"ปูติน" - "ไบเดน" กำลังก้าวสู่สังเวียนของกันและกัน
ภายในระยะเวลา 2 วัน หลังจากที่นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ส่งเทียบเชิญ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเพื่อเข้าพบกันส่วนตัว ซึ่งทีมบริหารนายไบเดนได้ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ "จึงส่งสัญญาณที่ไม่น่าพึงพอใจ" ต่อรัสเซีย ที่อาจส่งผลแบบมีนัยยะทางการทูตและทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย ก็ยังอยู่ในระดับสูง นับตั้งแต่ที่เกิดสงครามเย็น
อย่างไรก็ดี รัสเซีย มีกองกำลังทหารนับหมื่นรายเข้าประจำการบริเวณพรมแดนยูเครน จึงยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลว่า แผนของนายไบเดนถือเป็นการรุกรานต่อรัสเซีย และเป็นที่แน่ชัดว่า "แนวทางที่ทีมบริหารของนายทรัมป์ยอมรับต่อรัสเซีย" จบลงแล้ว
สหรัฐฯกำหนดรูปแบบมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่หลากหลายสำหรับการกระทำที่เป็นอันตราย
สหรัฐฯมีการประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย เพื่อจำกัดการเข้าถึงตลาดพันธบัตรหรือตราสารหนี้ สำหรับบทลงโทษต่อรัสเซีย ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- การแทรกแซงการเลือกตั้งของสหรัฐฯในปีที่แล้ว (2020)
- การโจมตีทางไซเบอร์ - การแฮ็คข้อมูล
- การเหยียดหยามยูเครน
- การกระทำที่เป็นอันตรายอื่นๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีการใช้มาตรการอื่นๆ
- การขึ้นบัญชีดำบริษัทรัสเซียหลายแห่ง
- การขับไล่นักการทูตสหรัฐฯ
- การสั่งห้ามไม่ให้ธนาคารสหรัฐฯเข้าซื้อพันธบัตรจากธนาคารกลางรัสเซีย รวมทั้งกองทุนความมั่งคั่งต่างๆของรัสเซีย และกระทรวงการคลังรัสเซีย
อย่างรก็ดี สหรัฐฯ ยังกล่าวเตือนรัสเซียว่า “อาจมีบทลงโทษ” เพิ่มมากขึ้นกว่านี้ แต่ ณ ขณะนี้สหรัฐฯไม่ได้ต้องการที่จะเพิ่มการดำเนินการใดๆ
ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ตอบโต้ด้วยท่าที่เกรี้ยวกราด และมีการเรียกทูตสหรัฐฯมารับทราบว่า “รัสเซียจะมีมาตรการตอบโต้หลายอย่างตามมาในไม่ช้า”
ขณะเดียวกันโฆษกหญิงของรัสเซีย ยังกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่การจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาจได้รับผลกระทบเชิงลบ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
เมื่อวานนี้สหรัฐฯประกาศคว่ำ
นอกจากนี้ การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอาจยังส่
หุ้นของรัสเซียในดัชนี GBI-EM Index ของบริษัท JPMorgan ที่เป็นตลาดหลักทั่วโลกในการซื้
อย่างไรก็ดี พันธบัตรรัสเซียที่มีมูลค่าซื้
ที่มา: Reuters, CNN