ดอลลาร์แข็งค่ากดดัน “ทองลงกว่า 1%”
· ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.7% ที่ระดับ 1,781.46 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด -0.6% ที่ 1,782 เหรียญ
· ราคาทองคำปรับตัวลดลงกว่า 1% อ่อนตัวลงจากที่ทำสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์บริเวณ 1,797.67 เหรียญ หรือระดับสูงสุดตั้งแต่ช่วง 25 ก.พ. โดยภาพรวมตลาดได้รับแรงกดดันจากการที่ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่
· ดอลลาร์แข็งค่าปิด +0.28% ที่ระดับ 91.355 จุด ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลง 0.24% ที่ 1.2007 ดอลลาร์/ยูโร โดยตลาดรับข่าวอีซีบีมีมติคงดอกเบี้ย และไม่ได้มีการระบุว่าจะถอนแนวทางการดำเนินนโยบายหากเศรษฐกิจฟื้นตัวเมื่อใด ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนถึงภาวะเศรษบกิจฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง
· กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์แตะ 547,000 ราย เป็นครั้งแรกรอบ 13 เดือน
· นักวิเคราะห์จาก ED&F Man Capital Markets มองทองคำมีระดับแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยา 1,800 เหรียญ และมีโอกาสกลับทดสอบอีกครั้งหากดอลลาร์ฉละอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ่อนตัวลงพร้อมกันทั้งคู่
· ทองคำปีนี้ปรับตัวลดลงมาแล้วราว 6% จากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี
· นักกลยุทธ์จาก RJO Futures กล่าวว่า ภาวะขาลงของทองคำมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นเพียง “ระยะสั้นๆ” ท่ามกลางธนาคารกลางต่างๆที่มีการซื้อกลับ และการกลับมาเพิ่มการถือครองทองคำในจีนและอินเดีย
· รายงานจากสวิสเซอร์แลนด์เดือนมี.ค. บ่งชี้ว่า มีการส่งออกทองคำมากสุดครั้งประวัติการณ์ในรอบ 10 เดือน จากยอดขนส่งอินเดียที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่การระบาดระลอกใหม่ในอินเดียมีแนวโน้มจะส่งผลลบได้
· ราคาพลาเดียมปิดอ่อนตัวลงต่ำกว่าระดับ All-Time High 2,891.50 เหรียญ
โดยปิดตลาด -1.5% ที่ 2,833.28 เหรียญ
· ที่ปรึกษาด้านตลาดทองคำโลกของ The Perth Mint กล่าวว่า หากนักลงทุนมีการถือครองสถานะ Long ในพลาเดียมและแพลทินัม ถือว่าน่าจะมาถูกทาง เนื่องด้วยราคามีการปรับขึ้นค่อนข้างแรงจากภาวะอุปทานที่ตึงตัวอย่างมาก และอุปสงค์ทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์
· นักวิเคราะห์หลายรายคาด พลาเดียมอาจไปแตะ 3,000 เหรียญได้
· ซิลเวอร์ปิด -1.8% ที่ 26.10 เหรียญ
· แพลทินัมปิด -1% ที่ 1,202.12 เหรียญ
· ประชุมอีซีบีผิดคาด “ไม่กล่าวถึงการถอน QE” ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่จะใช้เวลานาน
อีซีบียังคงตรึงดอกเบี้ยที่ -0.5% ในการประชุม – รอพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจรีบาวน์
พร้อมประเมินว่าการใช้นโยบายกระตุ้นทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีกำลังพอที่จะเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตต่อได้ในช่วงปลายปีนี้
สมาชิกอีซีบียังคงตรึงวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรผ่านโครงการ PEPP ที่ 1.85 ล้านล้านยูโร (2.2 ล้านล้านเหรียญ) โดยยืนยันจะซื้อพันธบัตรต่อในไตรมาสปัจจุบัน และยังระบุถึงการจะเดินหน้าตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ระดับติดลบเป็นเวลานานเพื่อเสริมสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงภาคครัวเรือน
ภาพรวมอีซีบีมีการใช้เงินเฉลี่ย 1.7 หมื่นล้านเหรียญ/สัปดาห์สำหรับโครงการ PEPP ตั้งแต่ที่มีการเริ่มโครงการมา โดยสัปดาห์แรกของปี 2021 ใช้งบ 1.4 หมื่นล้านเหรียญ มุ่งเน้นการเสริมการกู้ยืมให้แก่บริษัทต่างๆ, ภาคครัวเรือน และรัฐบาลในยูโรโซนที่เผชิญวิกฤต Covid-19 และจะเดินหน้าซื้อพันธบัตรต่อตามที่กำหนดสิ้นสุดเดือนมี.ค. ปี 2022
· คริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี กล่าวเตือน เศรษฐกิจยังต้องพึ่ง “เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ”
ประธานอีซีบีมีการเรียกร้องให้สมาชิกอีซีบียอมรับการจัดการแผนกองทุนฟื้นฟูสำหรับอียูด้วย เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตไวรัสระบาดต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน โดยจะเห็นได้จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงิน ดังนั้นทุกฝ่ายไม่ควรเดินหน้าเพียงลำพัง
· ไบเดนเสนอแผนขึ้นภาษี 39.6% เพื่อเสริมงบแก่กองุทุนการศึกษาและสวัสดิการเด็ก
นายโจ ไบเดน มีแผนจะทำการขึ้นภาษีนักลงทุนมหาเศรษฐีเพื่อนำไปเสริมงบประมาณด้านการศึกษษและค่าใช้จ่ายพื้นฐานอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดจะขึ้นภาษีคนรวยที่มีรายได้เกินกว่า 1 ล้านเหรียญ จากที่เก็บภาษี 20% เป็น 39.6%
แผนดังกล่าวจะเป็นการแยกออกจากแพ็คเกจโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.3 ล้านล้านเหรียญ หรือ American Jobs Plan ที่จะมีการขึ้นภาษีบริษัทสูงถึง 28%
· รีพับลิกัน ค้านแผนโครงสร้างพื้นฐานไบเดน แนะหั่นงบเหลือเพียง 5.68 แสนล้านเหรียญ
· สถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาพบจำนวนการระบาดทั่วโลกรายวันยังสูงกว่า 880,000 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมล่าสุดพุ่งทะลุ 145 ล้านราย
รวมสะสมล่าสุดอยู่ที่ 145.31 ล้านราย
เสียชีวิตสะสมแตะ 3.08 ล้านราย
· สถานการณ์อินเดียยังเลวร้าย ยอดติดเชื้อรายวันพุ่งทะลุ 332,503 ราย รวมติดเชื้อสะสมตอนนี้ 16.25 ล้านราย ท่ามกลางการขาดแคลนออกซิเจนในการใช้รักษา
· ญี่ปุ่นเผชิญยอดติดเชื้อรายวันพุ่งสูงกว่า 5,000 ราย ด้าน 3 จังหวัดโดยรอบกุรงโตเกียวประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว
· ไทยขยับอันดับติดเชื้อสะสมอันดับที่ 105 ของโลก โดยศบค.แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1,470 ราย รวมติดเชื้อสะสม 48,113 ราย เสียชีวิตพุ่ง 7 ราย เสียชีวิตสะสม 117 ราย
· ดร.แอนโธนี ฟาวซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดระดับสูงสุหรัฐฯ แนะประชาชนที่ได้รับวัคซีน Covid-19 ควรได้รับวัคซีนเข็มสองเร็วๆนี้ เพื่อไม่ให้นานเกินไปจนเกิดอาการติดเชื้อได้อีกระลอก
ขณะที่วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna ถือเป็นวัคซีนที่ให้ประสิทธิภาพในการต้านไวรัสได้สูงถึง 95% แต่ความแข็งแกร่งในการป้องกันยังไม่สุงมาก จนกว่าจะได้รับการฉีดเข็มที่ 2
· จีนตำหนิออสเตรเลียที่กำลังคิดจะก่อ “สงครามเย็น” จากการจะยกเลิกข้อตกลง Belt and Road
· ทบวงปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เผย อิหร่านมีการลดจำนวนเครื่องมือในการเสริมสมรรถภาพอาวุธินิวเคลียร์ด้วยแร่ยูเรเนียม 60%
· รัสเซียสั่งเพิ่มกำลังทหารหนุนพรมแดนบริเวณใกล้ยูเครน
· รายงานระบุว่า ซาอุดีอาระเบียสกัดกั้นโดรนที่บรรทุกวัตถุระเบิดของกลุ่มกบฎฮูติ 2 ลำที่ยิงใส่พื้นที่ทางตอนใต้และเมืองคามิสมูไชต์
· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.25 - 31.45 บาท/ดอลลาร์ โดยเมื่อวานนี้ ค่าเงิบาทเย็นนี้อ่อนค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาดช่วงเช้า แต่ระหว่างวันยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากวันนี้ยังไม่มีปัจจัยที่ มีผลต่อทิศทางของค่าเงิน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการระบาดของโควิดระลอก 3 คาดต้องใช้เวลาควบคุมนานกว่ารอบก่อน ส่งผลกระทบต่อแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 2.5 แสน - 1.2 ล้านคน ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดไว้ 2 ล้านคน
- ม.หอการค้าไทย ประเมินว่า GDP ของไทยในปีนี้ มีโอกาสเติบโตได้เพียง 1.6% เนื่องจากผลกระทบจากระบาดของไวรัสโควิดในประเทศ และคาดว่าในปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยจะเหลือเพียง 2.8 ล้านคนเท่านั้น ทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า รัฐบาลสามารถควบคุมการระบาดรอบใหม่ได้ในช่วง 2 เดือน คิดเป็นมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจราว 2 แสนล้านบาท
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นัดชุมนุมผ่านโซเชียลมีเดีย ในหัวข้อ "24 เมษา ยก 2 ประยุทธ์ออกไป" ซึ่งจะเริ่มต้นกิจกรรมปราศัยออนไลน์ ในวันที่ 24 และ 25 เม.ย.
· อ้างอิงจากประชาชาติ
กรุงไทย หั่นจีดีพีเหลือ 1.5-3% ชี้ คุมโควิดไม่ได้ใน 3 เดือน ฉุดอุปสงค์วูบ 1.85 แสนล้าน
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ปรับกรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 64 เหลือโต 1.5-3% จากเดิมอยู่ที่ 2.5% หลังโควิด-19 ระลอก 3 ระบาด คาดกินเวลา 3 เดือน กระทบการท่องเที่ยวในประเทศวูบ เหลือ 81.6 ล้านคน สร้างความเสียหายเม็ดเงิน 1.8 แสนล้านบาท หวั่นควบคุมไม่ได้ใน 3 เดือน ฉุดอุปสงค์ในประเทศถึง 1.85 แสนล้านบาท ภาพรวมพร้อมคาดรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศจะหายไปราว 90,000 - 180,000 ล้านบาท