ทองขยับขึ้น 1% จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอ่อนตัว
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.9% ที่ระดับ 1,792.77 เหรียญ
โดยเมื่อคืนนี้ทองคำขยับขึ้นเข้าใกล้ 1,800 เหรียญ ทำสูงสุดบริเวณ 1,797.55 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือน นับตั้งแต่ 25 ก.พ.
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด +0.8% บริเวณ 1,793.1 เหรียญ
โดยเมื่อคืนนี้ทำสูงสุดแถว 1,798 เหรียญ
· ทองคำขยับบขึ้นได้ โดยได้รับอานิสงส์จาก
- การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับลงต่ำกว่า 1.6% ปิดแถว 1.57%
- ตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวานนี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวแดนลบ
- ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆประเทศ หวั่นกระทบเศรษฐกิจโลก
- กองทุนทองคำ SPDR ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม ปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,021.7 ตัน
- สินค้าในกลุ่มโลหะมีค่าปรับตัวสูงขึ้น นำโดย ซิลเวอร์ ที่ปรับขึ้นได้กว่า 2 และแพลทินัมปรับขึ้นเกือบ 2%
- พลาเดียมปรับตัวขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ จากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานดันราคาพุ่งทำ All-Time High 2,891.2 เหรียญ ปิด +4.3% ที่ 2,880.1 เหรียญ
· นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ทองคำช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาถูกกดดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอดและการอ่อนตัวเวลานี้ก็กลายมาเป็นปัจัจยบวกต่อราคาทองคำ
ขณะที่ปัจจุบันแนวโน้มเศรษฐกิจโลก “เคลื่อนไหวผสมผสานกัน” และนักลงทุนจะเห็น “การระมัดระวัง” ที่เพิ่มมากขึ้นในไตรมาสหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ทองคำเริ่มมีแรงซื้อในฐานะ Safe-Haven มากขึ้น
· ตลาดจับตาการประชุมอีซีบีในวันนี้ และการประชุมนโยบายของเฟดในสัปดาห์หน้า (27-28 เม.ย.)
· FXStreet คาดทองคำเคลื่อนไหวใกล้ 1,800 เหรียญจากปัจจัยผสมผสานหนุนทองทำสูงสุดรอบ 2 เดือน
เช้านี้ราคาทองคำแกว่งตัวแถว 1,794 เหรียญ โดยที่ภาพรวมทองคำขยับขึ้นได้ 2 วันทำการ ขณะที่ธนาคารกลางแคนาดา (BOC) ลดท่าทีมั่นใจต่อเศรษฐกิจท่ามกลางความท้าทายด้านความเสี่ยงครั้งใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา, ภาวะความเสี่ยงทางการเมือง และแนวทางการใช้มาตรการทางการเงิน ที่เป็นตัวทดสอบทิศทางเศรษฐกิจขาขึ้น ก่อนประชุมอีซีบีจะเริ่มต้นขึ้นในค่ำนี้
มุมมองทองคำระยะยาว
ทองคำมีการเคลื่อนไหวแพทเทิร์นตามภาพประกอบ ขณะที่ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ในกลุ่มโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักลงทุนเป็นจำนวนมากในเวลานี้ จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นทองคำเป็นสินค้าชั้นนำในเวลานี้
ภาพรวมเชื่อว่าทองคำจะสามารถปรับขึ้นได้ต่อ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
- ความต้องการสินทรัพย์ Safe-Haven
- การเป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงป้องกันเงินเฟ้อ
- ระยะยาวทองคำมีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อ แม้ระยะสั้นและระยะกลางจะมีความผันผวน
· ซิลเวอร์ปิด +2.3% ที่ 26.47 เหรียญ
· แพลทินัมปิด +1.9% ที่ 1,210.03 เหรียญ
· พลาเดียมปิด +4.3% ที่ 2,880.1 เหรียญ ระหว่างวันทำ All-Time High แตะ 2,891.2 เหรียญ
· ไบเดน จะทำการประกาศเครดิตภาษีการลาที่ชำระแล้วสำหรับธุรกิจ สำหรับนายจ้างที่เสนอการลาจ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนลดลงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
เครดิตภาษีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะชดเชยค่าใช้จ่ายในการให้พนักงานที่ถูกหักวันเงินลา จากการฉีดวัคซีนรวมถึงการฟื้นตัวจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน
นอกจากนี้ นายไบเดน จะเรียกร้องให้นายจ้างใช้ทรัพยากรของตนเพื่อส่งเสริมการฉีดวัคซีนโดยการแบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้องและให้สิ่งจูงใจที่เป็นไปได้เช่นการแจกผลิตภัณฑ์และส่วนลดสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนตามเอกสารข้อเท็จจริงจากทำเนียบขาว
อย่างไรก็ดี นายไบเดนจะกล่าวถึงการฉีดวัคซีนได้เป็นจำนวน 200 ล้านโดส นับตั้งแต่ที่เขาได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯด้วย
· Reuters Polls ชี้ “เศรษฐกิจสหรัฐฯยังเดินหน้าแข็งแกร่ง” แม้จะมีภัยที่น่าวิตกกังวลจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาระบาดเวลานี้ แต่ก็ต้องระวังเพราะอาจกลายมาเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาทั่วโลกเพิ่มสูงกว่า 880,000 ราย รวมสะสมทะลุ 144.42 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมแตะ 3.07 ล้านราย
· รายงานยอดเสียชีวิตรายวันในอินเดียพุ่งทะลุ 2,000 ราย ล่าสุดเพิ่มมากสุดแตะ 2,102 รายวานนี้ ส่งผลให้ยอดเสียชีวิตสะสมแตะ 184.672 ราย ขณะที่ยอดติดเชื้อทะลุ 300,000 รายครั้งแรก ล่าสุดเมื่อวานนี้มียอดติดเชื้อใหม่สูงถึง 315,802 ราย รวมติดเชื้อสะสมในประเทศ 15.92 ล้านราย
· สหรัฐฯและแคนาดาขยายเวลาเปิดพรมแดน
· ญี่ปุ่นวิกฤต พบยอดติดเชื้อไวรัสในประเทศสูงถึง 4,342 รายในวันเดียว ส่งผลให้ติดเชื้อสะสมทะลุ 541,000 รายแล้ววานนี้
· เมื่อวานนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,458 ราย รวมสะสม 46,643 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย สะสม 110 ราย
· กราฟิกมติชน : 40 ซีอีโอชง 4 ทีม ช่วยจัดหา-ซื้อวัคซีนโควิด
· สหรัฐฯมีการฉีดวัคซีนมากกว่า 3 ล้านโดสต่อวันเป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกัน
ชาวอเมริกันประมาณ 40% ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และประมาณ 1 ใน 4 ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสถ้วน
· ประเทศต่างๆในอียูกลับมาใช้งานวัคซีน Johnson & Johnson อีกครั้ง
· ออสเตรเลีย ทำการยกเลิกข้อตกลงระหว่างประเทศกับจีนในโครงการ Belt and Road จากกรณี “ผลประโยชน์ของประเทศ”
· ยูเครนเรียกร้องชาติพันธมิตรฝั่งตะวันตก ให้ร่วมมือกันเร่งดำเนินการในตอนนี้เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการรุกรานครั้งใหม่จากทหารของรัสเซีย
· เจ้าหน้าที่สหรัฐฯชี้ ประเด็นหลักระหว่าง “สหรัฐฯ-อิหร่าน” ยังไม่สามารถตกลงได้ในการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผย ผลลัพธ์ของการเจรจาระหว่างสองประเทศยังมีความไม่แน่นอน และยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้จากความแตกต่างในเรื่อง
“อิหร่านต้องการให้สหรัฐฯยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรก่อน” จึงจะกลับมาทำตามข้อตกลงการควบคุมโครงการนิวเคลียร์ ทำให้การเจรจาดูจะต้องดำเนินต่อไปอีกหลายรอบ
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบค่าเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.25 - 31.35 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามทิศทางตลาดโลก เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าจากแรงซื้อในตลาด
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- นายกรัฐมนตรีของไทย ระบุถึงความจำเป็นต้องประกาศเคอร์ฟิว เพื่อควบคุมหากสถานการณ์รุนแรงขึ้นหรือไม่ว่า ขอประเมินสถานการณ์ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ก่อน ถ้าสามารถควบคุมได้ก็ไม่จำเป็นต้องยกระดับมาตรการ
- รมว.พาณิชย์ไทย เผยการส่งออกของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น และน่าจะพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วหลังจากเผชิญกับวิกฤตโควิด สงครามการค้า และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในเดือน มี.ค.64 จะเป็นบวกไม่น้อยกว่า 8%
- ที่ประชุม กกร.ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 64 เป็นขยายตัวได้ในกรอบ 1.5% ถึง 3.0% หากการรฉีดวัคซีนเป็นไปตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาทที่จะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ แต่หากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว จีดีพีจะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0% ขณะเดียวกันได้ปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกในปี 64 คาดว่าจะขยายตัว 4.0% ถึง 6.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2%
- ธปท.เผยหลังจาก ครม.ทีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ
1.มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)
2.มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) ทำให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยเม็ดเงินลงไปในลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากกว่า พ.ร.ก.ซอฟท์โลน เดิมได้ ซึ่งจะช่วยเหลือฟื้นฟูภาคธุรกิจ ทั้งผู้ประกอบการรายย่อย, SMEs และผู้ประกอบการรายใหญ่