• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 23 เมษายน 2564

    23 เมษายน 2564 | SET News



·         CIO จาก The Global CIO Office มองภาวะซื้อขายแบบ Reflation Trade จะยังไม่หมดไปจากตลาดเร็วๆนี้ จึงอาจเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ต่อตลาดต่างๆได้

 

 

·         ดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความกังวลที่ว่าทำเนียบขาวอาจขอขึ้นภาษีจากรายได้การลงทุน

 

ดัชนี S&P 500 futures เพิ่มขึ้น 0.1%

ดัชนี Dowjones futures เพิ่มขึ้น 22 จุด

ดัชนี Nasdaq 100 futures เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว

 


·         ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่ม Blue-Chip ที่เพิ่มขึ้น และอีซีบียังคงนโยบาย ขณะที่เหล่านักลงไม่ได้ตอบรับกับผลกระทบจากความเป็นไปได้เกี่ยวกับการที่สหรัฐฯอาจจะปรับขึ้นภาษีรายได้การลงทุน

 

ดัชนี blue-chip +0.51% ได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสุขภาพ

ดัชนี Hang Seng +0.54%

ดัชนี Stoxx 50 futures -0.25%

ดัชนี DAX futures -0.35%

ดัชนี FTSE futures -0.43%

 

โดยการเคลื่อนไหวเล็กน้อยในตลาดหุ้นเทียบและการร่วงลงสกุลเงินดิจิทัล มาจากการี่เหล่านักลงทุนรู้สึกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาษี

 

Bitcoin ลดลงต่ำกว่าระดับ 50,000 เหรียญ สู่ระดับต่ำสุดที่ 48,338.37 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 สัปดาห์ Ethereum ลดลงเกือบ 12% และล่าสุดราคาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่า 2,200 เหรียญ ลดลงมากกว่า 8.5% ในวันนี้

 

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.54%

 

 

·         ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลดลง เนื่องจากการที่รัฐบาลเข้มงวดมากขึ้นเพื่อนยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จึงทำให้เกิดความกังวลในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่กระแสคาดการณ์ที่น่าผิดหวังจาก Nidec ทำให้เกิดความระมัดระวังการลงทุนในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลทำกำไรของภาคบริษัท

 

โดย Nidec ผู้ผลิตมอเตอร์ที่มีความแม่นยำซึ่งใช้ในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนร่วงลง 5.12% หลังจากการนักวิเคราะห์คาดการณ์ผลประกอบการประจำปีสำหรับธุรกิจปรับตัวลดลง

 

ดัชนี Nikkei ปิด -0.57% ที่ระดับ 29,020.63 จุด

ดัชนี Topix -0.39% ที่ระดับ 1,914.98 จุด

ซึ่งทั้งสองดัชนี ร่วงลงมากกว่า 2% ในสัปดาห์นี้

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นของญี่ปุ่นยังได้รับผลกระทบจากการอ่อนตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงข้ามคืน จากรายงานที่ว่านายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯวางแผนที่จะเพิ่มภาษีกำไรจากการลงทุนเกือบสองเท่า

 


·         หุ้นของซัพพลายเออร์ทางการแพทย์หลายรายในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นรายวันของยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลก

โดยหุ้นที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ของ Top Glove ซึ่งเป็นผู้ผลิตถุงมือแพทย์รายใหญ่ที่สุดของโลกเพิ่มขึ้น 18.4% ด้านหุ้นของ บริษัทในมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 24.3% ในช่วงเวลาเดียวกัน





·         หุ้นยุโรปปรับตัวลดลงเล็กน้อย ท่ามกลางการอ่อนตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงสุดท้ายของสัปดาห์ โดยเหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการประกาศข้อมูลที่สำคัญทางเศรษฐกิจและรายงานผลประกอบการภาคบริษัท

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% ด้านหุ้นกลุ่มเทเลคอมลดลง 0.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้น 0.3%

 

·         ดัชนี FTSE100 เปิดร่วง ถูกกดดันจากปอนด์แข็ง - หุ้นอุตสาหกรรมดิ่ง ก่อนทราบข้อมูล PMI อังกฤษ

ดัชนี FTSE100 ของอังกฤษ เปิดลง -0.4% หลังหุ้นกลุ่มภาคอุตสาหกรรมเปิดลบ  และปอนด์แข็งค่า กดดันบริษัทส่งออกในประเทศ ขณะที่นักลงทุนรอคอยข้อมูลผลสำรวจภาคธุรกิจการผลิตเดือนเม.ย.ในช่วงค่ำวันนี้

 

·         บาทกลับมาแข็ง - ส่งออกเดือน มี.ค. พุ่ง 8.47% มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์!!



ตัวเลขส่งออกมีนาคมพุ่ง + 8.47% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำรายได้ 750,000 ล้านบาท

 

วันที่ 23 เมษายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือนมีนาคม 2564 ออกมาแล้วอย่างที่ได้คาดการณ์ไว้ นั่นคือการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2564 สามารถทำตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่งถึง 750,000 ล้านบาท ขยายตัวถึง +8.47 % และถ้าไม่นับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย จะสูงถึง + 12%

ซึ่งสะท้อนว่าการส่งออกของไทยยังเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ แม้ในยามที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรวมทั้งยังมีปัญหาด้านการท่องเที่ยวก็ตาม

นายจุรินทร์กล่าวว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ นอกจากเกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวแล้ว ก็ยังเกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในนาม กรอ.พาณิชย์ เพราะเมื่อมีปัญหาใดขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกก็สามารถตั้งคณะทำงานร่วมกันขึ้นมาแก้ไขปัญหาได้ในทันที

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปัญหาการส่งออกตามด่านชายแดน และปัญหาความไม่เข้าใจอื่น ๆ ของคู่ค้า รวมทั้งการเร่งปรับรูปแบบการเจรจาการค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีนวัตกรรมทางการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ ในยุคนิว นอร์มอลขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเปิดการเจรจาการค้ากับคู่ค้าต่างประเทศ ในรูปแบบไฮบริด เวอร์ชวล เทรดเอ็กซ์ซิบิชั่น หรือรูปแบบการจับคู่เจรจาธุรกิจก็ตาม ทำให้เป้าหมายการส่งออกปี 2564 นี้ที่มีการประเมินร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนว่าจะขยายตัว +4% นั้นมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง

ด้าน นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงการส่งออกไทยเดือนมีนาคม 2564 พบว่า มีมูลค่า 24,222.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.47% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกทั้งยังสูงสุดในรอบ 28 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าดีขึ้นมีผลต่อการนำเข้าสินค้า

ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธ์ปัจจัย การส่งออกขยายตัวถึง 11.97% สะท้อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ขณะที่ภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2564 การส่งออกขยายตัวที่ 2.27% เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ไตรมาสแรกขยายตัวที่ 7.61%

อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องของแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยเนื่องจากกลุ่มแพร่ระบาดไม่ได้อยู่ในกลุ่มแรงงาน โรงงาน ซึ่งส่งผลให้การผลิตสินค้านั้นยังเดินหน้าได้ พร้อมกันนี้ทิศทางการยังออกแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดี

สำหรับการนำเข้า มีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14.12% ดุลการค้าเกินดุล 710.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนภาพรวมการส่งออกไทยไตรมาสแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 64,148.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.27% การนำเข้า มีมูลค่า 63,632.37 ขยายตัว 9.37% เกินดุล 515.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ หากการส่งออกไทยทั้งปีโต 4% การส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 19,620 ล้านเหรียญสหรัฐ หากส่งออกโต 6% เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 20,134 ล้านเหรียญสหรัฐ และโต 7% เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 20,391 ล้านเหรียญสหรัฐ จากทิศทางการส่งออกที่เป็นไปในทิศทางที่ดีว่งแนวโน้มอาจจะมีการพิจารณาปรับประมาณการณ์ส่งออกอีกครั้ง ทั้งนี้ ก็ต้องรอดุนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง

อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติ


- ส่งออก มี.ค.พลิกกลับมาบวก 8.47% มูลค่าสูงสุดรอบ 28 เดือน,นำเข้าโต 14.12%

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน มี.ค.64 มีมูลค่า 24,222.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.47% เมื่อเทียบเดือน มี.ค.63 โดยมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย.61 โดยมีปัจจัยบวกจากการกระจายวัคซีนในวงกว้าง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ และการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก

อย่างไรก็ตาม เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัยแล้ว การส่งออกขยายตัว 11.97%เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14.12% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 710.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทย่อยบันทึกกำไรสุทธิ 46,071 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.4% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิ 31,259 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการลดลงของการตั้งสำรองหนี้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ขณะที่รายได้จากธุรกิจหลักยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังมีแรงกดดันจากการระบาดที่ยืดเยื้อของเชื้อไวรัสโควิด-19และการลดลงของค่าใช้จ่าย เป็นแรงสนับสนุนของกำไรสุทธิในไตรมาสแรกปีนี้

- กระทรวงการคลัง ระบุหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 86.6% ต่อจีดีพี หลังโควิด-19 ระลอกใหม่ ห่วงคนไทย 27.1% ไม่มีแผนการออมเงิน โดยเฉพาะสังคมสูงอายุ 34.7% ยังพึ่งพาเงินจากบุตรหลาน หวั่นไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ "เกษียณทุกข์" ไม่มีเงินใช้ตอนแก่

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

 

- ‘นายกฯเรียกถกอนาคต การบินไทยจะเป็นเอกชนหรือกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ?


 

รายงานข่าวเปิดเผยว่า วันนี้ (23 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เชิญกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือเรื่องบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากมีการเสนอให้การบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจอีกครั้ง

อ้างอิงจากสำนักข่าว The bangkok in sight

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com