นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในคนที่ “เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด” สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯเท่าที่เคยมีมร
จะเห็นได้ว่าการมาของนายไบเดน ในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูจะทำให้ทิศทางตลาดหุ้นดูจะดีขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็นับย้อนไปในปี 1950 หรือยุคของทีมบริหาร จอมพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ ในการดำรงตำแหน่ง 100 วันแรก ดังตัวอย่างในภาพประกอบ
แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง “ไบเดน” และ “ตลาดหุ้นสหรัฐฯ” จะอยู่ได้นานเท่าใด จะขึ้นอยู่กับการตอบรับของนักลงทุนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของอุปสรรคที่ต้องเผชิญจาก
- นโยบายภาษีของนายไบเดน
- ข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับด้านสภาพอากาศของทีมบริหารไบเดน
- สถานการณ์คุกคามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังเติบโตไปอย่างร้อนแรง
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนนักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่มีท่าทีลังเลในการเลือกลงทุนในหุ้นบริษัทรายใหญ่ของสหรัฐฯเวลานี้
นักกลยุทธ์จาก JPMorgan Chase ระบุเกี่ยวกับช่วง 100 วันแรกของนายไบเดนว่า ผลตอบแทนในตลาดหุ้นค่อนข้างแข็งแกร่งหลังจบเลือกตั้ง (แกร่งสุดในรอบ 75 ปี เป็นอย่างน้อย) โดยที่เป็นผลจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และการลงนามคำสั่งฉุกเฉินสำหรับแผนดังกล่าว
ขณะที่ผลลัพธ์บางประการก็ดูเหมือนจะไม่แย่เหมือนในยุคของนายทรัมป์ แม้ว่าตอนหาเสียงจะไม่ร้อนแรงเท่าการปราศรับของนายทรัมป์
ดัชนี S&P500 นับตั้งแต่วันเลือกตั้งช่วงปลายปี 2020 จะเห็นได้ถึงการปรับตัวขึ้นมาได้แล้ว 24.1%
เมื่อพิจารณาย้อนกลับไปในทีมบริหารของสหรัฐฯปี 1953 จะเห็นได้ว่าการเริ่มของยุคของจอมพลไอเซนฮาวร์ จนถึงคู่แข่งอย่าง นายจอห์น เอฟ. เคเนดี้ พรรครีพับลิกัน ที่ช่วงเวลานั้นที่ทั้งสองต่างครองตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดูจะทำให้ดัชนี S&P500 ปรับขึ้นได้ 18.5%
ขณะที่การดำรงตำแหน่งของนายทรัมป์ในช่วง 100 วันแรก ผลตอบแทนในดัชนี S&P500 ปรับขึ้นได้ 11.4%
ทั้งหมดนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับนายไบเดนและตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องด้วยนายไบเดนมาในช่วงที่สถานการณ์นั้นค่อนข้างยาก และตลาดจึงตอบรับกับการอัดฉีดหรือดำเนินการใดๆ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค. ปีที่แล้ว (ปี 2020) ที่จะเห็นได้ถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนับตั้งแต่นั้นมา
และต้องยอมรับว่า “ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใด” จะเผชิญกับเรื่องวุ่นวายและผันผวนต่างๆ เมื่อเทียบกับ “นายไบเดน” ที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่เดือนม.ค. ปี 2021
ทั้งนี้ สภาคองเกรสมีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมาแล้วสูงกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ ขณะที่เฟดเองก็มีการอัดฉีดเม็ดเงินเป็นจำนวนมากที่สุดครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการผ่อนคลายแนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงิน โดยที่เฟดมียอดงบดุลเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว และปัจจุบันมียอดงบดุลบัญชีขยับใกล้ 8 ล้านล้านเหรียญแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังมี “ความเป็นไปได้” ที่จะเห็นการอัดฉีดงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯในวงเงินสูงนับล้านล้านเหรียญ และคาดว่าอาจเห็นการผ่านมติเพียงพรรคเดโมแครตเพียงพรรคเดียว ขณะที่แผนดังกล่าวดูจะส่งผลให้นักลงทุนใช้เป็นเหตุผลมากขึ้นที่ในการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ตลาด
นอกจากนี้ สถานการณ์การฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ พบว่า ประชาชนสหรัฐฯกว่า 3 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และคาดว่าน่าจะหนุนให้เศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเนื่องมากขึ้นจนสามารถกลับมาฟื้นคืนก่อนการระบาดอีกครั้ง
หัวหน้านักกลยุทธ์จาก National Securities กล่าวเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งช่วง 100 วันแรกของนายไบเดน ที่สะท้อนถึงสัญญาณความผันผวนทางเศรษฐกิจในการกลับมาปิดทำการ ท่ามกลางแรงยื้อยุดกันระหว่าง “การฉีดวัคซีน” กับ “การระบาดของไวรัส” แต่เชื่อว่าในท้ายที่สุด “วัคซีน” จะเป็นฝ่ายชนะ
สิ่งที่อาจทำให้สถานการณ์เกี่ยวกับ “ไบเดน-ตลาดหุ้น” ผิดพลาด
ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่จะมาสร้างความผันผวนต่อภาวะ “ขาขึ้น” ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
อ้างอิงจากข้อมูลของ Bank of America ระบุว่า นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าดัชนี S&P500 มีการปรับขึ้นได้ราว 48% แต่ก็ไม่ได้มีสัญญาณอ่อนตัวมากกว่าช่วง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่พ.ย. ปี 2020 ถึงเดือนมี.ค. ปี 2021 กลุ่มนักงทุนดูจะมีการเพิ่มเม็ดเงินมากขึ้นผ่านกองทุนหุ้นต่างๆสูงกว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และกว่า 96% ขอบบริษัทต่างๆที่อยู่ในกระดานซื้อขายดัชนี S&P500 ค่อนข้างให้ผลตอบแทนเป็นบวกมากขึ้นในช่วง 1 ปีนี้ แม้ว่าจะมีความผันผวนมากผิดปกติ โดยเฉพาะในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมาก็ตาม
ตลาดต่างๆยังคงเดินหน้าปรับขึ้นต่อ แม้จะรับข่าวที่ว่า “นายไบเดนมีแผนจะเก็บภาษีเงินได้กลุ่มคนร่ำรวย ควบคู่กับการขึ้นภาษีบริษัท” แต่หลายๆองค์กรก็คาดว่าน่าจะเห็นร่างกฏหมายขึ้นภาษีเกิดขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ
แต่ความ “วิตกกังวล” ที่ยังมีอยู่ ก็ดูเหมือนจะส่งผลสะท้อนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายบางประการที่ผิดพลาดได้
หัวหน้าที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของบริษัท Allianz กล่าวว่า การดำเนินนโยบายที่มองตามเหมาะสม แท้จริงแล้วอาจเป็น “เรื่องที่ผิดพลาด” โดยเฉพาะสิ่งที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ คือ “การปรับขึ้นของเงินเฟ้อ” แต่การอัดฉีดเม็ดเงินหรือเสริมสภาพคล่องต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถที่จะฟื้นตัวได้ เว้นแต่เราจะเห็นว่าการดำเนินการต่างๆเป็นไปอย่าง “ไร้ประโยชน์” ทั้งในส่วนของการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด หรือการตัดสินใจของลาดซื้อขายบางแห่ง
หนึ่งในประเด็นที่เค้าจับตาคือ “ประชุมเฟด” สัปดาห์นี้
สมาชิกเฟดส่วนใหญ่ดูจะชัดเจนที่จะ “ไม่ทำการเปลี่ยนแปลง” การดำเนินนโยบายทางการเงินใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้นโยบายดอกเบี้ยระดับต่ำ และการเข้าซื้อ QE แต่ภาพรวมอาจจะเห็นเฟดค่อๆยทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างช้าๆ ในเร็วๆนี้
ขณะที่ความเสี่ยงจากการจะเห็นตลาดหุ้นอ่อนตัวลงมากกว่าก็มีค่อนข้างสูง
สิ่งที่จะเป็น “อุปสรรค” ที่แท้จริงของตลาดต่างๆ คือ การก้าวสู่กับดักอย่างช้าๆ จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้น และทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้นที่อาจทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาค่อนข้างเยอะได้
อย่างไรก็ดี สมาชิกเฟดบางส่วน ก็เชื่อมั่นว่า การปรับขึ้นของเงินเฟ้อเมื่อไม่นานมานี้ ดูจะเกิดขึ้นเป็น “การชั่วคราว” เท่านั้น ขณะที่ภาวะห่วงโซ่อุปทานที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเงินเฟ้อ อาทิ กลุ่มเซมิคคอนดัคเตอร์ และสินค้าต่างๆ เป็นต้น
ที่มา: CNBC