กลุ่มนักลงทุนจะจับตาความหลากหลายของเหตุการณ์สำคัญในตลาดสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ
- ฤดูกาลประกาศรายงานผลประกอบการภาคบริษัท
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายประชุมเฟด
ประชุมเฟดเดือนเม.ย.
- เฟดจะประชุมระหว่างวันที่ 27-28 เม.ย. นี้ (อังคาร-พุธ)
- ประธานเฟดเฟดจะมีการกล่าวถ้อยแถลงรายงานประชุมในคืนวันพุธ เวลาประมาณ ตี 1 ครึ่ง (ตามเวลาไทย)
คาดการณ์:
- เฟดน่าจะส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยในการประชุมวาระนี้ โดยคาดจะยังคงดอกเบี้ยจนถึงปี 2023
- เฟดไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายใดๆ ในการประชุมวาระนี้
นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด สะท้อนว่า การดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆในครั้งแรกอาจเป็นการเริ่มต้นที่ “การเข้าซื้อสินทรัพย์หรือพันธบัตรในวงเงิน 1.2 แสนล้านเหรียญ/เดือน”
อย่างไรก็ดี ภาพรวมดูเหมือนสมาชิกเฟดจะยังไม่มีแนวคิดที่จะ “เริ่มลดหรือถอนนโยบาย QE” เนื่องจากยังมองเห็นถึง “ความไม่แน่นอนของการระบาด”
แต่การประชุมเดือนที่แล้ว (มี.ค.) ข้อมูลการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ค่อนข้าง “ยืนยันการตัดสินใจ” และทำให้เฟดยังเดินหน้าสนับสนุนการผ่อนคลายทางการเงินต่อ ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ปรับตัวลงทำต่ำสุดตั้งแต่ที่เกิดการระบาดมาในตั้งแต่ปีที่แล้ว
- ยอดค้าปลีกสหรัฐฯปรับตัวขึ้นเกือบ 10% สูงสุดตั้งแต่พ.ค. ปี 2020
- IHS เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการปรับขึ้นทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจข้อมูลมา
- อุปสงค์ของกลุ่มผู้บริโภคปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนของการผลิตและการบริการ
มุมมองนักวิเคราะห์
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America กล่าวว่า บทสรุปการประชุมในเดืนอเม.ย. คาดว่าประธานเฟดน่าจะยังมองเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นไปในเชิงบวก แต่อาจจะย้ำถึงการที่เศรษฐกิจจำเป็นต้องมีความก้าวหน้ามากขึ้น ก่อนที่จะทำการส่งสัญญาณเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายใดๆ ขณะที่ความเสี่ยงจากไวรัสยังคงมีอยู่
แถลงการณ์ประชุมเฟดมีแนวโน้มจะ “ตอกย้ำ” ว่าเฟดยังมีกำลังใจที่ดีจากข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ที่สะท้อนว่าเงินเฟ้อล่าสุดที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเป็นการปรับขึ้นเป็นการชั่วคราว ซึ่งการเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดมีแนวโน้มจะดำเนินต่อไปเพื่อให้เศรษฐกิจโตได้อย่างมีเสถียรภาพ และเชื่อว่าเฟดมองการดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบาย
นักวิเคราะห์บางราย มองว่า
- เฟดจะย้ำถึงทิศทางเศรษฐกิจทีแข็งแกร่งที่อาจทำให้เฟดเลือกเปลี่ยนแปลงนโยบายเร็วกว่าที่คาดได้
- เฟดอาจรับมือกับภาวะเศรษฐกิจไม่นานเกินไป สำหรับการสนับสนุนทางการเงิน
- เฟดอาจมองโอกาสการขึ้นของเงินเฟ้อและห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวหนุนการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก ING มองว่า เศรษฐกิจที่กลับมาเปิดทำการได้มากขึ้นในแต่ละวัน ทำให้คาดว่าจะเห็นการจ้างงานกลับมาเพิ่มขึ้นได้ราว 1 ล้านคนขึ้นไป ซึ่งอาจเพียงพอให้เฟดตัดสินใจมองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน จนทำให้เฟดเริ่มที่จะถอนแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินได้ “ก่อนสิ้นปี”
นักวิเคราะห์บางกลุ่มก็คาดว่า การดำเนินนโยบายการเงินของเฟดจะยังอยู่ต่อไป แต่อาจเห็นการหารือถึงแนวทางการลด/ถอนมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในระยะสั้นๆ
หัวหน้านักกลยุทธ์ระดับมหาคของสหรัฐฯ รายหนึ่ง ไม่คาดว่า เฟดจะส่งสัญญาณใหม่ในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือแม้แต่แนวทางการคุมเข้มทางการเงิน แม้ว่าเศรษฐกิจจะโตได้มากกว่าที่ประเมินในเดือนมี.ค. การที่เฟดจะเปลี่ยนแปลงคาดการณ์การดำเนินนโยบาย “น่าจะเริ่มต้นขึ้นประมาณ มี.ค. 2022 - ก.ย. ปี 2022” แต่เราไม่คาดว่าเฟดจะดำเนินการใดๆในเร็วๆนี้ และอาจจะเห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการลดมาตรการมากขึ้นในช่วงปลายปีมากกว่า
รายงานผลประกอบการบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่สหรัฐฯ
สหรัฐฯจะมีการประกาศรายงานผลการดำเนินงานไตรมาสแรกในสัปดาห์นี้ ประกอบไปด้วย Amazon, Alphabet, Facebook และ Google ที่จะเป็นตัวตอกย้ำว่าหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังได้รับอานิสงส์จากมาตรการ Stay-at-Home ช่วงการระบาดของไวรัสเช่นใด และภาพรวมเชื่อว่าไตรมาสที่ 1/2021 นั้นจะค่อนข้างสดใส
ขณะที่บริษัทต่างๆในกลุ่มดัชนี S&P500 ส่วนใหญ่เผยผลประกอบการไตรมาสแรกค่อนข้างสดใส และดุเหมือนจะสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ได้มากถึง 23.1%
ที่มา: Yahoo Finance