ทองคำปรับตัวลงราว 1% หลังเยลเลนมองว่า การขึ้นดอกเบี้ยอาจำเป็นต้องช่วยหยุดภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
· ราคาทองคำทองคำตลาดโลกปิด -0.9% ที่ 1,776 เหรียญ
· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด -0.9% ที่ระดับ 1,776 เหรียญ
กองทุน SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม โดยปัจจุบันถือครองทองคำที่ระดับ 1,018.2 ตัน
หัวหน้านักวิเคราะห์จาก BMO กล่าวว่า การปรับตัวลดลงของราคาทองคำเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 2 สัปดาห์จากความพยายามที่ปรับขึ้นไปเหนือ 1,800 เหรียญ และก็กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ จากการเผชิญแรงเทขายทำกำไรในตลาดจากถ้อยแถลงของนางเยลเลน ที่กดดันทองคำลงมากว่า 20 เหรียญ
นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered ยังคาดว่าค่าเฉลี่ยราคาทองคำในช่วงไตรมาสที่ 2/2021 จะยังอยู่บริเวณ 1,775 เหรียญ ท่ามกลางคามต้องการทองคำเริ่มเพิ่มขึ้น, การถือครองของกองทุน ETP เริ่มชะลอการขายออก ประกอบกับเฟดยังมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งยังถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงขาขึ้นสำหรับทองคำอยู่
· พลาเดียมทำ Record High จากภาวะความกังวลเรื่องอุปทานลดน้อยลงในการผลิตอุปกรณ์และการควบคุมมลพิษในกลุ่มรถยนต์ โดยเมื่อคืนทำ All-Time High ที่ 3,017.18 เหรียญ ก่อนปิด -0.2% ที่ 2,965.35 เหรียญ
· ราคาซิลเวอร์ปรับลง 2% ที่ 26.34 เหรียญ หลังจากที่ทำสูงสุดตั้งแต่ 26 ก.พ.
· ราคาแพลทินัมปิด -0.6% ที่ 1,222.93 เหรียญ
· ถ้อยแถลง “เยลเลน” ป่วนตลาด - เงินเฟ้อไม่ใช่ปัญหาหลังจากเฟดขึ้นดอกเบี้ย
นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แสดงความคิดเห็นว่า “เงินเฟ้อ” ไม่ใช่ปัญหา และกล่าวถึงมุมมองการสนับสนุนการการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงก่อนหน้าว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยมีความจำเป็นก็ต่อเมื่อต้องการยุติความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจากแผนค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลของนายไบเดน แม้ว่าการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายจะมีขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม
ถ้อยแถลงดังกล่าวเข้ากดดันทำให้หุ้นเทคโนโลยีดิ่งลง ควบคู่กับผลักดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯให้ปรับตัวสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน “เยลเลน” เผย สหรัฐฯพร้อมผลักดันการยุติการแข่งขันภาษีนิติบุคคลระดับต่ำทั่วโลกเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน ป้องกันบริษัทในประเทศย้ายถิ่นฐานเพื่อไปหาประเทศที่มีอัตราการจ่ายภาษีที่ถูกกว่า
· “โรเบิร์ต เคพแลนด์” ประธานเฟดสาขาดัลลัส คาดเงินเฟ้อจะปรับขึ้นได้ในอีกไม่กี่เดืนอข้างหน้า ก่อนจะปรับลงมาแถว 2.25% ในช่วงสิ้นปี
· “แมรี ดาลีย์” ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะหารือเรื่องการลดการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”
เนื่องด้วยทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายการจ้างงานเต็มรูปแบบ และเงินเฟ้อ 2%
· ยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในสหรัฐฯรีบาวน์ในเดือนมี.ค. แตะ 1.1% หลังจากที่ -0.5% ในเดือนก.พ. จากค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจที่แข็งแกร่ง
รายงานยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในสหรัฐฯปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งเกินคาด จากอุปสงค์ในประเทศที่แกร่งอาจช่วยชะลอปัญหาจากภาวะห่วงโซ่อุปทานได้
· ยอดขาดดุลการค้าสหรัฐฯแตะสูงสุดประวัติการณ์ ท่ามกลางข้อจำกัดด้านอุปสงค์
ยอดขาดดุลการค้าสหรัฐฯเพิ่มขึ้นทำสูงสุดประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. กว่า 5.6% ทำ All-Time High แตะ 7.44 หมื่นล้านเหรียญ ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าเองก็เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า โดยปรับขึ้น 6.3% ในเดือนมี.ค. แตะ Record High 2.745 แสนล้านเหรียญ จึงอาจทำให้ช่องว่างขยายตัวขึ้น แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะรีบาวน์เร็วกว่าคู่แข่งทางการค้าอื่นๆในโลก
ขณะที่ยอดนำเข้าในสหรัฐฯเพิ่ม 6.6% ที่ 2 แสนล้านเหรียญ
ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯก็มีการอัดฉีดเม็ดเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ ผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายโครงการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงกลุ่มสูงอายุในสหรัฐฯ จึงทำให้เห็นอุปสงค์เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับภาวะอุปทายที่จำกัด ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังมีแรงสนับสนุนจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินฉบับพิเศษของเฟด
· Goldman Sachs เล็งเห็นการจ้างงานในสหรัฐฯและอังกฤษจะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน (มิ.ย. - ก.ย.) นี้
· S&P Dow Jones นำ Bitcoin-Ether ขึ้นกระดานดัชนี Cryptocurrency ในตลาดสหรัฐฯ
The S&P Dow Jones เปิดตัวดัชนีใหม่ “ดัชนี Cryptocurrency” ซึ่งเป็นกระดานดัชนีหลักในการซื้อขายค่าเงินดิจิทัล อาทิ Bitcoin และ Ethereum
การเปิดตัวดัชนีใหม่ดังกล่าว ถูกเรียกเป็น S&P Bitcoin Index, S&P Crypto Mega Cap ที่เป็นมาตรวัดทิศทางสินทรัพย์ปลอดภัยได้
S&P Global ระบุว่า อาจมีการเพิ่มรายชื่อเหรียญดิจิทัลอื่นๆ สู่กระดานซื้อขายได้ปลายปี 2021 นี้
· CoinShares เผย Bitcoin – Ethereum มีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีเงินลงทุนในตลาดสูงแตะ 489 ล้านเหรียญ ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนก.พ.
· Dogecoin พุ่งขึ้น 30% ทำสูงสุดประวัติการณ์เหนือ 50 เซนต์ จากแรงเก็งกำไรในตลาด Crypto ต่อเนื่อง
· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจาก G-7 จัดประชุมเรื่อง “ภัยคุกคามที่กำลังเพิ่มขึ้น” จากความท้าทายทางการเมืองทั่วโลก รวมถึงประเด็น “จีน-รัสเซีย”
ภาวะทางการเมืองที่เกิดขึ้นเวลานี้ อังกฤษที่เป็นเจ้าภาพจัดประชุม กล่าวถึง ภัยคุกคามต่างๆ ในเรื่อง
- ประชาธิปไตย
- เสรีภาพ
- สิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ มีการหารือกันในเรื่อง “ความสัมพันธ์กับรัสเซีย, จีน และอิหร่าน” ควบคู่กับ
- วิกฤตพม่า
- ความรุนแรงในเอธิโอเปีย
- สงครามซีเรีย
ทั้งนี้ กิจกรรมทางทหารของรัสเซียที่กำลังดำเนินในเวลานี้ จะเห็นได้ถึงการเพิ่มกองกำลังทหารบริเวณพรมแดนยูเครน ในขณะเดียวกันยังมีเรื่องการคัดค้านการจับกุม นายอเล็กซี นาวาลนี ที่อยู่ขั้วตรงข้ามกับผู้นำรัสเซีย รวมไปถึงสถานการณ์ในเบลารุสล่าสุดเวลานี้
· อังกฤษ-อินเดีย เห็นพ้องสานสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ทั้งการดำเนินการร่วมกันในเชิงลึกในหลายๆพื้นที่ อาทิ
- ด้านการศึกษา
- ด้านสุขภาพ
- ด้านวิทยาศาสตร์
- ด้านกลาโหม
· สถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาล่าสุดยังมีรายงานพบ 31 ประเทศทั่วโลกมีรายงานติดเชื้อเพิ่ม
ทั่วโลกล่าสุดมียอดติดเชื้อรายวันรวมเพิ่ม 755,475 ราย รวมสะสม 154.94 ล้านราย ขณะที่เสียชีวิตสะสมทั่วโลก 3.23 ล้านราย ท่ามกลางอินเดียติดเชื้อรายวันนำโด่งทะลุ 380,000 รายต่อเนื่อง ยอดสะสมทะยานเหนือ 20.65 ล้านราย
บราซิลพบยอดติดเชื้อใหม่เพิ่ม 65,454 ราย รวมสะสม 14,85 ล้านราย
· Pfizer มีแผนยื่นเอกสารขออนุมัติวัคซีนฉบับสมบูรณ์จาก FDA สหรัฐฯภายในสิ้นเดือนนี้
· Pfizer คาดอุปสงค์วัคซีน Covid-19 จะเดินหน้าต่อในอีกหลายปี ขณะที่ยอดขายวัคซีนปีนี้อาจเพิ่มสูงกว่า 70% หรือมูลค่ารวมกว่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญ จากบรรดารัฐบาลต่างๆทั่วโลก
· สิงคโปร์ พบผู้ติดเชื้อส่ยพันธุ์ที่พบในอินเดียที่เป็นลักษณะ “กลายพันธุ์คู่” จ่อขยายมาตรการเข้มงวดรอบใหม่ต่อเวลาจาก 8 พ.ค. ไปจนถึง 30 พ.ค. พร้อมเล็งจำกัดการรวมกลุ่ม!
· รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาขยายสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับกรุงโตเกียวและเขตเมืองใหญ่อื่น ๆ ซึ่งมีกำหนดจะสิ้นสุดในวันที่ 11 พ.ค.นี้
· สถานการณ์การระบาดในไทย ขยับอันดับติดเชื้อสะสมมาอยู่ 98 ของโลก
เมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,763 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 72,788 ราย
มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 303 ราย
เปิดกราฟโควิดไทย คนตายเยอะขึ้น ตรวจได้เท่าเดิม ทรัพยากรแพทย์ถึงขีดจำกัด ?!
เปิดกราฟโควิด 19 ในไทย กับข้อมูลที่น่าตกใจ ในขณะที่คนตายเพิ่มขึ้น แต่กำลังตรวจเท่าเดิม อาจหมายถึงทรัพยากรทางการแพทย์ในการตรวจหาเชื้อ จำกัดได้เพียงเท่านี้ และเกิดความวิตก หากเป็นแบบนี้ต่อไป คนที่ตายเยอะขึ้นอาจจะไม่ใช่แค่ผู้ป่วยโควิด แต่เป็นผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่ถูกเลือกให้ออกจากระบบเพื่อเอาทรัพยากรมารักษาผู้ป่วยโควิด
“วัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา” วัคซีนทางเลือกความหวังใหม่ของไทย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้วัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นาอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ขณะนี้ยื่นเอกสารครบถ้วนแล้ว โดยจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน คาดว่าอนุมัติได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ประกาศอพยพคนไทยในอินเดีย เหตุวิกฤต 'โควิด-19' ยังรุนแรง จัด 2 เที่ยวบินไว้ให้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ประกาศอพยพคนไทยในประเทศอินเดีย เนื่องจากสถานการณ์ "โควิด-19" ยังคงมีความรุนแรง โดยจัด 2 เที่ยวบินพิเศษไว้ให้ ในวันที่ 8 พ.ค.และ 15 พ.ค. หากเร่งด่วน วันที่ 5 พ.ค.มีเที่ยวบินพิเศษที่บินไปช่วยเหลืออินเดียนำกลับ
สถานการณ์ Covid-19 ในกรุงเทพน่าเป็นกังวลและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ระบาดจากกลุ่มฝูงชนที่เชื่อมโยงจากการไปท่องเที่ยวสถานบันเทิงและเทศกาลสงกรานต์
· นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ ไว้ที่ระหว่าง 31.05-31.30 บาท/ดอลลาร์
· อ้างอิงจากสำนักข่าว Bangkoksight
- ที่ประชุมคลังอาเซียนคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 2.3% ขณะที่ปี 65 คาดขายตัวได้ 4.8% ในส่วนของไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 6%
- Bloomberg เผย การจัดอันดับประเทศที่รับมือกับการระบาดโควิด-19ได้ดีที่สุด ประจำเดือนเม.ย. ไทยได้ 66.7 คะแนน ร่วงลงมา 4 อันดับจากอันดับที่ 9 เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มาอยู่ที่อันดับที่ 13
· อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
- การระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงมากเป็นที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย โดยเงินบาทอ่อนค่าลง 1.3% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าหลายประเทศในเอเชียจะเผชิญกับการระบาดรอบใหม่เช่นเดียวกับไทย แต่เงินสกุลเอเชียส่วนใหญ่กลับมาแข็งค่าขึ้นสอดรับกับเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
· อ้างอิงจากสำนักข่าวโพสทูเดย์
- ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ปรับจีดีพีปี 64 จาก 2.6% เหลือ 2.2% แก้โควิดช้าอาจหล่นเหลือ 0.7%
· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
- นักวิเคราะห์ ประเมินว่า เงินบาทอ่อนค่าตามความกังวลการแพร่ระบาดโควิด-19ในประเทศทวีความรุนแรงขึ้น พบคลัสเตอร์ใหม่หลายจุด แต่เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงตามแนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า คาดกนง.คงดอกเบี้ยที่1.5% ในสัปดาห์นี้ และมองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.15- 31.25 บาท/ดอลลาร์
- Gallup เผยผลสำรวจชี้ ประเทศไทย ติดอันดับหนึ่งประเทศทำงานน้อยลงถึง 76% เหตุนายจ้างลดเวลาทำงาน เพื่อจ่ายค่าจ้างน้อยลง หวังประหยัดต้นทุน
· อ้างอิงจากสำนักข่าวไทยโพสต์
- พลังงานจ่อลดค่าไฟฟ้า ช่วยค่าครองชีพประชาชนจากผลกระทบโควิดรอบสาม สั่ง "กกพ." ขยายมาตรการยกเว้นเรียกเก็บมินิมัมชาร์จอุ้มผู้ประกอบการโรงแรมต่ออีก 3 เดือน พร้อมมอบ "กฟผ.-ปตท." หามาตรการเพิ่มเติม