเศษทางภาษีเป็นการทั่วไป (GSP) ของสหรัฐฯ ไปพร้อมกัน สะท้อนแรงกดดันจากต่างประเทศที่เมียนมาต้องแบกรับ และมี ความเสี่ยงที่สหภาพยุโรปจะดำเนินการแบบเดียวกันในระยะข้างหน้า โดยตัดสิทธิพิเศษทางการค้า Everything But Arms (EBA) ที่ให้ แก่เมียนมา
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ความไม่สงบในเมียนมาอาจส่งผลต่อเนื่องมายังช่องทางการค้าบริเวณพรมแดนเป็นครั้งคราว แต่ไม่กระทบการขนส่งสินค้าข้ามแดนมากนัก เพราะเมียนมาต้องพึ่งสินค้าไทยหลายชนิดท่ามกลางสภาวะที่ทั่วโลกเริ่มตีตัวออกห่างเมียนมา ขณะเดียวกันความน่ากังวลในความไม่สงบในช่วงแรก ทำให้มีการเร่งกักตุนสินค้าจากไทยค่อนข้างมากในบางพื้นที่ แต่ในช่วงที่เหลือของปี ด้วยกำลังซื้อและภาพเศรษฐกิจที่จะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ คงฉุดให้การส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาปี 2564 หดตัวลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ที่ - 6.0% โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 81,890 ล้านบาท (กรอบประมาณการหดตัวที่ -8.0% หากเศรษฐกิจเมียนมาทรุดตัวตลอดปีจะหดตัว - 2.9% หากครึ่งหลังเมียนมาสามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ ตัวเลขเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564
- BTSGIF เผยผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส มี.ค.ฟื้นหลังม.ค.-ก.พ.ลดวูบรับผลกระทบโควิด
โดยในเดือน ม.ค. และ ก.พ. 64 มีจำนวนผู้โดยสาร 7.0 และ 8.9 ล้านเที่ยวตามลำดับ ลดลง 66.5%และ 50.3%
- ทิสโก้ คาดโควิดระบาดรอบใหม่กดดันหุ้นไทยผันผวน แนวโน้มปรับขึ้นน้อยกว่าหุ้นโลก
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล. ทิสโก้ เปิดเผยว่า สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศระลอกใหม่ที่ปะทุขึ้นจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงแถวทองหล่อ ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เร่งตัวขึ้นทำสถิติรายวันสูงสุดใหม่ และกระจายตัวไปในหลายจังหวัดเกือบทั่วประเทศ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้นักลงทุนต้องระมัดระวังสถานการณ์นี้ไปจนถึงช่วงหลังสงกรานต์
โดยสรุป บล.ทิสโก้มองการปรับตัวลงของ SET Index จากการระบาดรอบนี้ ไม่น่ารุนแรงเหมือนรอบก่อนหน้า โดยมองว่าที่ดัชนีหุ้นไทยในระดับ 1,530-1,550 จุด เป็นจังหวะเหมาะสมที่จะซื้อหุ้นคืน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ บล.ทิสโก้ได้แนะนำทยอยแบ่งขายในช่วงที่หุ้นไทยเข้าใกล้ระดับ 1,600 จุด ส่วนโอกาสที่ดัชนีจะปรับขึ้นนั้นบล.ทิสโก้ไม่คาดว่า SET Index จะฟื้นตัวได้เร็ว และคาดจะแกว่งตัวในทิศทางที่ "Underperform" กว่าหุ้นโลกไปสักพัก จนกว่าจะมีความชัดเจนของสถานการณ์ระบาดช่วงหลังสงกรานต์ จะกระทบต่อแผนการทยอยเปิดประเทศหรือไม่ และเชื่อว่านักลงทุนจะรอติดตามการทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกด้วย
- MBKET คาด SET Q2/64 ผันผวนกรอบ 1,450-1,650 จุด แนะย่อทยอยเก็บรอศก.ฟื้น
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 2/64 เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาด SET แกว่งผันผวนในกรอบ 1,450-1,650 จุด ในจังหวะตลาดย่อตัวแนะเป็นโอกาสในการทยอยสะสม เพื่อรอปัจจัยหนุนใหม่เป็นแรงขับเคลื่อนตลาดฟื้นตัวขึ้นในช่วงถัดไป แนะทยอยสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี แนวโน้มกำไรฟื้นตัวเด่น ผสานกับธีมการลงทุนที่น่าสนใจ นำโดย 1) เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เน้นหุ้นในกลุ่มวัฎจักร เช่น ธนาคาร (BBL) และ พลังงาน (IRPC) 2) การทยอยเปิดเมือง และ Pent-up Demand ช่วยหนุนกำไรบริษัททะเบียนเร่งตัวขึ้น (PLANB, MAJOR, SPALI)
พร้อมคงเป้าหมายสิ้นปีที่ 1600 จุด จากฐานกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระดับต่ำมากในปี 2563 เนื่องจากได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ผสานกับการฟื้นตัวที่ค่อยๆดีขึ้น ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินและการคลังทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาการเชิงบวกของการฉีดวัคซีนที่มากยิ่งขึ้น หนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว ดังนั้นเราจึงประเมินการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของ SET ปี 2564 เติบโต +91%YoY ขึ้นสู่ระดับ 82 บาทต่อหุ้น ซึ่งหากพิจารณา ระดับ PE Ratio ที่เหมาะสม โดยอิงค่าเฉลี่ย PE ย้อนหลัง 5 ปี + 1.0 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (+1.0SD) ที่ 19.5 เท่า จะได้เป้าหมายดัชนีสิ้นปีนี้ที่ 1,600 จุด
- ASP มองตลาดหุ้นยังเป็นขาขึ้น ชี้โควิดระลอกใหม่มีผลกระทบระยะสั้น
นางยอดฤดี สันตติกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ หัวหน้าสายงานตลาดทุน บล.เอเซีย พลัส กล่าวถึงภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ยังมีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจะกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 แต่มองว่าเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นในระยะสั้น และมองว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งการแพร่ระบาดในครั้งนี้มองว่าประชาชนในประเทศได้เข้าใจถึงวิธีการป้องกันแล้ว และภาครัฐไม่ได้มีการประกาศล็อกดาวน์เหมือนกับการแพร่ะระบาดไนรอบแรกเมื่อปีก่อน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆยังคงเป็นไปตามปกติ ยกเว้นบางธุรกิจที่เกิดการแพร่ระบาดขึ้นได้มีการสั่งปิดให้บริการชั่วคราว แต่ในภาพใหญ่ถือว่ายังคงปกติอยู่ แต่ยอมรับว่าจะเกิดผลกระทบในระยะสั้น คล้ายกับในช่วงของการแพร่ระบาดรอบ 2 ในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมองว่าระยะสั้นตลาดหุ้นไทยอาจจะมีการปรับฐานเกิดขึ้นบ้าง และหลังจากโควิด-19 รอบนี้คลี่คลายจะค่อยฟื้นขึ้นกลับมาได้
อีกทั้งการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในช่วงที่ผ่านมาหลายๆบริษัท ถือว่าประสบความสำเร็จและนักลงทุนต่างให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเสนอขาย IPO ของบมจ.ปตท.น้ำมันและค้าปลีก (OR) ที่ถือเป็นการจุดกระแสกระตุ้นความสนใจในหุ้น IPO ได้เป็นอย่างดี ทำให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสในการลงทุนหุ้น IPO เพิ่มมากขึ้น และมีนักลงทุนหน้าใหม่ๆเข้ามาในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้แนวโน้มความต้องการซื้อ IPO ใหม่ๆที่เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯยังคงอยู่ในระดับที่สูง และผู้ประกอบการต่างๆยังมองว่าในปีนี้เป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มมีการเสนอขาย IPO หลังจากปัจจัยกดดันจากโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง และตลาดมีการ