FXStreet วิเคราะห์ทิศทางทอง: แกว่งตัวแนว 1,740 เหรียญ ท่ามกลางดอลลาร์กลับมาแข็งค่า
ทองคำเริ่มสัปดาห์ด้วยการอ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงต้นตลาดยุโรป ขณะที่การปรับขึ้นของดอลลาณ์ดูจะจำกัดการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ โดยราคาทองคำยังเคลื่อนไหวใกล้แนว 1,745 – 1,750 เหรียญ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับลงจาก 1.67% มาที่ 1.65% หลังนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ยังย้ำว่า “จะคงแนวทางการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป” จึงยังคงหนุนทิศทางทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
ทองคำยังคงน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนเมื่อมีการปรับตัวลดลง
อินเดียมีรายงานการนำเข้าทองคำในเดือนมี.ค. เพิ่มมากสุดในรอบเกือบ 2 ปีโดยการปรับตัวลดลงของราคา “ยิ่งเพิ่มความต้องการมากขึ้น” ในกลุ่มจิลเวลรี สำหรับเทศกาลแต่งงาน
นักลงทุนยังคงได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้น แต่ความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากไวรัสระบาดเวลานี้ ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำได้อยู่
อย่างไรก็ดี ดอลลาร์มีแนวโน้มจะได้รับอานิสงส์จากทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่หากดีขึ้นจะกดดันทองคำ
· Investing มองทองคำมีโอกาสเคลื่อนไหวกรอบกลาง 1,700 เหรียญ
ความไม่แน่นอนในการรับมือกับวิกฤตไวรัสในยุโรป และแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯช่วงไตรมาสที่ 2/2021 ดูจะมีผลโดยตรงต่อทิศทางราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ ที่อาจเห็นราคาน้ำมันอาจ Breakout ออกจากกรอบ 50 – 60 เหรียญ/บาร์เรลได้
สำหรับสถานการณ์ทองคำ หลังผ่าน 1,750 เหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว ก็ยังมีความผันผวนต่อจากดอลลาร์, อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และถ้อยแถลงเกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจของประธานเฟด
· FXEmprie ทองอ่อนตัว แม้ PPI ของสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้น หนุนกังวลเงินเฟ้อ
ราคาทองคำมีกรอบการซื้อขายในทิศทางขาลงช่วงต้นตลาด แม้ดัชนี PPI ของสหรัฐฯจะสะท้อนการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ แต่ดัชนีดังกล่าวก็ได้หนุนดอลลาร์และทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ให้ปรับตัวขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่เข้ากดดันทองคำ และทำให้ทองคำเคลื่อนไหวแถว 1,739 เหรียญ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ภาพรวม “ทองคำ” ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี จากความกังวลเรื่องจะเห็นเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ดี ความต้องการ “ทองคำ” ในฐานะ Safe-Haven ก็ยังมีอยู่เช่นกัน จากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่ยังระบุถึง
- เงินเฟ้อและการจ้างงานอาจปรับขึ้นได้ในอีกไม่กี่ดือนนี้
- เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเติบโตได้เร็วเพียงใด ขึ้นอยู่กับจำนวนการระบาดของไวรัสโคโรนา
นอกจากนี้ สถานการณ์ระบาดในอินเดียที่วิกฤต กำลังกดดันความเชื่อมั่นตลาด และตอกย้ำความกังวลเรื่อง Lockdown เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่างๆ ที่จะเป็นปัจจัยลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้